ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCESE

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 "บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง"

ตัวอย่างของความสุขแท้จริง 8 ประการ  ความหมายที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่างของความสุขแท้จริง
8 ประการ

ความหมายที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น

           เราคริสตชนจดจำพระบัญญัติ 10 ประการและบทข้าพเจ้าเชื่อได้ดี แต่คำสอนเรื่องความสุขแท้จริงล่ะ

            ความสุขแท้จริงเป็นชุดคำสอนและคำอวยพรที่พระเยซูเจ้ามอบให้ขณะที่ทรงเทศน์บนภูเขาซึ่งมีบันทึกในพระวรสารของนักบุญมัทธิว สารเรื่องความสุขแท้จริงนี้บอกถึงพื้นฐานความเชื่อของคริสตชน มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คริสตชนสามารถดำเนินชีวิตตามคำสอนของพระเยซูเจ้า บางเรื่องปฏิบัติได้ง่ายแต่บางเรื่องอาจจะยาก แต่ทุก ๆ เรื่องล้วนเป็นเสาหลักของการดำเนินชีวิตคริสตชน ดังนั้น บทความเรื่อง “ตัวอย่างของความสุขแท้จริง” จึงมีความสำคัญสำหรับคริสตชนทุกคน

ความหมายของความสุขแท้

            ความสุขแท้จริง ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Beatitudes หมายความถึง “การอวยพร” หรือ “ความสุข” ซึ่งมีจากรากศัพท์ภาษาลาติน นักวิชาการยังมีข้อถกเถียงกันบ้างถึงจำนวนของความสุขแท้จริง เพราะมีเรื่องเปรียบเทียบและคำสอนที่แสดงให้รู้ว่าคริสตชนควรดำเนินชีวิตอย่างไรไว้มากมายหลายตอนด้วยกัน

สำหรับพระวรสารของนักบุญมัทธิวนี้ พระเยซูได้บอกชื่อของกลุ่มบุคคล 8 กลุ่มที่ได้รับพระพร ดังนี้

3 “ผู้มีใจยากจน ย่อมเป็นสุข   เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา

4ผู้เป็นทุกข์โศกเศร้า ย่อมเป็นสุข  เพราะเขาจะได้รับการปลอบโยน

5ผู้มีใจอ่อนโยน ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับแผ่นดินเป็นมรดก

6ผู้หิวกระหายความชอบธรรม ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะอิ่ม

7ผู้มีใจเมตตา ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับพระเมตตา

8ผู้มีใจบริสุทธิ์ ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้เห็นพระเจ้า

9ผู้สร้างสันติ ย่อมเป็นสุข  เพราะเขาจะได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้า

10ผู้ถูกเบียดเบียนข่มเหงเพราะความชอบธรรม ย่อมเป็นสุข   เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา



เราเริ่มพิจารณากันทีละกลุ่มดังนี้

1. “ใจยากจน”

ความสุขของบุคคลกลุ่มแรกที่พระเยซูเจ้าทรงเทศน์บนภูเขาอยู่ในมัทธิว 5:3 คือ

               3 “ผู้มีใจยากจน ย่อมเป็นสุข  เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา

       คำว่า “ใจยากจน” หมายถึงบุคคลที่สุภาพถ่อมตนและสำนึกตนเสมอว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนเองมีนั้นเป็นพระพรที่พระเจ้าประทานให้ เป็นความสำนึกว่าตนเองยังมีข้อบกพร่อง ยังไม่ดีพร้อมจึงยังมีความต้องการพระเจ้า เพื่อมาเติมเต็มในชีวิตของเขา เมื่อคนหนึ่ง "ยากจน” ใจของเขาจึงว่างเปล่าไม่มีอะไร จึงมีพื้นที่ให้พระเจ้าเข้ามาประทับในใจของเขา

       “ความสุภาพถ่อมตน” เช่นนี้ตรงกันข้ามกับคำว่า “หยิ่งจองหอง” ซึ่งเป็นบาปแรกที่มนุษย์คู่แรก (อาดัมและเอวา) ได้กระทำจนทำให้มนุษยชาติต้องตกต่ำลง เมื่อคนเรามีความสุภาพ เขาก็พร้อมที่จะต้อนรับพระเจ้าด้วยความเต็มใจ จิตใจของเขาก็จะมีสันติสุข “พระอาณาจักรสวรรค์” ก็เป็นของเขาตั้งแต่ในโลกนี้และยังมีหลักประกันที่จะได้รับความสุขเป็นรางวัลในชีวิตหน้าด้วย  


2. “ผู้เป็นทุกข์โศกเศร้า”

ความสุขของบุคคลกลุ่มสองอยู่ในมัทธิว 5:4 คือ

           "4ผู้เป็นทุกข์โศกเศร้า ย่อมเป็นสุข  เพราะเขาจะได้รับการปลอบโยน”

          ความทุกข์โศกเศร้าไม่ได้มาจากความผิดหวังหรือไม่ได้อะไรตามที่ใจต้องการ แต่มาจากจิตใจที่สุภาพและสำนึกว่าสิ่งของต่างภายนอกหรือของ ๆ โลกนี้ล้วนแต่ไม่จีรังยั่งยืน แต่อาณาจักรสวรรค์นั้นเป็นของเที่ยงแท้ คงอยู่ถาวรตลอดไป

          อีกประการหนึ่ง เมื่อคนหนึ่งเป็นทุกข์เสียใจในความบาปของตน ยอมรับความบกพร่องของตน เสียใจและต้องการปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ความสำนึกเช่นนี้ช่วยให้เขาได้การปลอบโยนและการให้อภัย

           ความทุกข์โศกเศร้าที่เห็นความเลวร้ายของสังคมโลกหรือความเจ็บปวดของเพื่อนพี่น้อง ต่อหน้าเหตุการณ์เช่นนี้ทำให้เขารู้สึก “เห็นอกเห็นใจ” คิดได้ว่าเขาต้องเป็นคนหนึ่งที่ต้องให้การปลอบโยนหรือให้กำลังใจ ความรู้สึกเช่นนี้ตัวเขาเองก็จะได้รับการปลอบโยนจากพระเจ้าเพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้เช่นกัน 

          ศิษย์พระคริสต์ยังเป็นทุกข์โศกเศร้าเพราะยิ่งได้ไตร่ตรองถึงพระวาจาของพระเจ้าก็ยิ่งเห็นความบกพร่องและความน่าสงสารของธรรมชาติมนุษย์ จึงมีความปรารถนาที่จะได้รับคำปลอบโยนจากพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ และความเห็นอกเห็นใจจากเพื่อนพี่น้องด้วยกันเพื่อจะได้ลุกขึ้นมาเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น 


3. “ใจอ่อนโยน”

          ความสุขของกลุ่มบุคคลที่สามอยู่ในพระวรสารมัทธิว 5:5 เป็นความมหัศจรรย์ของคนที่มีใจอ่อนโยน

             5ผู้มีใจอ่อนโยน ย่อมเป็นสุข  เพราะเขาจะได้รับแผ่นดินเป็นมรดก

           ความอ่อนโยนคือความสุภาพถ่อมตน เป็นบุคคลที่นบนอบและยอมรับพระประสงค์ของพระเจ้าได้ พระเยซูทรงมีใจ “สุภาพอ่อนโยนและถ่อมตน”(มัทธิว 11:29) และนี่แหละที่เราคริสตชนได้รับการเรียกร้องให้ปฏิบัติตาม

             ส่วน “ได้รับแผ่นดินเป็นมรดก" นั้น ตามธรรมดาใครก็ตามที่ได้เข้าอยู่ภายใต้ผู้ที่ยิ่งใหญ่ก็ย่อมได้รับมรดกอันล้ำค่าจากผู้นั้นด้วย บุคคลที่อ่อนโยนเหมือนพระเจ้าจึงสมควรที่จะได้รับแผ่นดินเป็นมรดก แผ่นดินที่ถาวรคือเมืองสวรรค์นั้นเอง


4. “หิวกระหายความชอบธรรม”

            ความสุขของบุคคลกลุ่มที่สี่ อยู่ในพระวรสารมัทธิว 5:6 ที่ใช้คำเปรียบเทียบกับความต้องการในชีวิตของมนุษย์ คือ หิว และกระหาย แต่ไม่ใช่หิวกระหายของ ๆ โลก เป็นความกระหายในความชอบธรรมฝ่ายจิตวิญญาณ

               6ผู้หิวกระหายความชอบธรรม ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะอิ่ม

             สำหรับบุคคลที่หิวและกระหายความชอบธรรมมากกว่าความพึงพอใจในทรัพย์สินหรือสิ่งของต่าง ๆ ของโลก เขาจะได้รับความชอบธรรมนั้นอย่างสมบูรณ์

              ผู้ที่หิวกระหายฝ่ายจิตรู้ตัวว่าตนเองยังขาดอยู่และมีความต้องการ พระจิตเจ้าจะเข้าเติมเต็มในจิตใจของเขา ผู้ติดตามพระคริสต์ควรปรับปรุงตนให้ดีขึ้นด้วยพระวาจาของพระเจ้า


5. “ใจเมตตา”

          ความสุขของบุคคลในกลุ่มที่ห้า พระเยซูทรงเน้นที่บทบัญญัติทองคือความรักผู้อื่นและรักตนเอง ในมัทธิว5:7

               7ผู้มีใจเมตตา ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับพระเมตตา

             ความเมตตาเป็นคุณลักษณะที่สำคัญในพระคัมภีร์ และมีอ้างอิงถึงหลายครั้ง เช่น ลูกา 6:36: “จงเป็นผู้เมตตากรุณาดังที่พระบิดาของท่านทรงเมตตากรุณาเถิด” ทุกครั้งที่เราให้อภัยคนอื่น เราก็ได้แสดงความเมตตาต่อผู้นั้น

              ความเมตตาแสดงออกผ่านทางความเห็นอกเห็นใจและความรักต่อกันและกัน นี่คือบัญญัติทองในเลวีนิติ 19:18 “ท่านจะต้องไม่แก้แค้นหรืออาฆาตชนชาติเดียวกันกับท่าน แต่จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง เราคือองค์พระผู้เป็นเจ้า”

6. “ใจบริสุทธิ์”

              ความสุขของบุคคลกลุ่มที่หกใน มัทธิว 5:8 พระเยซูเจ้าทรงทำให้ผู้ฟังที่รวมกันอยู่บนภูเขานั้นรู้สึกตกใจ

                 8ผู้มีใจบริสุทธิ์ ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้เห็นพระเจ้า

               ใจบริสุทธิ์หมายถึงสภาพของจิตใจที่เต็มไปด้วยพระพร ความถ่อมตน และความรัก เราทุกคนล้วนเป็นคนบาป ดังนั้นทั้งกาย ใจ และสติปัญญาของเรายังไม่บริสุทธิ์ผุดผ่อง แต่ด้วยการติดตามพระเจ้าและพระวาจาของพระองค์ พวกเราจะได้รับการชำระล้างให้บริสุทธิ์ได้ 

                โมเสส (อพยพ 33:20) ยอห์น 1:18 และเปาโล (1 ทิโมธี 6:16) ล้วนแต่กล่าวว่า ไม่มีใครมองเห็นพระเจ้าในโลกนี้ได้ ดังนั้น สำหรับคนที่มีใจบริสุทธิ์เท่านั้นจะได้เห็นพระเจ้าในอาณาจักรสวรรค์ หมายความว่าบุคคลนั้นจะต้องแสดงความรัก ความถ่อมตน และการไม่เห็นแก่ตัวเพื่อทำตามคำสอนเรื่องความสุขแท้จริง ที่แสดงภาพเปรียบเทียบว่าเป็นพระพักตร์ของพระเจ้า พระพักตร์ของพระเจ้าถูกเผยให้เห็นบนใบหน้าของบุคคลที่แสวงหาพระเจ้า

7. “ผู้สร้างสันติ”

                ความสุขของบุคคลในกลุ่มที่เจ็ด พระเยซูเจ้าทรงอวยพรให้บุคคลที่สร้างสันติและยังบอกถึงรางวัลที่พวกเขาจะได้รับด้วย

                    9ผู้สร้างสันติ ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้า

                ผู้สร้างสันติไม่ใช่ผู้นำและผู้ปกครอง แต่สันติจะนำและปกครองบุคคลให้แสวงหาพระเจ้า

                ฟิลิปปี 4:7 กล่าวว่า “แล้วสันติสุขของพระเจ้าซึ่งเกินสติปัญญาจะเข้าใจได้นั้น จะคุ้มครองดวงใจและความคิดไว้ในพระคริสตเยซู” 

                ในยอห์น 14:27 พระเยซูตรัสว่า “เรามอบสันติสุขไว้ในท่านทั้งหลาย เราให้สันติสุขของเรากับท่าน” นี่หมายความว่าสันติที่โลกนี้ให้ไม่เหมือนกับสันติที่พระเจ้าประทานให้ พระเยซูทรงสละโลกเพื่อมอบสันติหลังจากความตายบนไม้กางเขน  สันติของโลกไม่มีวันคงอยู่ได้ถาวรเพราะธรรมชาติความบาปของมวลมนุษย์ หลังจากที่พระเยซูทรงสละโลกนี้ไป พระองค์ทรงสัญญาจะมอบสันติถาวรให้แก่ผู้ที่แสวงหาพระองค์


8. “ผู้ถูกเบียดเบียนข่มเหง”
              พระเยซูสรุปความสุขแท้จริงโดยเน้นหนักในมัทธิว 5:10.

                  10ผู้ถูกเบียดเบียนข่มเหงเพราะความชอบธรรม ย่อมเป็นสุข เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา

                คริสตชนจะต้องยืนหยัดในความเชื่อแม้ว่าจะถูกเบียดเบียนข่มเหงหรือการไม่ได้รับการยอมรับในรูปแบบต่าง ๆ  ถ้าคริสตชนได้รับการปฏิบัติที่ไม่ยุติธรรม เขาก็จะได้รับสิ่งนั้นในชีวิตหน้า และจะได้รับอาณาจักรสวรรค์เป็นรางวัล คริสตชนจะต้องยึดมั่นในความเชื่อแม้ว่าจะถูกสั่งให้กระทำบางสิ่งที่ขัดแย้งกับความเชื่อ หรือที่รู้ดีว่าเป็นสิ่งที่ผิด 

                คำสอนนี้ยังมีต่อในมัทธิว 5:11-12  “ท่านทั้งหลายย่อมเป็นสุข เมื่อถูกดูหมิ่น ข่มเหงและใส่ร้ายต่าง ๆ นานาเพราะเรา จงชื่นชมยินดีเถิด เพราะบำเหน็จรางวัลของท่านในสวรรค์นั้นยิ่งใหญ่นัก เขาได้เบียดเบียนบรรดาประกาศกที่อยู่ก่อนท่านดังนี้ด้วยเช่นกัน”

                 การเบียดเบียนข่มเหงในโลกนี้มีหลายรูปแบบ คริสตชนถูกเรียกร้องให้รักและช่วยเหลือบุคคลที่ถูกกระทำเหล่านั้น และในข้อที่ 11 เมื่อพูดถึงบุคคลที่ “ถูกดูหมิ่น ข่มเหงและใส่ร้ายต่าง ๆ นานาเพราะเรา”  ยังหมายถึงบุคคลที่ใช้พระนามของพระเจ้าเพื่อข่มเหงผู้อื่น และประกาศตนว่าเป็นคริสตชนแต่ประพฤติตนตรงกันข้ามกับคำสอนของพระเยซูคริสต์

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

นักศึกษาศูนย์คำสอนเชียงใหม่ มาศึกษาดูงาน
🎊ภราดาสารพัน แคเซอ ผู้รับผิดชอบศูนย์คำสอนเชียงใหม่ ได้นำนักศึกษา จำนวน 8 คน ผู้ดูแล 1 คน...
ชุมนุมและฟื้นฟูจิตใจคริสตชนใหม่ สังฆมณฑลราชบุรี ครั้งที่ 3
👟"การจาริกแห่งความหวัง"ชุมนุมและฟื้นฟูจิตใจคริสตชนใหม่ สังฆมณฑลราชบุรี ครั้งที่ 3❤️วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2024 ศูนย์คริสตศาสนธรรม ราชบุรี...
การจาริกแห่งความหวัง การเดินทางแสวงบุญและทำกิจเมตตาผู้เรียนคำสอนรุ่นที่ 8/2024
💜การจาริกแห่งความหวัง การเดินทางแสวงบุญและทำกิจเมตตาผู้เรียนคำสอนรุ่นที่ 8/2024 ของอาสนวิหารแม่พระบังเกิด วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม 2025 💜การจาริกแสวงบุญครั้งนี้มีจุดปนะสงค์เพื่อเตรียมตัวรับศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มต้นชีวิตคริสตชน โดยมีผู้ร่วมจาริกแสวงบุญครั้งนี้...

Youcat-คำสอนเยาวชน

Youcat 235 เราไปสารภาพบาปได้หรือไม่ แม้มิได้กระทำบาปหนัก ?
📍เราไปสารภาพบาปได้หรือไม่ แม้มิได้กระทำบาปหนัก ?#YOUCAT 235 บอกเราว่า..☂การสารภาพบาปเป็นพระพรอันยิ่งใหญ่แห่งการเยียวยารักษา...
Youcat 426 📍 พระบัญญัติประการที่เจ็ดกำหนดไว้อย่างไรในเรื่อง
พระบัญญัติประการที่เจ็ดกำหนดไว้อย่างไรในเรื่อง "อย่าลักขโมย" (อพย. 20:15) YOUCAT...
Youcat 230 📍การใช้โทษบาป คืออะไร ?
📍การใช้โทษบาป คืออะไร ?#YOUCAT 230 บอกเราว่า...

พระวาจานำชีวิต

เอาชนะความโกรธและความเคียดแค้นใจ
พระวาจาพระเจ้าที่ให้แนวทางแก่เรา เพื่อช่วยเราเอาชนะความโกรธและความเคียดแค้นใจ แม้จะวุ่นวายใจ ก็จงอย่าทำบาป จงคิดคำนึงขณะที่นอนบนเตียงอย่างเงียบ...
พระเจ้าทรงอดทนและรอคอยเรา
พระเจ้าทรงอดทน รอคอยให้ชีวิตเราเกิดผลในฐานะคนของพระคริสต์ ให้พระวาจาพระเจ้ามาเปลี่ยนแปลงเราให้เกิดผลดีเหมาะสมกับที่พระเจ้ารอคอยเรา อับราฮัมทูลว่า “เจ้านายของข้าพเจ้าอย่ากริ้วเลย...
พระคริสตเจ้าทรงทำให้ชีวิตของเราสมบูรณ์
พระเจ้าทรงทำให้ชีวิตของเราสมบูรณ์ จากความอ่อนแอ ความผิดพลาด และความบาป ให้พระวาจาพระเจ้าเป็นกำลังใจและแนวทางแก่เรา...

คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน ค.ศ.2020

DC222 เป็นการเหมาะสมที่จะสะท้อนให้เห็นถึงสถานที่โดยเฉพาะสำหรับการสอนคำสอนในฐานะเครื่องมือการประกาศและการศึกษาในความสัมพันธ์ของมนุษย์
พื้นที่สำหรับการสอนคำสอน เป็นที่ที่จัดให้ชุมชนแสดงออกถึงวิธีการประกาศข่าวดีของตนในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมในปัจจุบัน เป็นการเหมาะสมที่จะสะท้อนให้เห็นถึงสถานที่โดยเฉพาะสำหรับการสอนคำสอนในฐานะเครื่องมือการประกาศและการศึกษาในความสัมพันธ์ของมนุษย์ ดังนั้น จึงจำเป็นที่สภาพแวดล้อมดังกล่าวจะได้รับการต้อนรับและได้รับการดูแลอย่างดีเพื่อสื่อถึงบรรยากาศแห่งความคุ้นเคยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างสงบในกิจกรรมของชุมชนสภาพแวดล้อมที่แพร่หลายมากที่มีลวดลายหลังจากอาคารเรียนไม่ได้เป็นสถานที่ที่ดีที่สุดสำหรับการเผยแพร่กิจกรรมทางคำสอน...
DC220  การปฏิสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ระหว่างผู้คนทำให้กลุ่มเป็นสถานที่ที่มีการแลกเปลี่ยนและการสื่อสารที่ลึกซึ้งเบ่งบาน
การปฏิสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ระหว่างผู้คนทำให้กลุ่มเป็นสถานที่ที่มีการแลกเปลี่ยนและการสื่อสารที่ลึกซึ้งเบ่งบานเมื่อสิ่งนี้เข้มข้นและมีประสิทธิภาพกลุ่มจะทำหน้าที่ได้ดีที่สุดในการสนับสนุนการเติบโตของสมาชิกของตน ในความเป็นจริงของพระศาสนจักรกลุ่มได้รับการทำให้มีชีวิตชีวาโดยพระจิตเจ้าผู้สร้างสรรค์แท้จริงของความก้าวหน้าในความเชื่อทั้งหมด อย่างไรก็ตามการเปิดกว้างต่อพระหรรษทานนี้ไม่สามารถลดทอนการฝึกฝนในการเรียนการสอนได้ซึ่งมองว่ากลุ่มในฐานะความจริงทางสังคมประกอบด้วยพลังและกฎแห่งการเติบโตของตนเอง ความสามารถในการมีส่วนร่วมเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ สามารถเป็นวิธีการที่ถูกต้องเพื่อเสริมสร้างความรู้สึกของเอกลักษณ์และความเป็นสมาชิกเพื่ออำนวยความสะดวกในการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของสมาชิกแต่ละคนส่งเสริมกระบวนการของการทำให้เกิดความเชื่อภายในและจัดการกับความตึงเครียดระหว่างบุคคลในเชิงบวก...

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 "บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง"

เนื้อหา Update ล่าสุด

เนื้อหาและบทเรียน

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก(CCC)

สารคำสอน 182 (ปีการศึกษา2023)

สารคำสอน 182 (ปีการศึกษา2023)

เรียนคำสอนกับพ่อวัชศิลป์

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์

สถิติการเยี่ยมชม

0.png4.png0.png6.png8.png6.png8.png
วันนี้815
เมื่อวานนี้2505
สัปดาห์นี้6685
เดือนนี้3320
ทั้งหมด406868

ขณะนี้มีผู้เยี่ยมชม

13
Online

วันพุธ, 02 เมษายน 2568 09:19