It’s my style
พระเยซูเจ้าขณะที่ทรงมีพระชนม์อยู่ ได้แสดงให้เราเน้นถึงพระอิริยาบทอันงดงามน่าเลื่อมใส การพบปะติดต่อกับผู้ใดล้วนแต่นำความยินดี นำแง่คิดที่ดีไปให้สู่ผู้นั้น ชีวิตของพระองค์น่าศึกษามาก ดังนั้น เราจะศึกษารูปแบบชีวิตของพระองค์ที่ทรงมีความสัมพันธ์กับประชาชนในแง่ต่าง ๆ
1. เป็นตัวของตัวเอง
ชีวิตของพระเยซูนั้นตั้งแต่วันเด็กจนกระทั่งสิ้นพระชนม์และกลับคืนชีพ เป็นชีวิตที่เปิดเผย เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป “เขาเป็นลูกช่างไม้มิใช่หรือ มีแม่ชื่อมารีย์.....เขาไปได้มีสติปัญญาเช่นนี้มาจากไหน..... เขาไปได้ฤทธิ์เดชเกล่านี้มาจากไหนหนอ” (มธ 14:54-57) พระองค์มิได้ซ่อนเร้น เสแสร้ง หรือปิดบัง ชาติกำเนิดของตัว เมื่อเปโตรประกาศว่าพระเยซูทรงเป็นพระคริสต์ (ผู้ถูกเจิม) พระองค์ก็ตรัสชม (มธ 16:13-20) เมื่อต้องเผชิญหน้ากับปิลาต ปิลาตต้องให้พระเยซูแก้ตัว แต่พระองค์ทรงนิ่ง ไม่ยอมแก้ข้อกล่าวหา เพื่อให้ตนพ้นจากการพิพากษา (มธ 27:14)
พระองค์ไม่เลียนแบบใคร ดังนั้นเราในฐานะที่เป็นลูกของพระเจ้า เป็นฉายาของพระเจ้า เราต้องเป็นตัวของตัวเอง รับใช้พระด้วยรูปแบบของเราเอง เมื่อพบปะติดต่อถึงใครไม่มีการเสแสร้ง ต้องซื่อตรง เปิดเผย พระเจ้าทรงใช้สาวกของพระองค์ตามลักษณะของแต่ละคน ตอนเปโตรติดคุกอยู่ เทวดาของพระเจ้ามาช่วยท่านและกล่าวว่า “ลุกขึ้นเร็วเข้าเถิด....คาดเข็มขัดสวมรองเท้า..... สวมเสื้อผ้าให้เรียบร้อยแล้วตามมา” เทวดาก็ให้เปโตรทำตามลักษณะของเปโตร ไม่ต้องมาทำแบบเทวดา
2. ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชน
นี่เป็นหลักการอวตาลมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระเยซู พระองค์เสด็จมาเพื่อจะได้เป็นคนหนึ่งในท่ามกลางพวกเราอย่างแท้จริง พระองค์บัญชาให้เราเป็นหนึ่งเดียวกับทุกคน เปิดตัวเองให้คนอื่นได้รับรู้ว่าเรามีร้อนมีหนาว มีหัวเราะร้องไห้เช่นเดียวกับทุกคน
พระเยซูทรงเรียกร้องให้เราร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเพื่อนดังเช่นที่พระองค์ทรงปฏิบัติ “สุนัขจิ้งจอกยังมีโพรง ฝูงนกยังมีรังอาศัย แต่บุตรมนุษย์ ไม่มีที่จะพักผ่อนหลับนอน” (มธ 8:20) เมื่อสาวกเผชิญกับพายุขณะเดินทางอยู่ในเรือ พระองค์ก็ทรงประทับอยู่ด้วย (มธ 8:23) ยามยินดี พระองค์ก็เสด็จไปร่วม เช่น งานเลี้ยงที่คานา ยามทุกข์ พระองค์ก็เสด็จเยี่ยม เสียใจ พระองค์ก็กันแสง
3. รับฟังประชาชน
พระองค์มิได้ทรงปิดหูปิดตา กระทำภารกิจของพระองค์เพื่อให้สำเร็จไปตามแผนการของพระบิดา โดยที่มิได้รับฟังหรือรับรู้ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนและเพื่อนร่วมงาน การฟังของพระองค์ไม่ได้ฟังเฉพาะหูเท่านั้น แต่ด้วยสายตาและเป็นต้นฟังด้วยจิตใจ พระองค์มักจะตรัสเสมอ ๆ ว่า ใครมีหูก็ฟังเอาเถิด เช่นเดียวกัน เพราะพระองค์เป็นนักฟังที่ดี (ลก 3:47) เล่าว่า พระเยซูกำลังฟังบรรดาอาจารย์สอนแล้วซักถาม พระองค์ยังคงสอนเรื่องการฟังอีกในเรื่องผู้หว่านว่า เมล็ดพืชที่ตกในดินดีได้แก่ผู้ที่ฟังพระโอวาทแล้ว รับพระโอวาทไว้ในใจอย่างดีและซื่อสัตย์ซึ่งใน ลูกา 8:15 ใน ลูกา 8:18 จงตั้งใจฟังให้ดี พระผู้ที่ฟังแล้วเข้าใจก็ยิ่งจะเข้าใจมากยิ่งขึ้น แต่ผู้ที่รู้งู ๆ ปลา ๆ ซิ ในไม่ช้าสิ่งที่ตนรู้ก็จะต้องลางเลือนเสื่อมสูญไป และที่สำคัญยิ่ง “คนที่ฟังแล้วปฏิบัติตามก็เป็นมารดาและพี่น้องของพระองค์” ใน ลูกา 8:21
เมื่อทรงสอนเรื่องผู้หว่าน บรรดาศิษย์ไม่เข้าใจก็ทูลถาม พระองค์ทรงรับฟังและตรัสตอบเมื่อมีพายุ พวกศิษย์กลัว ขอให้พระองค์ช่วย (มก 4.35)
4. ยอมรับผู้อื่นอย่างที่เขาเป็น
กี่ครั้งกี่หนที่เราประพฤติเช่นยอห์น บัปติสที่กระทำต่อบุคคลในสมัยนั้น เราพยายามสอน แก้ไขความบกพร่อง ชี้ความผิดของผู้คนและโมโหในบางครั้งกับความผิดของบุคคลนั้น ๆ แต่พระเยซูมีรูปแบบความสัมพันธ์ที่ต่างออกไป พระองค์เชื่อในตัวประชาชน ยอมรับประชาชน พระองค์ทรงเรียกชาวประมงให้มาเป็นสานุศิษย์ พระองค์ทรงรักโสเภณี ฟาริสี ชาวสะมาเรีย ผู้คนต่างพบกับความหวังใหม่ เพื่อได้มามีความสัมพันธ์กับพระเยซู
5. ไม่พยายามเปลี่ยนแปลงใคร
เมื่อชาวนาซาเร็ธไม่ต้อนรับพระองค์ พระองค์ไม่ได้แสดงปฏิหาริย์ให้พวกเขาทิ้งแล้วยอมรับพระองค์ พระองค์ให้อิสรภาพในการเลือกเช่นกันเมื่อทรงรู้ว่า ยูดาสจะทรยศพระองค์มิได้ห้ามปราม แต่สุดท้ายยูดาสก็รู้ตัวว่าตนผิด กับมารีอามักดาเลนา กับซัคเคว ก็เช่นกัน พระองค์มิได้พบกับเขาเพื่อการเปลี่ยนแปล แต่จากความรัก ความสนใจที่พระองค์ให้กับพวกเขา ทำให้เขาเปลี่ยนแปลงตนเอง เช่นกันกับเรา เราอย่าทำตัวเป็นศาลโลกที่ต้องการให้ทุกคนเปลี่ยนแปลงตนเอง เช่นกันกับเรา เราอย่าทำตัวเป็นศาลโลกที่ต้องการให้ทุกคนเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของเรา ไม่มีใครยอมให้ผู้อื่นอยู่เหนือใคร แต่ทุกคนต้องการมีเพื่อน มิใช่นาย
6. ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
อีกลักษณะหนึ่งของพระองค์ คือการขอความช่วยเหลือ ไม่มีใครเก่งไปหมดทุกอย่าง การขอความช่วยเหลือไม่ใช่เป็นการแสดงความอ่อนแอ ความบกพร่อง แต่เป็นการแสดงความเคารพ ความสุภาพ ลักษณะเช่นนี้ควรเป็นของผู้นำที่ดีในยุคปัจจุบัน ถ้าเราขอด้วยใจจริง เราจะเกิดความสัมพันธ์ที่ดี อย่างที่เราไม่เคยประสบมาก่อนเลยในชีวิตก็ได้ ตัวอย่างการขอของพระเยซู เช่น ตอนทวีขนมปังและปลา (มก 8.5) ขอให้อยู่เป็นเพื่อน “จงเฝ้าอยู่กับฉันที่นี่ ความทุกข์ในใจของฉันใหญ่หลวงนัก” (มธ 26.38) ขอเหรียญ (มธ 22.19) ขอน้ำจากหญิงชาวสะมาเรีย (ยน 4.8)
7. ให้ในสิ่งที่คนต้องการ
จงให้ในสิ่งที่คนเขาต้องการ ไม่ใช่ให้ในสิ่งที่เราต้องการ สังเกตให้ดีว่าพระเยซูทรงให้สิ่งต่าง ๆ ตรงตามความต้องการของคนนั้น ๆ แม้กระทั่งอัศจรรย์ต่าง ๆ คนเหล่านั้นมักจะร้องขอก่อน แล้วพระองค์ทรงตอบสนอง เช่น หญิงที่ตกโลหิตมาแตะชายเสื้อพระเยซู (มธ 9.18) เมื่อส่งศิษย์ไปเผยแพร่พระโอวาทก็ทรงสอนว่า ถ้าผู้ใดต้อนรับท่าน ก็จงอวยพรเขา แต่ถ้าเขาไม่ต้องรับก็อย่าอวยพรเลย ถ้าผู้ใดไม่รับหรือฟังคำสอน ก็จงออกมาจากบ้านนั้นหรือเมืองนั้น (มธ 10.13-14)
8. ให้ประชาชนร่วมตัดสินใจ
เช่นกัน การทำงานของพระองค์มิได้ทรงกระทำตามลำพัง แน่นอนพระองค์ทรงทำภารกิจของพระองค์ร่วมกับพระบิดาและพระจิต แต่ในโลกนี้พระองค์ทรงทำร่วมกับอัครสาวก กับผู้ทำงานคนอื่น ๆ อัศจรรย์ที่ทรงกระทำก็โดยอาศัยผู้คนที่อุ้มกันมา หามกันมา ต้องมีคนบอก คนเสนอ ทั้ง ๆ ที่พระองค์รู้ดีอยู่แล้ว ลักษณะการร่วมตัดสินใจกันนี้ เป็นลักษณะของคนรุ่นใหม่โดยแท้จริง