ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCESE

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 "บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง"

ความหมายของความทุกข์
            
โควิด-19 ทำให้คนทั่วโลกต่างตื่นตระหนก หลายร้อยหลายล้านคนต้องเจ็บป่วย ครอบครัวจำนวนมากต้องสูญเสียคนที่รักไป เราอาจจะไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงว่าทำไมเราจึงต้องมีความทุกข์ แต่พระวาจาของพระเจ้าสอนเราว่าเราจะต้องเผชิญหน้ากับความทุกข์ได้อย่างไร เป็นต้นในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ เราจดจำได้ว่าความทุกข์ทรมานของพระเยซูเจ้าบนไม้กางเขนช่วยไถ่โทษเราจากบาปและความตายของพระองค์ เปิดทางเราให้สามารถเข้าสู่สวรรค์ ซึ่งเป็นบ้านแห่งความสุขเที่ยงแท้นิรันดรของเรา

ความทุกข์ทรมาน - ความดีของพระเจ้าและพลังอำนาจของพระเจ้า

ความทุกข์ทรมาน - ความดีของพระเจ้าและพลังอำนาจของพระเจ้า

            ความทุกข์ยากลำบากเป็นเรื่องปรกติที่เกิดขึ้นกับทุกคน “เรารู้ดีว่า จนถึงเวลานี้สรรพสิ่งกำลังร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวดราวกับสตรีคลอดบุตร” (รม. 8:22) เราได้รับรู้เกี่ยวกับความทุกข์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก รอบ ๆ ตัวเรา ซึ่งหลายครั้งทำให้เราพลอยเป็นทุกข์ไปกับเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นด้วย

             เรามักจะตั้งคำถามด้วยความสิ้นหวังว่า “ถ้าพระเจ้าดีจริง ทำไมต้องมีความทุกข์ทรมานเช่นนี้” “ถ้าพระเจ้าศักดิ์สิทธิ์จริงทำไมไม่ช่วยฉันให้พ้นจากเรื่องเลวร้ายเหล่านี้ล่ะ” เรารู้สึกลำบากใจที่จะยอมรับความจริงระหว่างความทุกข์กับความเชื่อในพระเจ้าของเรา

            คริสตชนบางคนสอนว่าใครที่มานับถือศาสนาคริสต์ ติดตามพระเยซูแล้วจะไม่มีความทุกข์ จะไม่เจ็บไข้ได้ป่วย แต่ความจริงที่เห็นกันอยู่ก็คือคนคริสต์ก็ยังป่วย ยังเจ็บ ยังคงตายเหมือน ๆ คนอื่น พระเยซูเจ้าไถ่บาปเราบนไม้กางเขนไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่มีความทุกข์ แต่มันช่วยเราให้กล้าที่เผชิญหน้ากับความทุกข์ในชีวิต เราหวังว่าสักวันหนึ่ง พระเจ้า “จะทรงเช็ดน้ำตาทุกหยดจากนัยน์ตาของเขา จะไม่มีความตายอีกต่อไป จะไม่มีการคร่ำครวญ การร้องไห้ และความทุกข์อีกต่อไป….” (วว. 21:3-7).

             ท่ามกลางความทุกข์ ผู้เชื่อในพระเจ้าย่อมมีความหวังเพราะรู้ว่าความทุกข์ในโลกนี้มีเพียงสั้น ๆ แต่รางวัลของเราในเมืองสวรรค์นั้นยิ่งใหญ่และถาวรนิรันดร์ (2คร. 4:16-18)

เหตุผล 5 ประการที่โลกมีความทุกข์

เหตุผล 5 ประการที่โลกมีความทุกข์

            เพราะโลกที่ล่มสลาย : ความจริงที่ว่าพระเจ้าประทานรางวัลแก่ผู้ที่ทำดีและลงโทษผู้ที่ทำชั่ว แต่ทั้งผู้ที่ทำดีและทำชั่วต่างก็มีความทุกข์ด้วยกัน (โยบ 1-2) ครั้งเมื่ออาดัมและเอวาได้ทำบาป ความสัมพันธ์ระหว่างเรามนุษย์กับพระเจ้า ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง และมนุษย์กับธรรมชาติได้ขาดสะบั้นลง ในชีวิตนี้ เราจึงยังมีความหิว เจ็บป่วย ทุกข์เสียใจ และสุดท้ายคือตาย (รม. 8:18-24; ฟป. 2:25-28)

            เพราะบาป: พระเจ้าจะทรงลงโทษคนใดคนหนึ่งก็เพราะว่าเขาได้กระทำบาป (กดว. 16:1-38; ยชว. 7:1-26; กจ. 5:1-11; 12:20-25) ทั้งพันธสัญญาเดิมและใหม่ พระเจ้าทรงอนุญาตให้มนุษย์มีความทุกข์เพราะมนุษย์นั้นเลือกที่จะทำบาป (ยรม. 2:19) แต่ความทุกข์ทั้งหลายนั้นก็ไม่ได้มาจากบาปเท่านั้น พระเยซูตรัสว่าความทุกข์เกิดขึ้นเพื่อให้พระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้าจะได้ปรากฏเด่นชัดขึ้น (ยน. 9:1-7).

            เพื่อการแก้ไขสิ่งที่ผิด : พระเจ้าทรงเป็นบิดามารดาที่ดีที่ต้องการให้ลูกเติบโต บางครั้งพระองค์ทรงใช้ความทุกข์เพื่ออบรมสั่งสอนเรา ฝึกฝนเรา ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของเราเอง (ฮบ. 12:7-13).

            เพื่อทดสอบเรา (2ทธ. 3:12; 1ปต. 4:12-14; ยก. 1:1-19) ความทุกข์ก่อให้เกิดความเชื่อและทำให้เราสามารถรับใช้พระเจ้าได้ดีขึ้น นักบุญเปโตรประกาศว่า “พระเจ้าผู้ประทานพระหรรษทานทุกประการ ผู้ทรงเรียกท่านให้มารับพระสิริรุ่งโรจน์นิรันดรในพระคริสตเจ้า จะทรงฟื้นฟูท่านให้มั่นคง มีกำลังเข้มแข็ง และจะทรงพยุงท่านไว้ (1ปต. 5:10)  โดยผ่านทางความทุกข์ พระเจ้าทรงหล่อหลอมเราให้เข้าใจผู้คนที่ให้เกียรติพระนามของพระองค์และให้พรผู้อื่น

            ต้องถูกเบียดเบียนข่มเหง (ยน. 15:18-26; 16:1-3; กจ. 14:21-22; 2ทธ. 1:11-12) การติดตามพระคริสต์จะต้องมีความทุกข์และการทดสอบ นักบุญเปาโลมองความทุกข์เพื่อพระคริสต์เป็นเกียรติ เป็นสิทธิพิเศษ “ไม่เพียงแต่พระพรที่จะเชื่อในพระเจ้าเท่านั้น แต่รวมถึงพระพรที่จะทรมานเพื่อพระองค์ด้วย” (ฟป. 1:29; 3:10).

เราจะเผชิญหน้ากับความทุกข์อย่างไร

เราจะเผชิญหน้ากับความทุกข์อย่างไร

          แม้ว่าพระคัมภีร์จะบอกเราถึงเหตุของความทุกข์ แต่ไม่ใช้เรื่องง่ายที่จะตอบคำถามคนที่กำลังมีความทุกข์ว่าทำไมเขาจึงต้องมีความทุกข์ ตัวอย่างเช่น โยเซฟทนทุกข์เพราะบาปของผู้อื่น แม้ว่าพี่ ๆ ของเขาตั้งใจจะทำร้ายเขา พระเจ้าก็ทรงประทานสิ่งที่ดีโดยผ่านความทุกข์ของเขา รวมถึงการที่ได้ช่วยชีวิตพี่ๆ และคนจำนวนมากด้วย (ปฐก. 50:20) จึงยากที่มองข้ามว่าพระเจ้าทรงทำงานท่ามกลางความโชคร้ายของเราได้อย่างไร

       แทนที่เราจะแสวงหาเหตุผลว่า “ทำไม” จึงต้องมีความทุกข์ พระคัมภีร์ได้แสดงให้เห็นว่าเราจะ “เผชิญหน้า” กับปัญหาได้อย่างไร

ไม้กางเขนเอาชนะอำนาจสูงสุดของความตายของผู้มีความเชื่อ

        แม้ว่าความทุกข์ยังคงอยู่กับเรา ความเชื่อไว้วางใจได้ว่าความตายจะสิ้นสุดลงเมื่อพระเจ้าทรงสถาปนาฟ้าใหม่และแผ่นดินใหม่(วว. 21:3-4) ความทุกข์จะสิ้นสุดลงเมื่อชัยชนะของพระคริสต์เหนือบาปและความตายสำเร็จลง ดังนั้นเราจะเผชิญหน้ากับความทุกข์อย่างไร

ประการแรก คริสตชนมีความเพียรทนเพราะพระเยซูคริสต์ทรงเอาชนะความทุกข์ทรมานบนไม้กางเขน

                  พระเจ้าในพระบุคคลของพระเยซูคริสต์ทรงรับทรมานและยังทรงทุกข์ทรมานเพื่อเรา ไม้กางเขนแสดงให้เราได้เห็นว่าพระเจ้าสถิตกับเรา แม้ในเวลาแห่งความทุกข์ ไม้กางเขนเตือนเราว่าพระเจ้าจะไม่ทำให้เราล้มเหลวหรือทอดทิ้งเรา เราจึงสามารถเผชิญหน้าและอยู่เหนือความทุกข์ได้

ประการที่สอง พระศาสนจักรควรรับรู้และช่วยเยียวยาความทุกข์ของเรา

                    เมื่อเรามีความทุกข์ พี่น้องในพระศาสนจักรหรือสมาชิกในชุมชนแห่งความเชื่อของเราควรภาวนาและแสดงความรักให้แก่กันและกัน เราอาจจะแบ่งปันอาหาร เงิน และสิ่งของอื่นๆ ความทุกข์ทรมานทำให้เราเจ็บปวด แต่เราสามารถเป็นผู้รักษาบาดแผลโดยมอบความรักและความห่วงใยที่เราได้รับให้กับผู้อื่น

ประการที่สาม ความทุกข์ช่วยสร้างบุคลิกภาพของเราให้เข้มแข็งหรืออ่อนแอได้

                    เมื่อเราทุกข์ บุคลิกภาพของเราจะไม่เหมือนเดิมอีก ผลที่เกิดขึ้นแล้วแต่การตอบสนองของเรา บางคนท้อแท้ ขมขื่นในชีวิต แต่บางคนด้วยความช่วยเหลือของพระจิต เขาเติบโตในความเข้มแข็ง (2คร. 4:16-17) ความทุกข์ให้โอกาสเราได้แสดงความเชื่อ ความเพียรทน และความช่วยเหลือของพระเจ้าในชีวิตของเรา

เรามีความหวัง

ประการที่สี่ ประการสุดท้าย

                 ที่สุด ให้เรามองไปข้างหน้า ความสิ้นสุดของความทุกข์ในชีวิตที่จะมาถึง เรารู้ว่าพระเจ้าไม่ได้มุ่งหวังให้โลกมีความทุกข์หรือต้องการให้มนุษย์ต้องอดทนตลอดไป ดังนั้น ให้เรารับใช้พระเจ้าด้วยความยินดีเพราะเมื่อมองไปข้างหน้าเราจะได้รับความยินดีร่วมกับพระองค์ อัครสาวกเปาโลต้องทนทุกข์อย่างมาก แต่ยังคงกล่าวว่า “

                  “พระจิตเจ้าทรงเตือนข้าพเจ้าในทุก ๆ เมืองว่า โซ่ตรวนและความยากลำบากกำลังรอข้าพเจ้าอยู่ แต่ข้าพเจ้าไม่คิดว่าชีวิตข้าพเจ้ามีค่าสำหรับข้าพเจ้าเท่ากับการที่ข้าพเจ้าได้วิ่งถึงปลายทางและทำให้ภารกิจที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากพระเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้าสำเร็จไปคือการเป็นพยานประกาศข่าวดีแห่งพระหรรษทานของพระเจ้า” (กจ. 20:23-24)

              ในระหว่างนี้ เราซึ่งเป็นคนแห่งไม้กางเขน ดังนั้นเราต้องเอาใจใส่ห่วงใยดูแลคนที่ตกทุกข์ได้ยาก ยืนเคียงข้างพี่น้องที่ยากไร้ พระวรสารบอกเราให้ห่วงใยคนเจ็บไข้ได้ป่วยและคนตาย เราร้องไห้ในความทุกข์ของผู้อื่นเพราะเรารู้ว่าผู้อื่นจะร้องไห้ในความทุกข์ของเรา เพราะพระเยซูเจ้า เราจึงสร้างสันติสุขทั้งในชุมชนแห่งความเชื่อและสังคมที่เราอาศัยอยู่ ความหวังทำให้เรากล้าเผชิญหน้ากับความทุกข์โดยไม่กลัวสิ่งใด

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

ชุมนุมและฟื้นฟูจิตใจคริสตชนใหม่ สังฆมณฑลราชบุรี ครั้งที่ 3
👟"การจาริกแห่งความหวัง"ชุมนุมและฟื้นฟูจิตใจคริสตชนใหม่ สังฆมณฑลราชบุรี ครั้งที่ 3❤️วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2024 ศูนย์คริสตศาสนธรรม ราชบุรี...
พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์และปิดการอบรมค่ายคำสอนภาคฤดูร้อน ปี 2025
วันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2025 เวลา 09.30 น. พระคุณเจ้าซิสวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี...
วันชุมนุมครูคำสอน สังฆมณฑลราชบุรี ครั้งที่ 31 “ครูคำสอน ผู้จาริกแห่งความหวัง”
🎉วันชุมนุมครูคำสอน สังฆมณฑลราชบุรี ครั้งที่ 31🌈“ครูคำสอน ผู้จาริกแห่งความหวัง” วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2024 ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี...

Youcat-คำสอนเยาวชน

Youcat 137 ทำไมจึงเรียกพระศาสนจักรว่าสืบต่อจากอัครสาวก ?
ทำไมจึงเรียกพระศาสนจักรว่าสืบต่อจากอัครสาวก ? #YOUCAT 137 บอกเราว่า....
Youcat 218 วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร ?
วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร ? #YOUCAT 218 บอกเราว่า...
Youcat 170 ต้นกำเนิดลึกซึ้งที่สุดของพิธีกรรมคืออะไร ?
📍ต้นกำเนิดลึกซึ้งที่สุดของพิธีกรรมคืออะไร ?#YOUCAT 170 บอกเราว่า พิธีกรรมบนโลกนี้...

พระวาจานำชีวิต

ใจร้อนรน
ขอพระวาจาพระเจ้าช่วยเราให้มีใจร้อนรนในการดำเนินชีวิตคริสตชน ขอท่านนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล เป็นแบบอย่างและเสนอวิงวอนเพื่อเรา พระยาห์เวห์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า “ก่อนที่เราปั้นท่านในครรภ์มารดา...
จงทำดังนี้เพื่อระลึกถึงเรา
พระวาจาพระเจ้าให้แนวทางแก่เรา บอกเราถึงสิ่งที่เราจะต้องทำ เพื่อให้ทุกขณะของชีวิตเราเป็นการระลึกถึงองค์พระผู้เป็นเจ้า วันนี้จะเป็นวันที่ท่านทั้งหลายต้องจดจำไว้ ท่านต้องถือเป็นวันฉลองถวายพระเกียรติแด่พระยาห์เวห์...
พระตรีเอกภาพ
ถ้อยคำจากพระคัมภีร์ที่กล่าวถึง พระบิดา พระบุตร และพระจิต พระเจ้าองค์เดียวสามพระบุคคล...

คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน ค.ศ.2020

DC227 ครอบครัวคือการประกาศความเชื่อในสถานที่ตามธรรมชาติ
ครอบครัวคือการประกาศความเชื่อในสถานที่ตามธรรมชาติที่ความเชื่อสามารถดำรงอยู่ได้ในลักษณะเรียบง่ายและเป็นธรรมชาติครอบครัว “มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งคือการถ่ายทอดพระวรสารได้รับการพัฒนาขึ้นในสิ่งแวดล้อมอันประกอบด้วยคุณค่าที่ลึกซึ้งของมนุษย์ บนพื้นฐานความเป็นมนุษย์นี้เองที่ทำให้การเริ่มเข้าสู่ชีวิตคริสตชนอันประกอบด้วยเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นคือ...
DC226 อนาคตของบุคคลของชุมชนมนุษย์ และของชุมชนพระศาสนจักรขึ้นอยู่กับครอบครัวซึ่งเป็นเซลล์พื้นฐานของสังคมเป็นส่วนใหญ่
ครอบครัวเป็นชุมชนแห่งความรักและชีวิตซึ่งประกอบด้วย “ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ซับซ้อน... ชีวิตแต่งงาน ความเป็นพ่อและแม่ ความเป็นบุตรและความเป็นพี่น้องกันที่มนุษย์แต่ละคนได้รับการนำให้เข้าสู่...
DC225 เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลที่จะนำเสนอแนวทางของการสอนคำสอนที่แตกต่างกันไปตามความต้องการอายุและสภาพชีวิตที่แตกต่างกันของผู้เข้าร่วม
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลที่จะนำเสนอแนวทางของการสอนคำสอนที่แตกต่างกันไปตามความต้องการอายุและสภาพชีวิตที่แตกต่างกันของผู้เข้าร่วม จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ที่จะต้องเคารพความเป็นจริงในการพัฒนาทางมานุษยวิทยาและเทววิทยาทางการอภิบาลโดยคำนึงถึงวิทยาการทางการศึกษา นี่คือเหตุผลว่า ทำไมการสอนจึงมีความสำคัญในขั้นตอนของการสอนคำสอนเพื่อให้แต่ละขั้นตอนมีความสำคัญและมีความจำเพาะของแต่ละขั้นตอน...

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 "บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง"

เนื้อหาและบทเรียน

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก(CCC)

สารคำสอน 182 (ปีการศึกษา2023)

สารคำสอน 182 (ปีการศึกษา2023)

เรียนคำสอนกับพ่อวัชศิลป์

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์

สถิติการเยี่ยมชม

0.png6.png6.png4.png3.png1.png2.png
วันนี้1251
เมื่อวานนี้3920
สัปดาห์นี้9649
เดือนนี้5171
ทั้งหมด664312

ขณะนี้มีผู้เยี่ยมชม

13
Online

วันพุธ, 02 กรกฎาคม 2568 10:18