การสอนคริสตศาสนธรรมวัยเด็ก
(จากคู่มือการสอนคำสอน 2020 / Directory For Catechesis ข้อ 236-243)
236 ตามธรรมประเพณีแบ่งวัยนี้ออกเป็นสองช่วง ได้แก่ วัยทารกเริ่มแรกหรือก่อนวัยเรียน (early infant or pre-school) และวัยเด็ก (childhood) วัยนี้เริ่มมีความเชื่อศรัทธาและเหตุผล มีพระหรรษทานแห่งการเริ่มต้นในชีวิต มีคุณลักษณะของความเรียบง่าย และพร้อมที่จะยอมรับทุกอย่าง
นักบุญเอากุสตินระบุว่า เด็กในวัยเริ่มแรกและวัยกลางเป็นช่วงเวลาที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (dialogue) กับครูผู้พูดในส่วนลึกภายในของเขา จากแนวโน้มของเด็กในวัยนี้ควรได้รับการช่วยเหลือให้พวกเขาเกิดการรับรู้และพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับพระเจ้าและการเป็นอยู่ของพระองค์ (cf GE 3)
ที่จริงแล้ว ศาสตร์ทางมนุษย์วิทยาและวิชาครูยืนยันว่าเด็ก ๆ สามารถเชื่อมโยงความคิดเรื่องพระเจ้าและคำถามเกี่ยวกับความหมายของชีวิตของพวกเขาที่เกิดขึ้นโดยที่พ่อแม่เองแทบจะไม่ได้ให้ความใส่ใจเกี่ยวกับอบรมศึกษาเรื่องทางศาสนา เด็ก ๆ สามารถตั้งคำถามที่มีความหมายเกี่ยวกับสิ่งสร้าง เอกลักษณ์ของพระเจ้า เหตุผลของความดีและความชั่ว และสามารถชื่นชมยินดีต่อหน้าความล้ำลึกของชีวิตและความรัก
237 การศึกษาพฤติกรรมในแวดวงของสังคมวิทยา จิตวิทยา วิชาครู และการสื่อสารมีส่วนช่วยสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เราเข้าใจเด็ก ๆ อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม วัยเด็กมีชีวิตที่แตกต่างกันไปตามบริบททางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน ที่จริงแล้ว ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม มีอิทธิผลอย่างใหญ่หลวงต่อเด็กและเยาวชน การรับรู้ถึงความต้องการในส่วนของผู้ใหญ่ การเข้าถึงเพื่อความเข้าใจและการดำรงชีวิตของครอบครัว ประสบการณ์จากโรงเรียน ความสัมพันธ์กับสังคมและความสัมพันธ์กับความเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรให้ความสนใจเป็นพิเศษกับเด็กในยุคดิจิตัล(digital natives) ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการหล่อหลอมคุณลักษณะของเด็กทั่วโลก นี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในขอบข่ายทั่วโลก ซึ่งผลที่ตามมายังไม่ปรากฏชัดเจนแต่แน่นอนย่อมมีผลต่อความรู้และแนวทางความสัมพันธ์ของคนรุ่นใหม่ และยังส่งผลต่อขอบเขตแรงกระตุ้นตามธรรมชาติที่มีต่อประสบการณ์ทางศาสนา
238 เรื่องสำคัญที่จะต้องพิจารณาเช่นเดียวกันคือ ยังมีเด็กและเยาวชนจำนวนมากที่ได้รับผลอย่างมากจากความเปราะบางของความสัมพันธ์ในครอบครัวของพวกเขา แม้ว่าบางคนจะมีฐานะการเศรษฐกิจที่ดี แต่บางคนก็ยังคงดำรงชีวิตอยู่ในเงื่อนไขทางสภาพแวดล้อมที่หนักหน่วงด้วยความยากจน ความรุนแรง ความไม่มั่นคง เด็ก ๆ เหล่านี้ ผู้ซึ่งมีความทุกข์ด้วยเหตุผลส่วนตัวที่แตกต่างกันจากการขาดจุดยืนหรือหลักในการดำเนินชีวิต มักจะมีโอกาสน้อยมากที่จะรู้จักและรักพระเจ้าเช่นเดียวกัน ถ้าเป็นได้ชุมชนของพระศาสนจักรควรเปิดการเสวนาพูดคุยกับพ่อแม่ของพวกเขาเพื่อสนับสนุนงานด้านการอบรมสั่งสอน และควรที่จะอยู่ร่วมกับพวกเขาหรือทำตัวให้เข้าถึงได้ง่ายเพื่อทำหน้าที่หรือเติมเต็มบทบาทของพ่อแม่และการฝึกปฏิบัติชีวิตในส่วนที่พวกเขาขาดไป นี่เป็นการประกาศข่าวดีเริ่มแรกและเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการอภิบาลและการสอนคำสอนวัยเด็ก
239 เด็กวัยเริ่มแรก หรือ วัยก่อนเข้าโรงเรียน เป็นช่วงเวลาที่สำคัญเพื่อการค้นพบความจริงเรื่องศาสนา โดยเรียนรู้จากพ่อแม่และจากสภาพแวดล้อม ทัศนคติทั้งการเปิดรับและการยอมรับหรือการปิดกั้น เกลียดชังและการรังเกียจพระเจ้าเริ่มต้นจากวัยนี้
วัยนี้ พวกเขาสามารถเริ่มเรียนรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความเชื่อ เริ่มต้นพบว่าพระเจ้าทรงเป็นพระบิดาผู้สถิตในสวรรค์ รู้จักความดีและและการพิทักษ์คุ้มครอง เรียนรู้วิธีการที่จะเข้าหาพระเจ้าด้วยหัวใจและด้วยท่าทีแห่งความรักและเคารพ รู้จักเรียกพระนามของพระเยซูและพระแม่มารีย์ และเรียนรู้เหตุการณ์สำคัญ ๆ ในชีวิตของพระเยซูเจ้าองค์พระผู้เป็นเจ้า เรียนรู้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ และการแสดงออกภายนอกทางศาสนา เราอย่ามองข้ามคุณข้ามการฉลองพิธีกรรมหรือเทศกาลสำคัญต่าง ๆ เช่น การทำถ้ำพระกุมารในครอบครัวในโอกาสเตรียมฉลองวันคริสตมาส ซึ่งจะทำให้เด็กได้รับประสบการณ์จากคำสอนโดยมีส่วนร่วมโดยตรงกับธรรมล้ำลึกของการรับเอากายมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของเจ้าในองค์พระเยซูเจ้า เมื่อเขาได้สัมผัสบรรยากาศเช่นนี้ตั้งแต่เล็กและยังได้สัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไปในชุมชมแห่งความเชื่อ พวกเขาจะได้เรียนรู้และเริ่มเข้าสู่สังคมทางศาสนา เตรียมพวกเขาเพื่อการพัฒนามโนธรรมทางคุณธรรมคริสตชน ยิ่งกว่านั้นการเรียนคำสอนโดยเฉพาะในช่วงวัยนี้ยังเป็นการประกาศข่าวดีขั้นแรกและประกาศความเชื่อในรูปแบบของการอบรมที่โดดเด่น จงให้ความสำคัญกับความรู้สึกแห่งการไว้วางใจ ความพอเพียง การไม่ถือตัว การรู้จักร้องขอ และการมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นเงื่อนไขประสามนุษย์ที่จะเชื่อมโยงไปก้าวเข้าไปถึงพลังของความรอดพ้นจากบาปของความเชื่อ
240 เด็กวัยกลาง (6-10 ขวบ) ตามขนบธรรมเนียมที่สืบทอดมาช้านานในหลาย ๆ ประเทศ วัยนี้เป็นช่วงเวลาที่เด็ก ๆ เข้าสู่ชีวิตศีลศักดิ์สิทธิ์เริ่มต้นในชีวิตคริสตชนคือศีลล้างบาปเรียบร้อยแล้ว ภาพรวมแนวทางของการเริ่มต้นชีวิตคริสตชนคือการนำเสนอเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ความรอดเพื่อให้เด็กได้นำมาไตร่ตรองเชิงลึก ในฐานะที่เด็กได้โตขึ้นและให้ค่อย ๆ ตระหนักถึงเอกลักษณ์ในฐานะที่ได้รับศีลล้างบาปแล้ว การสอนคำสอนในช่วงเริ่มแรกชีวิตคริสตชนมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความเข้าใจเริ่มแรกถึงความเชื่อ (การประกาศครั้งแรก) และเป็นกระบวนการเริ่มแรกแนะนำเด็กให้เข้าชีวิตของพระศาสนจักรและการเฉลิมฉลองศีลศักดิ์สิทธิ์ การสอนคำสอนจะต้องไม่เป็นแบบส่วน ๆ หรือไม่เป็นชิ้นเป็นอันแต่จะต้องมีการสอนคำสอนอย่างเป็นระบบตามแนวทางในรูปแบบที่เป็นแก่นแท้ในการนำเสนอธรรมล้ำลึกของชีวิตคริสตชนและการปฏิบัติตามมโนธรรม และให้ความสำคัญแก่ปัญหา เงื่อนไขต่าง ๆ คำถามที่มีความหมายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็ก ๆ แท้จริงแล้ว เส้นทางแห่งการเริ่มต้นชีวิตคริสตชน ควรจัดให้มีการสอนคำสอนความจริงของความเชื่อที่เสริมด้วยแบบอย่างชีวิตจริงของชุมชน การมีส่วนร่วมในพิธีกรรม การสัมผัสกับคำพูดของพระเยซูเจ้าในพระคัมภีร์ การเริ่มต้นการปฏิบัติกิจเมตตาแห่งความรัก เป็นหน้าที่ของสภาพระสังฆราชที่จะกำหนดช่วงเวลาในการเริ่มต้นชีวิตคริสตชนและการกำหนดการรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ
241 วัยเด็กยังเป็นช่วงวัยของการเข้าสู่โลกของโรงเรียนระดับประถม ดังนั้นเด็กในวัยนี้จึงเข้าสู่สังคมที่กว้างกว่าครอบครัว จึงมีความเป็นไปได้ที่จะได้พัฒนาความสามารถด้านสติปัญญา เจตคติและความสัมพันธ์ ในหลายๆประเทศได้จัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องศาสนาในโรงเรียน และหลายประเทศได้จัดให้มีการเรียนคำสอนที่เริ่มเข้าสู่ชีวิตคริสตชนและโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ให้ ตามแนวปฏิบัติที่สภาพระสังฆราชท้องถิ่นได้กำหนดไว้ ในบริบทอย่างนี้ความร่วมมือระหว่างครูคำสอนและครูกับกลายเป็นเป็นเรื่องที่สำคัญโดดเด่นในการศึกษาอบรมและเป็นโอกาสที่น่าชื่นชมที่จะทำให้ชุมชนแห่งความเชื่อของบรรดาผู้ใหญ่เป็นที่ประจักษ์แก่เด็ก ๆ
242 ความจำเป็นที่จะกำหนดกระบวนการเริ่มต้นชีวิตคริสตชนให้ถูกต้องสำหรับชีวิตแห่งความเชื่อทั้งหมดแล้วนำไปสู่การพิจารณาการฝึกอบรมคริสตชนสำรอง (catechumente) ในฐานะที่เป็นบ่อเกิดแห่งแรงบันดาลใจที่ขาดเสียไม่ได้ของการจัดการ เป็นการเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะกำหนดให้การเริ่มต้นชีวิตคริสตชนให้สอดคล้องกับรูปแบบการอบรมของการเตรียมคริสตชนสำรอง แต่ด้วยหลักเกณฑ์ที่จะต้องมีการประยุกต์หลักการ เนื้อหา และวิธีการให้เหมาะสำหรับวัยของเด็ก ๆ ลำดับขั้นตอนของกระบวนการเริ่มต้นชีวิตคริสตชนสำหรับเยาวชนที่นำมาจากคริสตชนสำรองจะช่วยจัดเวลา พิธีกรรม และการเข้ามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในโต๊ะแห่งศีลมหาสนิทซึ่งถือเป็นสุดยอดของกระบวนการการเริ่มต้นชีวิตคริสตชน
ในทางปฏิบัติบรรดาครูคำสอนจะต้องยอมรับการปรับเปลี่ยนความคิดเรื่องการสอนคำสอนแบบดั้งเดิมที่มองเด็ก ๆ เป็นเพียงผู้รับการอภิบาล และการให้ความสนใจของชุมชนที่ยอมรับแนวความคิดที่ว่าเราต้องค่อย ๆ ให้การอบรมพวกเขาอย่างมีลำดับขั้นตอนตามความสามารถของพวกเขา ให้มีการส่วนร่วมอย่างแข็งขันทั้งภายในและภายนอกชุมชน แรงบันดาลใจจากการสอนคำสอนแบบเตรียมคริสตชนสำรอง (catechumenal) ยังทำให้เราตระหนักถึงบทบาทสำคัญอันดับแรกของครอบครัวและชุมชนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เป็นขบวนการการประกาศข่าวดีให้แก่กันและกันอย่างแข็งขันท่ามกลางการความร่วมแรงร่วมใจของบุคคลต่าง ๆ ในพระศาสนจักร
243 พระศาสนจักรท้องถิ่นทุกแห่งภายใต้การดำเนินงานสำนักงานและการบริหารจัดการ ต้องมีหน้าทีประเมินสถานการณ์วิถีทางการดำเนินชีวิตของเด็ก ๆ และแนวทางการให้การอบรมศึกษาด้านคำสอนและจัดทำแนวทางที่เหมาะสมเพื่อทำให้เด็ก ๆ ของเราได้สำนึกตนเสมอว่าพวกเขาต่างเป็นลูกของพระเจ้าและเป็นสมาชิกของพระศาสนจักร อยู่ในครอบครัวของพระเจ้า ซึ่งในวันที่อุทิศตนแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าได้มาร่วมกันเพื่อเฉลิมฉลองปัสกาพร้อมหน้ากัน