บทที่ 18 อย่าปลงใจในความอุลามก
จุดมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้เรียนทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว ปราศจากความนึกคิดที่ไม่บริสุทธิ์ อันจะส่งผลให้มีชีวิตที่สดใส ร่าเริง
ขั้นที่ 1 กิจกรรม
ครูนำกระจกสีต่างๆ เช่น สีดำ สีแดง สีเหลือง สีเขียว ฯลฯ มาให้ผู้เรียนลองมองสิ่งต่างๆ
ครูถามผู้เรียนว่า
- เห็นอะไรบ้าง ? มีลักษณะอย่างไร ?
- ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
ครูนำกระจกใสมาให้ผู้เรียนส่องดูสิ่งของต่างๆ
ครูถามผู้เรียนว่า
- เห็นอะไรบ้าง ? มีลักษณะอย่างไร ?
- แตกต่างจากกระจกสีอย่างไร ? ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
ขั้นที่ 2 วิเคราะห์
- สีของกระจกเป็นตัวกั้นและปรุงแต่ง ทำให้ตาของเรามองอะไรไม่ชัด และเปลี่ยนลักษณะไปตามสีนั้นๆ
- ความใสไม่เป็นตัวกั้นหรือปรุงแต่ง ทำให้ตาของเรามองอะไรชัดเจน เหมือนของจริง
สรุป ถ้าตาเห็นอะไรผิดเพี้ยนไป ก็จะส่งผลถึงชีวิตด้วย เช่น ตามองพื้นสูงๆ ต่ำๆ เห็นเป็นพื้นที่ราบเรียบเมื่อเดินไปก็จะเกิดสะดุดล้มเป็นอันตรายได้
ตาที่สุกใส มองอะไรก็เป็นก็เป็นอย่างนั้น ทำให้ชีวิตสอดคล้องกับความเป็นจริง ก็จะไม่เกิด
ขั้นที่ 3 คำสอน
- ที่พูดมาข้างต้นนี้เป็นตาของร่างกาย แต่เรายังมีตาของวิญญาณ หรือจิตใจ อีกด้วย ซึ่งก็มีความสำคัญไม่แพ้ตาของร่างกายหรือจะมากกว่าอีกด้วย เพราะตาของวิญญาณ หรือจิตใจ นี้มองเห็นอะไรไม่ชัดเจน หรือผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง อาจจะนำชีวิตวิญญาณหือจิตใจ ไปสู่การกระทำที่ผิด คือบาปได้ และเราก็ทราบดีว่าผลบาปนั้นร้ายแรงเพียงไร ตาของวิญญาณ หรือจิตใจ ที่กล่าวมานี้ก็ได้แก่ ความคิด ความปรารถนา ความอยาก ความใคร่ทั้งหลาย ที่ครุกกรุ่นอยู่ภายในใจ
- พระบัญญัติของพระเป็นเจ้าประการที่ 9 มีบัญญัติไว้ว่า “อย่าปลงใจในความอุลามก” หมายความว่า เราจะต้องควบคุมความคิด ความปรารถนา ความอยาก ความใคร่ ทั้งหลายแหล่ที่มีอยู่ในใจเราไว้ อย่าให้ออกนอกลู่นอกทาง เป็นต้นในเรื่องเพศ พระบัญญัติประการที่ 9 นี้ จึงคู่กันกับพระบัญญัติประการที่ 6 ดังนี้คือ พระบัญญัติประการที่ 6 บัญญัติว่า “อย่าทำอุลามก” คือ ห้าม “การกระทำ” ที่ปิดทางเพศ และสั่งให้เคารพในศักดิ์ศรีและความสูงส่งของเพศในแผนการของพระเจ้า ส่วนพระบัญญัติประการที่ 9 บัญญัติว่า “อย่าปลงใจในความอุลามก” คือ ห้าม “ความคิด ความปรารถนา” ที่ผิดทางเพศ หมายความว่า มักระทั่งความคิดปรารถนาใจหัวใจ ที่ผิดทางเพศเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะความคิดความปรารถนาเช่นนี้ทำให้จิตใจมืดมัว ผิดต่อศีลธรรม และมักจะนำไปสู่การกระทำผิดในภายนอกในที่สุด
- พระเยซูคริสต์ตรัสว่า “ผู้ใดมองผู้หญิงด้วยกำหนัดหัวใจ ผู้นั้นก็ล่วงประเวณีในใจกับผู้หญิงอยู่แล้ว” (มธ. 5,28) และการล่วงประเวณีก็คือความผิด แม้จะเป็นในใจก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะเมื่อมีกำหนัด หรือความปรารถนาที่ผิดทางเพศเกิดขึ้น ก็มีเจตนา หรือ “ปลงใจ” ตามมา ความผิดหรือบาปอยู่ที่ “ปลงใจ” นี่เอง
ที่จริง “กำหนัด” หรือความปรารถนาทางเพศนี้ ถ้าอยู่ในขอบเขตที่ถูกต้อง เช่น กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่คู่ครองของตนแต่ก็มิได้ปลงใจ กลับพยายามควบคุม บังคับ ละทิ้งกำหนัดนั้น ก็ไม่ถือว่าเป็นความผิด แถมยังถือว่าเป็นบุญเป็นกุศลอีกด้วย
- กษัตริย์ดาวิดเป็นตัวอย่างที่ต้องจดจำ พระคัมภีร์เล่าว่า พระองค์ทอดพระเนตรเห็นสตรีนางหนึ่ง กำลังอาบน้ำอยู่ทรวดทรงองค์เอวสะดุดตาสะดุดใจยิ่งนัก จึงเกดกำหนัดขึ้นในหัวใจ อยากจะได้นางมาเป็นภรรยา จึงให้คนไปสืบดูก็ได้ความว่านางนั้นชื่อบัทเชบาแต่งงานแล้ว สามีชื่ออุเลอาร์ เมื่อทราบดังนั้นแล้วแทบที่กษัตริย์ดาวิดจะสลัดกำหนัดทิ้งไปเพราะเป็นสิ่งไม่ถูกต้องที่จะไปยุ่งเกี่ยวกับภรรยาของคนอื่น กลับปลงใจในความกำหนัดนั้น สั่งให้นำนางบัทเชบาเข้าวังแล้วออกอุบายให้แม่ทัพโยอาบแต่งตั้งอุรีอารห์สามีของนางเป็นทหารประจำแนวรบที่อันตรายที่สุด เพื่อให้อุรีอาห์ตายด้วยดาบของศัตรูและก็สำเร็จตามอุบายนั้น ในสายตาของคนทั่วไปจึงเห็นกษัตริย์ดาวิดได้นางบัทเชบานั้น ในสายตาของคนทั่วไปจึงเห็นกษัตริย์ดาวิดได้นางบัทเชบามาเป็นภรรยาด้วยความชอบธรรม เพราะสามีของนางตายแล้ว (เทียบ 2 ซมอ. 11,1 – 17)
แต่พระเป็นเจ้าไม่เห็นเช่นนั้น พระองค์ทรงใช้ประกาศกนาธันไปกล่าวโทษกษัตริย์ดาวิด และประกาศพระอาญาของพระองค์ “ทำไมเจ้าดูหมิ่นพระวาจาของพระเจ้า กระทำสิ่งที่ชั่วช้าในสายพระเนตรของพระองค์ เจ้าได้ฆ่าอุรีอาห์ด้วยดาบ เอาภรรยาของเขามาเป็นภรรยาของเจ้า เพราะฉะนั้นดาบนั้นจะไม่คลาดไปจากราชวงศ์ของเจ้า..........ดูเถิด เราจะให้เหตุร้ายเกิดขึ้นกับเจ้า..........เราจะเอาภรรยาของเจ้าไปยกให้แก่เพื่อนบ้านของเจ้าต่อหน้าต่อตาเจ้า เขาจะนอนร่วมกับภรรยาเจ้าอย่างเปิดเผย เจ้าทำการนี้อย่างลับๆ แต่เราจะทำการนี้ต่อหน้าอิสราแอลทั้งสิ้นและอย่างเปิดเผย” (2 ซมอ. 12,9 – 12) กษัตริย์ดาวิดเป็นทุกข์ กลับใจ พระเป็นเจ้าจึงลดหย่อนผ่อนโทษลงมาเหลือเพียง ทารกที่เกิดจากนางบัทเชบาจะเสียชีวิต และก็เป็นไปตามนั้น
- ให้ความคิด ความปรารถนาแห่งหัวใจของเราสะอาด บริสุทธิ์สุกใส ปราศจากไฝฝ้าราคี โดยปฏิบัติการสวดมนต์ภาวนา การมัธยัสถ์ตน การควบคุมกายใจ เป็นต้น
ขั้นที่ 4 ปฏิบัติ
- ข้อควรจำ
- อย่าปลงใจในความอุลามก
- ความคิด ความปรารถนาที่ผิดทางเพศ ทำให้ตาของวิญญาณมืดมัว ไม่เห็นผิดเห็นชอบไม่ควบคุมก็จะพาวิญญาณถลำในบาป
- ความคิด ความปรารถนาที่ผิดทางเพศ ถ้าพยายามควบคุม บงคับ ละทิ้ง ไม่ปลงใจตาม ก็ไม่ถือว่าเป็นความผิด แถมยังเป็นบุญเป็นกุศลอีกด้วย
- เราสามารถรักษาความคิด ความปรารถนาแห่งหัวใจของของเราให้บริสุทธิ์ สุกใสได้ โดย สวดภาวนา มัธยัสถ์ตน ควบคุมกายใจของตน เป็นต้น
- กิจกรรม ร้องเพลง “หลักยึดเหนี่ยว”
หลักยึดเหนี่ยว
- แม้ว่าคลื่นใหญ่จะซัดสาดมา ซัดโถมชีวาแรงกล้ายิ่งกว่าครั้งใด
พายุกระหน่ำซ้ำเติมดวงหทัย ฉันไม่หวั่นไหวทรงชัยปกป้องคุ้มกัน (ไม่มีวันจืดจางร้างไป)
- แม้อันตรายดูคล้ายดั่งโจร เข้ามาจู่โจมมิเคยหวั่นชีวัน
ท้องฟ้ามืดมัวสลัวเร็วพลัน แต่จอมราชันย์เหนือกว่าสิ่งร้ายมากมาย
- เรือน้อยลอยตามกระแสน้ำเชี่ยว หาที่ยึดเหนี่ยวสิ่งเดียวที่เรายึดได้
คือพระคริสต์ช่วยเราพ้นอันตราย สิ่งร้ายทั้งหลายอย่าหมายเมื่อมีพระองค์ (ผู้ดำรงยืนยงนิรันดร์)
- แม้ความลำบากท่วมท้นวิญญาณ เข้ามาเผาผลาญผลาญใจฉันให้ลุ่มหลง
แต่ชีวิตใกล้ชิดพระคริสต์มั่นคง สมเจตจำนงฉันสุขด้วยความหวังเอย