ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCESE

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 "บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง"

สารบัญ

หลักเกณฑ์ในการสอนคำสอนช่วงวัยที่ 1: วัยทารก – 5 ปี
ช่วงวัยที่
1: วัยทารก – 5 ปี

“การเป็นภาพลักษณ์และการเป็นเหมือนพระเจ้า”

หลักการ
      
กระบวนการสอนคำสอนในวัยเด็กทารกมีค่ายิ่งนักในทางการศึกษา เด็กควรได้รับพัฒนาชีวิตตามลักษณะพื้นฐานทางด้านการเป็นมนุษย์ โดยให้มี ความรู้สึกของความไว้วางใจ อิสรภาพ การเสียสละ การวอนขอ การมีส่วนร่วมด้วยความยินดี ลักษณะที่สำคัญของการฝึกอบรมเด็กๆ ก็คือ การฝึกให้สวดภาวนา และ การอธิบายพระคัมภีร์ (GDC 178)

จุดประสงค์
     
เพื่อปลุกจิตสำนึกและปลูกฝังความเชื่อในช่วงวัยแรกเริ่มชีวิตของเด็ก

วัยทารก – 3 ปี

เป้าหมาย: เป็นการฝึกอบรมเด็กให้เป็นบุคคลที่มีพัฒนาที่มีความสมบูรณ์ตามช่วงวัยและปลูกฝังความเชื่อศรัทธาให้เกิดขึ้นในจิตใจของเด็ก

สภาพทั่วไปตามวัย: ในช่วงอายุนี้ เด็กๆ เริ่มเข้าสู่ชีวิตการเป็นบุคคลและมีชีวิตจิตด้วยการหล่อหลอมจากบรรยากาศในครอบครัวโดยผ่านทางความรักของคุณพ่อคุณแม่ การเอาใจใส่ของบุคคลในครอบครัว การสอนให้การภาวนา การดำเนินชีวิตที่เป็นประจักษ์พยานในชีวิตประจำวัน ความเชื่อและการนมัสการพระเจ้าของชุมชน และการได้ฟังเรื่องราวต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องจากพระคัมภีร์ ความเชื่อศรัทธาในวัยนี้ หมายถึง ความเชื่อถือ การเชื่อมั่น (Believe) ไว้วางใจ (trust) และการรู้จัก (know)

จุดประสงค์: เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ และลูกๆ รู้จัก เฉลิมฉลอง ดำเนินชีวิต และแสดงตนเป็นประจักษ์พยานถึงพระธรรมล้ำลึกของพระตรีเอกภาพในครอบครัว โดยการฝึกอบรมความเป็นมนุษย์ขั้นพื้นฐานและเพื่อชีวิตความเชื่อศรัทธาของเด็กๆ

ครอบครัวคริสตชนจะต้องดำเนินชีวิตเป็นประจักษ์พยาน ที่มีความรู้ มีการรำพึงภาวนา และการเฉลิมฉลองพระธรรมล้ำลึกของพระตรีเอกภาพในฐานะที่เป็นพระศาสนจักรระดับบ้าน

เนื้อหาคำสอนในช่วงนี้ ประกอบด้วย

  1. การเป็นคุณพ่อคุณแม่ (parenting) รู้ดีถึงความหมายของการเป็นคุณพ่อคุณแม่
  2. การดำเนินชีวิตตามหลักศีลธรรมในแต่ละวัน
  3. ความสัมพันธ์ในครอบครัว
  4. ปีพิธีกรรม
  5. ชีวิตศีลศักดิ์สิทธิ์
  6. การใช้ชีวิตในชุมชนและการทำหน้าที่ประกาศข่าวดี

วิธีการอบรมเลี้ยงดูลูก

  1. ป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิด (protecting)
  2. การหล่อเลี้ยง/บำรุง (nourishing/nurturing)
  3. ให้การชี้แนะ (guiding)
  4. ให้ความรัก (loving)

  1. การทำหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ (parenting)

        หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่: การป้องกัน (protecting) อันตรายทั้งร่างกายและจิตใจที่จะเกิดขึ้นกับลูก การหล่อเลี้ยง/บำรุง (nourishing/nurturing) สิ่งที่ดี คุณธรรมความดี คุณลักษณะที่เหมาะสม ให้คำแนะนำ (guiding) สิ่งที่ดี และการให้ความรัก (loving)

ช่วงตั้งครรภ์

  • คุณพ่อคุณแม่เอาใจใส่เรื่องของการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน การหย่อนใจและการภาวนาให้เป็นนิสัย
  • คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกันถึงเรื่องการรับผิดชอบในการเตรียมต้อนรับสมาชิกใหม่ของครอบครัว
  • คุณพ่อคุณแม่แสวงหาความรู้เรื่องพัฒนาการของเด็กตามวัย (ร่างกาย สังคม อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา)
  • คุณพ่อคุณแม่สื่อสารกับลูกที่อยู่ในครรภ์ตั้งแต่อายุ 5 เดือน โดยการอ่านดังๆ การเล่นดนตรี ร้องเพลง และการภาวนาดังๆ
  • คุณพ่อคุณแม่วางแผนการรับศีลล้างบาปของลูก

ช่วงการเกิด

  • คุณพ่อคุณแม่คุยกันอย่างเปิดเผยและซื่อตรงต่อกันและกันในการวางแผนดูแลลูก
  • คุณพ่อคุณแม่ปรึกษาหารือเรื่องการให้กำเนิดและการเลี้ยงดูลูกจากบุคคลในชุมชนและในพระศาสนจักร
  • คุณพ่อคุณแม่ฝึกลูกโดยสังเกตดูความสามารถของเขา
  • คุณพ่อคุณแม่รับรู้และเสริมเพิ่มเติมความสามารถของลูก
  • คุณพ่อคุณแม่สวดภาวนาดังๆ ร่วมกับลูก
  • คุณพ่อคุณแม่จัดเวลาเพื่อสังสรรค์ทางสังคมกับเพื่อนๆ

ช่วงเวลาการเสริมสร้างความเชื่อศรัทธาแรกเริ่ม

  • คุณพ่อคุณแม่สบตาลูกด้วยสายตาแห่งความรัก ความอบอุ่น
  • คุณพ่อคุณแม่แสดงความรัก ความอ่อนโยน การยอมรับลูกด้วยการอุ้มและการหอมแก้ม การสัมผัส
  • คุณพ่อคุณแม่สื่อสารกับลูกด้วยคำพูด การกระซิบและการแสดงออกทางสีหน้าท่าทาง
  • คุณพ่อคุณแม่แสดงความรักความห่วงใยต่อกันเพื่อเป็นแบบอย่างให้ลูกได้ซึมซับ

การเตรียมบรรยากาศในบ้าน

  • คุณพ่อคุณแม่เตรียมตัวพี่ๆ (ถ้ามี) โดยให้มีส่วนร่วมในการเตรียมต้อนรับสมาชิกใหม่ในครอบครัว
  • คุณพ่อคุณแม่ส่งเสริมให้พี่ๆได้ช่วยเหลือในการต้อนรับน้อง เช่น หิ้วประเป๋า ถือของ ฯลฯ
  • คุณพ่อคุณแม่สื่อสารอย่างชัดเจนแก่กันและกันถึงความต้องการและความรู้สึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ต่างๆในชีวิต
  • ให้พี่อยู่ร่วมกัน ในการสวดภาวนา โดยให้คุณพ่อคุณแม่จุดเทียนและภาวนาต้อนรับสมาชิกคนใหม่ในครอบครัว
  • คุณพ่อคุณแม่จัดเวลาภาวนาร่วมกันก่อนที่จะเข้านอน

การตั้งชื่อ

  • คุณพ่อคุณแม่สำรวจชื่อต่างๆที่เหมาะสมกับลูก
  • คุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจเลือกชื่อให้มีความหมายกับครอบครัว รวมถึงชื่อในพระคัมภีร์ ชื่อนักบุญ

ในช่วงแรกๆของชีวิต

  • คุณพ่อคุณแม่ให้ความสนใจและสนองตอบต่อความต้องการตามพัฒนาการของลูก (ร่างกาย อารมณ์ สังคมและจิตใจ) ด้วยความสงบและความเพียรทน
  • คุณพ่อคุณแม่พูดคุยหารือกันเพื่อฝึกลูกให้มีพฤติกรรมเหมาะตามวัยของเขา และปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (เช่น วินัย สิ่งที่ควรทำหรือไม่ควรทำ)
  • คุณพ่อคุณแม่ประยุกต์หลักศีลธรรม(พระบัญญัติ) หรือชีวิตจิตเพื่อนำมาใช้แก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของลูก

  1.  การดำเนินชีวิตตามหลักศีลธรรมในแต่ละวัน

เพื่อการปกป้อง หล่อเลี้ยง ชี้แนะให้แนวทางและความรักให้แก่ลูกๆ ของตน คุณพ่อคุณแม่ต้อง…..

  • ใช้ทุกช่วงเวลาเพื่อเป็นการสอน (เช่น ให้มีเวลาเงียบ เวลาเล่น เวลารับประทานอาหาร เวลาเล่าเรื่อง เวลาที่อยู่สองต่อสอง เวลาอาบน้ำ เวลาสวดภาวนาก่อนและหลังอาหาร เวลาหยุดช่วงสุดสัปดาห์ พิธีกรรมวันอาทิตย์)
  • เวลาเข้านอน (ตัวอย่างเช่น การเล่าเรื่อง การทำเครื่องหมายกางเขน การภาวนา การหอมแก้มก่อนส่งเข้านอน การพูดคุย เวลาเพื่อพัฒนาจินตนาการ
  • ระหว่างการรับประทานอาหาร (ตัวอย่างเช่น การภาวนา การมาร่วมพร้อมกันที่โต๊ะอาหาร การเล่าเรื่อง การแบ่งปันอาหาร การเคารพกัน การมีกิริยามารยาทที่ดี)
  • เวลาเล่าเรื่อง (ตัวอย่างเช่น เรื่องจากพระคัมภีร์ เพลงอนุบาล เรื่องเล่าที่แต่งขึ้นเอง เรื่องเด็กๆ การให้เด็กๆช่วยเล่าเรื่อง)
  • การภาวนา (ตัวอย่างเช่น ให้เด็กๆได้รับรู้ถึงความน่าอัศจรรย์ของสิ่งสร้างต่างๆที่พระเจ้าประทานให้ การให้เด็กได้ค้นพบความน่าพิศวงของสิ่งสร้างต่างๆ การภาวนาเช้าและเย็น การภาวนาก่อนและหลังอาหาร การภาวนาขอบพระคุณและสรรเสริญ การภาวนาให้ผู้อื่น การสงบนิ่ง การทำเครื่องหมายกางเขน การภาวนาพร้อมกันในครอบครัว)
  • ทุกเวลาโดยผ่านทางการสัมผัสทางกาย (ตัวอย่างเช่น การจูงมือ การสัมผัสด้วยความรักความห่วงใย การพูดคุย การป้อนอาหาร การรับรู้และดูแลเมื่อร้องไห้ การดูแลยามเจ็บป่วย การอาบน้ำและการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้)
  • ในทุกขั้นตอนของพัฒนาการโดยการเป็นแบบอย่างของการรักษาสุขภาพที่ดี (ตัวอย่างเช่น การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การแต่งตัว การละเล่น กิจกรรมทางร่างกาย การสนับสนุนความอยากรู้อยากเห็นให้เช่น การคลาน การกลับตัว การพยุงตัวเพื่อเรียนรู้ที่จะเดิน ในยามเจ็บปวด)
  • เวลาที่เด็กๆ จะต้องแยกจากบุคคลใกล้ชิด (ตัวอย่างเช่น จากพี่เลี้ยงหรือคนดูแล การสูญเสียของเล่นที่ชอบ สัตว์เลี้ยง ความเศร้าโศก การย้ายที่ การเปลี่ยนแปลง)
  • การเยี่ยมเยือน (ตัวอย่างเช่น การเป็นตัวอย่างของการทักทาย ความสุภาพ มิตรไมตรี ยิ้มแย้มแจ่มใส การต้อนรับและการแสดงความเคารพที่มีต่อเพื่อน หรือญาติพี่น้องที่มาเยี่ยมบ้าน การสอนให้แสดงความเคารพต่อผู้อื่น)
  • ช่วงเวลาที่สอนให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสมได้ (ตัวอย่างเช่น “การสร้างครอบครัวที่ดี มีอบอุ่นอ่อนโยน การให้อภัย การให้ความเคารพ ความซื่อสัตย์และการรับใช้ที่ไม่หวังผล ให้เป็นหลักปฏิบัติประจำบ้าน” เป็นการสอนคุณธรรม เสรีภาพ และการมีวินัย) (CCC 2223)
  • การมาอยู่ร่วมกันเพื่อการฉลอง (ตัวอย่างเช่น วันเกิด วันแม่ วันพ่อ วันฉลองนักบุญ วันรับศีลล้างบาป วันขอบคุณพระเจ้า วันฉลองคริสต์มาส วันฉลองปัสกา)
  • เวลาให้เด็กได้เล่นอยู่เงียบคนเดียวเพื่อมีประสบการณ์การสันโดษ(ปล่อยให้เขาอยู่คนเดียว อยู่เงียบๆ เล่นคนเดียวได้)  
  • เวลาเล่น

- ชวนเด็กๆให้สำรวจของขวัญที่พระเจ้าประทานให้ในธรรมชาติรอบตัว ทั้งน้ำ ทราย หิน ดอกไม้และอากาศ

- ให้ของเล่นที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก

- ให้เด็กๆ ได้สำรวจสี รูปร่าง ขนาด ลายเส้นผ้าและรูปแบบ ศีลปะ บทเพลง

- ส่งเสริมให้เด็กๆทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์เช่น การเต้น การวาด การปั้น การแสดง การระบายสี การตัดปะ ฯลฯ

  • การเปลี่ยนฤดู เชิญชวนให้เด็กๆ ได้สัมผัสธรรมชาติ ในบรรยากาศต่างๆ ความร้อน ความหนาว ฯลฯ

เครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่าชีวิตจิตของเด็กกำลังเจริญเติบโตตามที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยที่เด็กอายุ 0-3 แสดงออกด้วยพฤติกรรม เหล่านี้

  • แสดงออกถึงความยินดี มีความสุขมากกว่ามีความทุกข์ เศร้าโศกในชีวิตประจำวัน
  • มีความรู้สึกกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น มีอิสระที่จะเล่น ค้นหาตนเอง อยากทำทุกอย่าง
  • เริ่มเรียกชื่อต่างๆได้
  • รู้จักเคารพผู้อื่นเมื่อผู้ใหญ่บอก
  • รู้จักใช้เวลาอยู่เงียบๆ ได้ (เวลาฟังเรื่องเล่า เวลาอยู่ในวัด เวลาพักผ่อน)
  • รู้จักเคารพสิ่งของของผู้อื่น
  • เริ่มรู้จักเคารพตนเอง การดูแลตนเองและผู้อื่นได้

  1. ความสัมพันธ์กับครอบครัว

เพื่อการปกป้อง หล่อเลี้ยง ชี้แนะให้แนวทางและความรักแก่ลูกๆ ของตน คุณพ่อคุณแม่ต้อง

กับพี่ๆน้องๆ

  • พ่อแม่จะต้องเตรียมพี่ๆเพื่อการต้อนรับสมาชิกใหม่ ด้วยจิตตารมณ์แห่งความรักและการต้อนรับ
  • พ่อแม่รวมถึงพี่ๆร่วมกันวางแผนในการต้อนรับสมาชิกใหม่
  • พ่อแม่จะต้องสนับสนุนให้พี่ๆร่วมกันดูแลน้องตามกำลังความสามารถ (เช่น ช่วยเตรียมอุปกรณ์การอาบน้ำให้น้อง ช่วยถือของใช้ของน้อง)

คุณปู่คุณย่า-คุณตาคุณยาย

  • พ่อแม่ควรปรึกษาคุณปู่คุณย่าที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการเลี้ยงดูลูกในเวลาที่เหมาะสม
  • พ่อแม่และคุณปู่คุณย่าร่วมงานฉลองของครอบครัวเสมอ
  • พ่อแม่ควรเชื่อมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับคุณปู่คุณย่าโดยการพากันไปเยี่ยมเยือน การโทรศัพท์ การถ่ายภาพ การเล่าเรื่อง และงานศิลปะ

คุณลุง คุณป้าและญาติพี่น้อง

  • คุณพ่อคุณแม่ต้องแนะนำลูกให้รู้จักสมาชิกในครอบครัวโดยการบอกกล่าวถึงการเกิด การฉลองวันเกิด การรับศีลล้างบาป และการฉลองอื่นๆในครอบครัว
  • คุณพ่อคุณแม่ต้องแนะนำและสร้างความสัมพันธ์กับญาติเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของญาติพี่น้อง

คุณพ่อคุณแม่ทูลหัว

  • เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ทูนหัวที่จะต้องให้การสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ คุณปู่คุณย่าในการให้การอบรมสั่งสอนด้วยการสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดต่อกัน
  • คุณพ่อคุณแม่ทูลหัวสนับสนุนให้ลูกทูลหัวเติบโตในความเชื่อด้วยการเป็นแบบอย่างดีและด้วยคำสั่งสอน

สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนเตรียมอนุบาล

  • คุณพ่อคุณแม่ต้องสำรวจคุณภาพของสถานที่รับเลี้ยงเด็กที่เหมาะสมในการส่งเสริมคุณค่าของครอบครัว
  • คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมลูกเพื่อการเข้าสู่บรรยากาศใหม่ของสถานรับเลี้ยงเด็ก
  • คุณพ่อคุณแม่ต้องชัดเจนต่อความต้องการของเด็กและความคาดหวังของเขา รวมถึงบรรยากาศแห่งความเชื่อศรัทธาเหมือนกับที่เด็กได้รับจากบ้าน
  • คุณพ่อคุณแม่จะต้องร่วมมือ ติดต่อกับผู้ดูแลลูกอย่างใกล้ชิด

คนเลี้ยงลูก

  • คุณพ่อคุณแม่จะต้องสืบเสาะหาคนเลี้ยงดูลูกที่จะช่วยให้ลูกได้รับการเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสม
  • คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจกับลูกถึงการทีต้องอยู่กับพี่เลี้ยงในบางเวลา
  • คุณพ่อคุณแม่ต้องชี้แจงถึงความต้องการและความคาดหวังให้พี่เลี้ยงทราบก่อนอย่างชัดเจน
  • คุณพ่อคุณแม่ต้องร่วมมือ ติดตาม การเลี้ยงดูของพี่เลี้ยงแต่ควรกระทำด้วยความเคารพ

เครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่าชีวิตจิตของเด็กกำลังเจริญเติบโตตามที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยที่เด็กอายุ 0-3 แสดงออกด้วยพฤติกรรม เหล่านี้

  • พัฒนาความรู้สึกเป็นเจ้าของต่อครอบครัว
  • แสดงความรู้สึกที่มีความสุขกับคุณพ่อคุณแม่
  • พัฒนาความรู้สึกที่มีความสุขในการพบกับคนอื่นนอกเหนือจากคนในครอบครัว โดยเฉพาะกับสมาชิกในวัด
  • มีประสบการณ์ในการเปลี่ยนแปลงและการเรียนรู้จากการเลียบแบบผู้อื่น
  • เริ่มสังเกตและยอมรับความแตกต่างๆ
  • พัฒนาความรู้สึกไว้วางใจ และการพึ่งตนเอง

 

  1. ปีพิธีกรรม

โดยการเปิดโอกาสให้เด็กๆได้มีประสบการณ์ต่างๆ ตามความสามารถเท่าที่จะทำได้

1) การไปร่วมพิธีมิสซาในวันอาทิตย์ (เช่น การร้องเพลง การแห่)

  • คุณพ่อคุณแม่จะต้องแสดงให้ลูกเห็นถึงความสำคัญของวันอาทิตย์ โดยการไปร่วมพิธีมิสซา การเตรียมเสื้อผ้าที่เหมาะสม
  • จัดเวลาเพื่อการไปร่วมพิธีมิสซาพร้อมกันในครอบครัว

2) ระหว่างเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระเยซูเจ้าและคริสตมาส

  • คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับลูกเกี่ยวกับเทศกาลนี้ (เช่น ความหมายของการรอคอย การนับถอยหลังเพื่อการฉลองวันคริสต์มาส การทำพวงมาลัยคริสต์มาส การจัดทำปฏิทินเตรียมการฉลอง การเตรียมต้นคริสต์มาส เตรียมดาว เตรียมถ้ำพระกุมาร เตรียมของขวัญเพื่อนำไปให้คนยากจน อธิบาลความหมายของการให้ จุดเทียน การอ่านเรื่องการบังเกิดของพระเยซู การเปิดซีดีเรื่องวันคริสต์มาส ฯลฯ

3) เทศกาลมหาพรตและปัสกา

  • คุณพ่อคุณแม่ควรอธิบายความหมายของเทศกาลนี้ด้วยภาษาที่เหมาะสมกับวัยของลูก (เช่น ทำไมเทศกาลมหาพรตจึงเป็นเวลาพิเศษของปี ความหมายของสีม่วง ความสำคัญของการที่จะคิดถึงคนอื่นๆโดยการสะสมเงินเพื่อนำไปช่วยคนยากจน การภาวนามากกว่าเวลาปรกติ ทำไม่ต้องใช้น้ำเสก การเปรียบเทียบความหมายของน้ำเพื่อการชำล้างกับน้ำแห่งศีลล้างบาป
  • ให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกเดินไปเที่ยวชมรูป 14 ภาคในวัด แล้วอธิบายให้ลูกรู้เหตุการณ์ต่างๆด้วยภาษาที่เหมาะสมกับวัยของลูก เล่าเรื่องความตายของพระเยซูเจ้าเป็นการแสดงความรักต่อเรามนุษย์ โดยเน้นว่าความรักของพระเยซูเจ้าที่มีต่อพระบิดาและต่อเราทุกคน การช่วยเหลือพระเยซูแบกไม้กางเขน ความรักของแม่ที่มีต่อลูก ฯลฯ
  • คุณพ่อคุณแม่อธิบายความหมายของการล้างเท้า การแสดงความเคารพต่อไม้กางเขน ดอกไม้วันปัสกา ไข่ปัสกา การพรมน้ำเสก ให้เด็กๆได้สังเกตพิธีกรรมและคอยอธิบายว่าประธานในพิธีกำลังทำอะไร

4) คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปร่วมพิธีในวันฉลองใหญ่ๆ ต่างๆ เพื่อให้ลูกได้มีประสบการณ์และความคุ้นเคย

5) การเล่าเรื่องพระเยซูเจ้าให้ลูกฟัง

  • คุณพ่อคุณแม่ควรเล่าเรื่องพระเยซูเจ้าด้วยภาษาที่เหมาะสมกับวัยของลูกในเหตุการณ์ที่ตรงกับวันฉลองต่างๆ (อาจจะใช้ซีดี หนังสือพระคัมภีร์สำหรับเด็ก เพลง ฯลฯ)
  • คุณพ่อคุณแม่ให้ข้อมูลโดยตอบคำถามต่อความต้องการของลูก เช่น ใคร ทำอะไร ทำไม ที่ไหน อย่างไร

6) คุณพ่อคุณแม่แสดงถึงความผูกพันกับวัดและศาสนจักร

  • คุณพ่อคุณแม่ส่งเสริมสนับสนุนลูกให้ลูกมีความอยากรู้อยากเห็นและความรักต่อวัดและพระศาสนจักรด้วยการแสดงตนเป็นแบบอย่าง
  • คุณพ่อคุณแม่แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมกับวัดโดยการเป็นสมาชิกของกลุ่มองค์กรที่เหมาะสมกับพระพรที่มี การมีส่วนร่วมในพิธีมิสซาอย่างกระตือรือร้น ด้วยการขับร้องเพลง การฟังพระวาจา การแสดงความเคารพ และการฝึกลูกๆให้รู้จักสงบเงียบ

เครื่องหมายที่แสดงออกว่าเด็กมีความเจริญเติบโตฝ่ายจิตโดยผ่านทางกิจกรรมต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว

เด็กตั้งแต่เกิดจนถึงสามขวบ

  • การคุ้นเคยกับไปร่วมพิธีมิสซาหรือวันฉลองกับคุณพ่อคุณแม่
  • แสดงให้เห็นความตั้งใจในขณะร่วมพิธีกรรม
  • ตอบรับบทภาวนาในพิธีมิสซาได้บ้าง (เช่น อาแมน และสถิตกับท่านด้วย)
  • เริ่มจำบทเพลงและร้องเพลงสั้นได้
  • จำบทภาวนาสั้นๆได้
  • เริ่มยืน นั่งคุกเข่าในพิธีได้อย่างดี
  • เข้านั่งประจำที่นั่งอย่างคุ้นเคย
  • ออกพระนามพระเจ้าได้ชัดเจน
  • ทำเครื่องหมายสำคัญมหากางเขนได้เอง
  • ภาวนาสั้นๆ จากใจได้
  • เริ่มมีความชื่นชมกับความสวยงามของธรรมชาติรอบตัวในฐานะที่เป็นสิ่งสร้างของพระเจ้า

 


  1. ชีวิตกับศีลศักดิ์สิทธิ์

โดยการปกป้อง หล่อเลี้ยง แนะนำ และความรักลูก

1) ส่งเสริมการเฉลอมฉลองพิธีกรรมในบ้าน ชีวิตทุกชีวิตเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะเป็นสถานที่ห่อหุ้มความรัก ความเรียบง่าย การเป็นประจักษ์พยานในชีวิตประจำวัน” (FC, 1981, ข้อ, 53)

  • คุณพ่อคุณแม่อธิบายเปรียบเทียบเชื่อมโยงระหว่างการรับทานอาหารที่บ้านกับงานเลี้ยงอาหารศีลมหาสนิทที่ลูกได้เห็นในพิธีมิสซาฯ (เช่น ที่บ้านเรามารวมกันที่โต๊ะอาหาร เราสวดภาวนาขอพระเจ้าอวยพรเราและอาหารที่เรารับประทาน เราพูดคุยกัน เล่าเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้น เรารับประทานอาหารด้วยกัน เราขอบคุณและเราก็ลุกขึ้นจากโต๊ะไปทำธุระส่วนตัวของเรา” “ที่วัดเรามีคนมาร่วมมากกว่าที่บ้านที่นั้นเรามีพระสงฆ์อยู่ร่วมโต๊ะด้วย เราได้รับฟังเรื่องต่างๆเกี่ยวกับพระเจ้าและพระเยซูเจ้า และคำสอนให้เรารักผู้อื่น พระเยซูมอบอาหารฝ่ายจิตของพระองค์แก่เราในรูปของปังและเหล้าองุ่น เราขอบพระคุณพระเจ้า เราร้องเพลงและจากกันได้สิ่งที่ดีให้คุณพ่อคุณแม่ พี่ๆน้องๆ เพื่อนๆ และคนอื่นๆ)
  • คุณพ่อคุณแม่อธิบายเปรียบเทียบ โดยยกเอาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เด็กสัมผัสหรือมีประสบการณ์ในชีวิตวัน เช่น ขนมปัง อาหาร น้ำมัน น้ำ การแสดงความเคารพ และการยกโทษให้แก่กันและกัน เพื่อเชื่อมโยงกับพิธีมิสซาฯเพื่อให้เด็กเข้าใจธรรมล้ำลึกของพิธีมิสซา
  • คุณพ่อคุณแม่จัดเวลาภาวนาพร้อมกับลูก และสอนให้ลูกสวดบทภาวนาทางการของพระศาสนจักร

2) การรับศีลล้างบาป

  • คุณแม่คุณแม่เตรียมนำลูกไปรับศีลล้างบาป โดยตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะนำลูกเข้าสู่ชีวิตความเชื่อ
  • คุณพ่อคุณแม่ควรให้พี่ๆมีส่วนร่วมในการเข้ารับพิธีล้างบาปของน้อง
  • คุณพ่อคุณแม่ภาวนาวอนขอการทรงนำของพระเจ้าเพื่อจะได้ทำหน้าที่การเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่ดี และเป็นตัวอย่างที่ดีในความเชื่อ
  • คุณพ่อคุณแม่เข้าใจความหมายของการเจิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจิมในศีลล้างบาป

3) การทำหน้าที่ถ่ายทอดความเชื่อตามที่ได้สัญญาไว้

  • คุณพ่อคุณแม่อุทิศตนในการรับผิดชอบโดยการดำเนินชีวิตที่เป็นแบบอย่าง เป็นประจักษ์พยานแสดงให้เห็นคุณค่าพระวรสารในชีวิต โดยการมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและกันและกับลูกของตน
  • คุณพ่อคุณแม่ภาวนาเพื่อพระหรรษทานสำหรับการดำเนินชีวิต

4) ช่วงเวลาแห่งความตาย

  • คุณพ่อคุณแม่อธิบายเรื่องความตายให้เหมาะสมกับวัยของลูก โดยใช้ตัวอย่างความตายหรือการสูญหายที่เด็กเข้าใจได้ (เช่น ความตายของนก สัตว์ หรือดอกไม้)
  • คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการอธิบายแบบหลักวิชาการ หรือขั้นตอนพัฒนาการ

5) การมีส่วนร่วมกับชีวิตของพระศาสนจักรอย่างเต็มที่

  • คุณพ่อคุณแม่จะต้องเป็นประจักษ์พยานโดยการมีส่วนร่วมกับกิจการของพระศาสนจักรอย่างกระตือรือร้น (เช่น การไปร่วมมิสซาประจำทุกวันอาทิตย์ การรับศีลอภัยบาปและศีลมหาสนิท การภาวนา และการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่ทางวัดจัดขึ้น

เครื่องหมายที่แสดงถึงความเติบโตฝ่ายจิตโดยผ่านทางกิจกรรมต่างๆที่ได้กล่าวไว้ ก็คือ เด็กอายุแรกเกิดถึงอายุสามขวบ แสดงออกให้เห็นได้ด้วยพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้

  • แสดงให้เห็นถึงความประหลาดใจ พิศวง ตื่นเต้น ยินดี ในขณะที่ร่วมพิธีกรรมทั้งที่บ้านและที่วัด
  • เริ่มทำการเชื่อมโยงระหว่างบ้านกับวัด
  • แสดงให้เห็นความตั้งใจในการร่วมพิธีกรรมเพิ่มขึ้น
  • เริ่มจำบทเพลงหรือบทสวดสั้นๆ ซ้ำๆ ได้มากขึ้น
  • จำเรื่องพระเยซูและคำสอนของพระองค์ได้บ้าง
  • เริ่มตั้งคำถามและการพูดถึงพิธีกรรมด้วยภาษาของเขาได้
  • อธิบายความเข้าใจพิธีล้างบาปของตนโดยใช้ภาพถ่ายในวันรับศีลล้างบาป
  • เข้าใจว่าเทียนและเสื้อขาวที่ได้รับในวันรับศีลล้างบาปเป็นสิ่งที่พิเศษกว่าเทียบและเสื้อตัวอื่นๆ
  • ภาวนาด้วยภาษาของตนเอง และภาวนาทางการบางบทได้

 


  1. ชีวิตชุมชนและการประกาศข่าวดี

โดยการปกป้อง หล่อเลี้ยง แนะนำ และการให้ความรักลูก

1) การเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของวัดและชุมชน (เช่น การไปฉลองวัด การร่วมวันฉลองที่วัดจัดขึ้น วันพ่อวันแม่ วันแพร่ธรรมสากล วันยุวธรรมทูต วันครอบครัว ฯลฯ)

  • คุณพ่อคุณแม่พาลูกมาร่วมฉลองกับชุมชนเพื่อให้ลูกได้มีประสบการณ์ต่างๆของวัดและชุมชน
  • คุณพ่อคุณแม่ช่วยอธิบายให้ลูกเข้าใจความหมายของกิจกรรมที่ได้ร่วมกันกระทำ โดยแรงจูงใจให้เห็นความน่าสนใจและกระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น
  • คุณพ่อคุณแม่ช่วยกระตุ้นลูกให้คิดถึงสิ่งที่เขาชอบจากกิจกรรมนั้นๆ

2) การพาลูกไปพบกับคนอื่นๆ ทั้งในวัดและชุมชน เพื่อการสร้างความคุ้นเคย และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (เช่น ตำรวจ ครู คนดับเพลิง หมอ พยาบาล ฯลฯ)

  • คุณพ่อคุณแม่สอนลูกให้ให้รู้ว่ามีบุคคลอื่นๆ อีกมากมายที่ช่วยเหลือสังคมให้มีความสงบสุข
  • คุณพ่อคุณแม่แสดงความเคารพบุคคลที่ช่วยเหลือวัดและชุมชนในบทบาทหน้าที่ต่างๆ

3) สร้างจิตสำนึกของการรักษาธรรมชาติ (เช่น การรักษาความสะอาด การประหยัดน้ำ การนำของเก่ามาปรับใช้ใหม่)

  • คุณพ่อคุณแม่แสดงตนป็นตัวอย่างของการการเอาใจใส่ในการใช้สิ่งของต่างๆด้วยความประหยัดและอย่างมีคุณค่า และการรักษาธรรมชาติรอบตัว
  • คุณพ่อคุณแม่สอนลูกให้รับผิดชอบในการรับทานอาหารอย่างรู้คุณค่า การใช้น้ำไฟอย่างประหยัด

4) การช่วยเหลือคนยากจน (เช่น การมอบอาหารให้คนยากจน ให้เสื้อผ้า เวลา ความเป็นเพื่อน และต้อนรับทุกคน)

  • คุณพ่อคุณแม่ส่งเสริมให้ลูกได้บริจาคเสื้อผ้า ของเล่น ให้เพื่อนที่ต้องการ
  • คุณพ่อคุณแม่สอนให้ลูกรู้ถึงความรักของพระเจ้าที่มอบให้ทุกคนไม่เลือกหน้า และพระองค์ทรงสอนให้เราแบ่งปันผู้อื่นด้วย

5) มีส่วนร่วมในวันฉลองของพ่อแม่ (วันเกิด วันครบรอบแต่งงาน วันฉลองนักบุญ ฯลฯ)

  • คุณพ่อคุณแม่จัดให้ลูกได้มีส่วนร่วมในงานต่างๆ นั้น

6) สร้างจิตสำนึกให้รักขนบธรรมเนียมประเพณี

  • คุณพ่อคุณแม่ให้ลูกได้มีส่วนร่วมในขนบธรรมเนียมหรือประเพณีปฏิบัติต่างๆในครอบครัว

7) สอนให้ลูกมีชีวิตสังคมและการช่วยเหลือสังคม

  • คุณพ่อคุณแม่เล่าเรื่องที่ตนเองได้มีส่วนร่วมในสังคมอย่างไร (เช่น งานทำ การเป็นจิตอาสาในงานหนึ่งงานใด การเป็นสมาชิกในองค์กรการกุศล หรือการรับใช้สังคม)
  • คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปร่วมกิจกรรมทางสังคมและจิตอาสา
  • คุณพ่อคุณแม่แสดงให้ลูกเห็นว่าครอบครัวได้สนับสนุนวัดทั้งด้วยการบริจาคและการร่วมแรงในกิจกรรมต่างๆ

8) การเป็นประจักษ์พยานในชุมชน

  • คุณพ่อคุณแม่ต้องแสดงออกให้เห็นถึงความเอาใจใส่ต่อวัดและสังคม ด้วยการปฏิบัติทั้งในบ้านและนอกบ้าน

เครื่องหมายของการเติบโตฝ่ายจิตจากการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆที่กล่าวมาแล้ว โดยเด็กอายุสามขวบลงมาแสดงออกด้วยพฤติกรรมเหล่านี้

  • แสดงความปรารถนาที่จะเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความกระตือรือร้นนอกบ้าน
  • อยากเลียบแบบคุณพ่อคุณแม่ในการทำกิจกรรมต่างๆ
  • ทำงานบ้านโดยไม่ต้องบอก
  • เรียนรู้การรับผิดชอบโดยสังเกตจากการกระทำของคุณพ่อคุณแม่

 

 


คำสอนพระศาสนจักร

หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

CCC 2204 “ครอบครัวคริสตชน...สมควรอย่างยิ่งที่จะเรียกว่าเป็นพระศาสนจักรระดับบ้าน”

CCC 2205 “ครอบครัวคริสตชนเป็นการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคล เป็นเครื่องหมายและภาพลักษณ์ของการมีชีวิตร่วมกันของพระบิดา พระบุตรในพระจิตเจ้า”

CCC 2207 “ครอบครัวเป็นชุมชนที่บุคคลหนึ่งสามารถเข้าใจคุณค่าทางศีลธรรมตั้งแต่วัยทารก สามารถเริ่มถวายเกียรติพระเจ้าและทำการใช้เสรีภาพอย่างดี ชีวิตครอบครัวเป็นการริเริ่มสู่ชีวิตในสังคม”

CCC 2212 “ความสัมพันธ์อื่นๆในสังคม...ในพี่น้องชายหญิง ในญาติพี่น้อง ผู้สืบเชื้อสายของปู่ย่าตายายของเรา ในเพื่อนร่วมชาติของเรา...ในบรรดาผู้รับศีลล้างบาป ลูกๆของพระศาสนจักร ผู้เป็นมารดาของเรา ในมนุษย์ทุกคนผู้ซึ่งประสงค์ได้รับเรียกว่า พระบิดาของเรา”

CCC 2222 “บิดามารดาต้องถือว่าบุตรของตนเป็นลูกของพระเจ้า และให้ความเคารพในความเป็นบุคคลของบุตร”

CCC 2223 “ครอบครัวเป็นสถานที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการอบรมด้านศีลธรรม”

CCC 2224 “ครอบครัวเป็นสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติเพื่อให้มนุษย์มีความมั่นคงและมีความรับผิดชอบ”

CCC 2226 “การให้การอบรมเรื่องความเชื่อ พ่อแม่ต้องเริ่มให้ตั้งแต่ลูกที่ยังอ่อนวัยวัยที่สุด”

CCC 2228 “ความเคารพและความรักของบิดามารดาแสดงออกมาในการดูแลเอาใจใส่ ก่อนสิ่งอื่นใดหมดโดยการทุ่มเทอุทิศตนในการให้การอบรมลูกของตนและการจัดหาสิ่งของตามความต้องการทางร่างกายและฝ่ายจิตใจ”

 

ครอบครัวคริสตชนในโลกปัจจุบัน

ข้อ 17 “ตามแผนการของพระเจ้าผู้สร้างและผู้ไถ่กู้ คอบครัวนอกจากจะพบเอกลักษณ์ของตนคือสิ่งที่เป็นแล้ว ยังพบภารกิจคือ สิ่งที่ครอบครัวสามารถทำและควรทำ

ข้อ 26 “ภายในครอบครัว..สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องเอาใจใส่ตัวในตัวเด็กๆเป็นพิเศษ ต้องยกย่องเชิดชูศักดิ์ศรีความเป็นคนของเด็ก ทั้งต้องนับถือและปกป้องสิทธิของเขาด้วยใจเร่าร้อน”

ข้อ 39 “โดยศาสนบริการในการอบรมดูแลลูก พ่อแม่จึงเป็นคนแรกที่ประกาศพระวรสารให้ลูกโดยการดำเนินชีวิตของพ่อแม่เอง”

 

คู่มือแนะแนวทั่วไปสำหรับการสอนคำสอน (GDC)

ข้อ 226 “การปลุกความเชื่อทางศาสนาในวัยเด็กเช่นนี้ที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว เป็นสิ่งที่ไม่มีอะไรมาทดแทนได้”

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

นักศึกษาศูนย์คำสอนเชียงใหม่ มาศึกษาดูงาน
🎊ภราดาสารพัน แคเซอ ผู้รับผิดชอบศูนย์คำสอนเชียงใหม่ ได้นำนักศึกษา จำนวน 8 คน ผู้ดูแล 1 คน...
ชุมนุมและฟื้นฟูจิตใจคริสตชนใหม่ สังฆมณฑลราชบุรี ครั้งที่ 3
👟"การจาริกแห่งความหวัง"ชุมนุมและฟื้นฟูจิตใจคริสตชนใหม่ สังฆมณฑลราชบุรี ครั้งที่ 3❤️วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2024 ศูนย์คริสตศาสนธรรม ราชบุรี...
การจาริกแห่งความหวัง การเดินทางแสวงบุญและทำกิจเมตตาผู้เรียนคำสอนรุ่นที่ 8/2024
💜การจาริกแห่งความหวัง การเดินทางแสวงบุญและทำกิจเมตตาผู้เรียนคำสอนรุ่นที่ 8/2024 ของอาสนวิหารแม่พระบังเกิด วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม 2025 💜การจาริกแสวงบุญครั้งนี้มีจุดปนะสงค์เพื่อเตรียมตัวรับศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มต้นชีวิตคริสตชน โดยมีผู้ร่วมจาริกแสวงบุญครั้งนี้...

Youcat-คำสอนเยาวชน

Youcat 235 เราไปสารภาพบาปได้หรือไม่ แม้มิได้กระทำบาปหนัก ?
📍เราไปสารภาพบาปได้หรือไม่ แม้มิได้กระทำบาปหนัก ?#YOUCAT 235 บอกเราว่า..☂การสารภาพบาปเป็นพระพรอันยิ่งใหญ่แห่งการเยียวยารักษา...
Youcat 426 📍 พระบัญญัติประการที่เจ็ดกำหนดไว้อย่างไรในเรื่อง
พระบัญญัติประการที่เจ็ดกำหนดไว้อย่างไรในเรื่อง "อย่าลักขโมย" (อพย. 20:15) YOUCAT...
Youcat 230 📍การใช้โทษบาป คืออะไร ?
📍การใช้โทษบาป คืออะไร ?#YOUCAT 230 บอกเราว่า...

พระวาจานำชีวิต

เอาชนะความโกรธและความเคียดแค้นใจ
พระวาจาพระเจ้าที่ให้แนวทางแก่เรา เพื่อช่วยเราเอาชนะความโกรธและความเคียดแค้นใจ แม้จะวุ่นวายใจ ก็จงอย่าทำบาป จงคิดคำนึงขณะที่นอนบนเตียงอย่างเงียบ...
พระเจ้าทรงอดทนและรอคอยเรา
พระเจ้าทรงอดทน รอคอยให้ชีวิตเราเกิดผลในฐานะคนของพระคริสต์ ให้พระวาจาพระเจ้ามาเปลี่ยนแปลงเราให้เกิดผลดีเหมาะสมกับที่พระเจ้ารอคอยเรา อับราฮัมทูลว่า “เจ้านายของข้าพเจ้าอย่ากริ้วเลย...
พระคริสตเจ้าทรงทำให้ชีวิตของเราสมบูรณ์
พระเจ้าทรงทำให้ชีวิตของเราสมบูรณ์ จากความอ่อนแอ ความผิดพลาด และความบาป ให้พระวาจาพระเจ้าเป็นกำลังใจและแนวทางแก่เรา...

คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน ค.ศ.2020

DC222 เป็นการเหมาะสมที่จะสะท้อนให้เห็นถึงสถานที่โดยเฉพาะสำหรับการสอนคำสอนในฐานะเครื่องมือการประกาศและการศึกษาในความสัมพันธ์ของมนุษย์
พื้นที่สำหรับการสอนคำสอน เป็นที่ที่จัดให้ชุมชนแสดงออกถึงวิธีการประกาศข่าวดีของตนในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมในปัจจุบัน เป็นการเหมาะสมที่จะสะท้อนให้เห็นถึงสถานที่โดยเฉพาะสำหรับการสอนคำสอนในฐานะเครื่องมือการประกาศและการศึกษาในความสัมพันธ์ของมนุษย์ ดังนั้น จึงจำเป็นที่สภาพแวดล้อมดังกล่าวจะได้รับการต้อนรับและได้รับการดูแลอย่างดีเพื่อสื่อถึงบรรยากาศแห่งความคุ้นเคยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างสงบในกิจกรรมของชุมชนสภาพแวดล้อมที่แพร่หลายมากที่มีลวดลายหลังจากอาคารเรียนไม่ได้เป็นสถานที่ที่ดีที่สุดสำหรับการเผยแพร่กิจกรรมทางคำสอน...
DC220  การปฏิสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ระหว่างผู้คนทำให้กลุ่มเป็นสถานที่ที่มีการแลกเปลี่ยนและการสื่อสารที่ลึกซึ้งเบ่งบาน
การปฏิสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ระหว่างผู้คนทำให้กลุ่มเป็นสถานที่ที่มีการแลกเปลี่ยนและการสื่อสารที่ลึกซึ้งเบ่งบานเมื่อสิ่งนี้เข้มข้นและมีประสิทธิภาพกลุ่มจะทำหน้าที่ได้ดีที่สุดในการสนับสนุนการเติบโตของสมาชิกของตน ในความเป็นจริงของพระศาสนจักรกลุ่มได้รับการทำให้มีชีวิตชีวาโดยพระจิตเจ้าผู้สร้างสรรค์แท้จริงของความก้าวหน้าในความเชื่อทั้งหมด อย่างไรก็ตามการเปิดกว้างต่อพระหรรษทานนี้ไม่สามารถลดทอนการฝึกฝนในการเรียนการสอนได้ซึ่งมองว่ากลุ่มในฐานะความจริงทางสังคมประกอบด้วยพลังและกฎแห่งการเติบโตของตนเอง ความสามารถในการมีส่วนร่วมเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ สามารถเป็นวิธีการที่ถูกต้องเพื่อเสริมสร้างความรู้สึกของเอกลักษณ์และความเป็นสมาชิกเพื่ออำนวยความสะดวกในการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของสมาชิกแต่ละคนส่งเสริมกระบวนการของการทำให้เกิดความเชื่อภายในและจัดการกับความตึงเครียดระหว่างบุคคลในเชิงบวก...

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 "บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง"

เนื้อหา Update ล่าสุด

เนื้อหาและบทเรียน

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก(CCC)

สารคำสอน 182 (ปีการศึกษา2023)

สารคำสอน 182 (ปีการศึกษา2023)

เรียนคำสอนกับพ่อวัชศิลป์

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์

สถิติการเยี่ยมชม

0.png4.png1.png1.png9.png4.png9.png
วันนี้901
เมื่อวานนี้2422
สัปดาห์นี้11766
เดือนนี้8401
ทั้งหมด411949

ขณะนี้มีผู้เยี่ยมชม

8
Online

วันศุกร์, 04 เมษายน 2568 09:12