ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCCESE

บทที่  16 อย่าลักขโมย

จุกมุ่งหมาย     เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่อสิทธิและหน้าที่ขั้นพื้นฐานของมนุษย์  เคารพสิทธิในทรัพย์สินของผู้อื่น  และรู้จักหน้าที่ที่จะต้องแบ่งปันทรัพย์สินของตนแก่ผู้ที่ขัดสนต้องการด้วย

ขั้นที่ 1  กิจกรรม

ครูเล่าเรื่องเหล่านี้ให้ฟัง

เลี้ยงแบบไหนลูกถึงเป็นโจร

           ปกตะธรรมดาพ่อแม่ย่อมรักลูก  แต่ต้องรักอย่างมีเหตุผล  ไม่ใช่รักจนหลง  ลูกทำอะไรดูดีไปเสียทุกอย่าง  ลูกก็จะเสียคนง่ายหรือเข้มงวดนัก  ลูกก็ประสาทกิน  ควรเดินสายกลางเป็นดีที่สุด  ที่พูดเช่นนี้เพราะไม่อย่าให้พ่อแม่แต่ละคนต้องเสียคนที่รักไปโดยไม่ตั้งใจ

           ขอยกตัวอย่าง  ป่อง  (นามสมมติ)  เป็นลูกชายคนเล็กที่ฉลาดเรียนหนังสือเก่ง  และมีหัวทางอิเล็กทรอนิกส์  ป่องจะเก่งมาก  เป็นความเก่งทางธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนด้วยซ้ำไป

ป่องสามารถเปิดตู้เซฟทุกชนิดได้  แม้กระทั่งรถคันไหนถูกถอดชิ้นส่วน  หรือไม่มีกุญแจ  ป่องสามารถขับรถคันนั้นออกไปได้  ทั่งๆที่ป่องอายุแค่  13  ขวบ

           แม่และพี่ๆ  รกและเอ็นดูป่องมาก  มีหลายครั้งที่ป่องแอบหยิบเงินแม่และพี่โดยไม่รู้ตัว  แม่และพี่ๆก็ขำ.......มีการต่อว่ากันพอเหม็นปากเหม็นคอกันนิดหน่อย  หลังจากนั้นก็รักกันเหมือนปาท่องโก๋แบบเดิม

          ล่าสุดป่องเซ็นเช็คลายเซ็นเหมือนพ่อเปี๊ยบ  ไปเบิกเงินธนาคารไปใช้  ธนาคารเห็นเป็นลูกชายเลยจ่ายให้  ป่องเลยเอาเงินไปซื้อรถขับชนเล่นอย่างสบาย  ตอนหลังพ่อรู้ว่าป่องแอบปลอมลายเซ็น  พ่อเลยโกรธขาดใจ  ป่องเลยหนีออกจากบ้านไปอยู่กันเพื่อนที่ไม่เอาไหน  ในที่สุดป่องก็ถูกจับฐานเป็นขโมย  พี่สาวจึงชวนผู้เขียนไปด้วย  ภาพที่เห็นก็คือถูกจับทั้งแก๊ง  มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่  และมีป่องเป็นเด็กเพียงคนเดียวในแก๊ง  เล่นเอาพี่สาวสงสารเข้าไส้  แล้วหันมาบอกผู้เขียนว่า  “ดูซิ  ผู้ใหญ่มันทำได้  ชักชวนเด็กให้เสียคน”  ตำรวจกลับบอกว่า  “ผู้ใหญ่ทั้งสี่คนบอกว่าเด็กคนนี้เป็นหัวหน้าชกชวนให้เข้าเป็นโจรจนหมดอนาคตต่างหากล่ะ”

            คำพังเพยโบราณจึงใช้กับกรณีนี้ไม่ได้  เพราะแทนที่จะเป็น  “คบเด็กสร้างบ้าน”  กลายเป็น  “คบเด็กเข้าคุก”  ไปเสียฉิบ

(โดย  สุพัตรา  สุภาพ  จาก  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ)

ขั้นที่ 2  วิเคราะห์

ครูถามความรู้สึกของผู้เรียน

  • รู้สึกอย่างไรเมื่อได้ฟังเรื่องนี้ ?
  • ป่องเป็นคนอย่างไรในตอนแรก ?    ต่อมากลายเป็นคนอย่างไร  ?
  • อะไรเป็นสาเหตุให้ป่องเสียคน ?

มีสิ่งที่เป็นจุกเด่นของเรื่องนี้คือ

  • การขโมย ซึ่งเริ่มตั้งแต่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ จนกลายเป็นสิ่งใหญ่โตในภายหลัง
  • การปล่อยปละละเลยของผู้ใหญ่โดยคิดว่าเป็นสิ่งเล็กน้อย ยิ่งกว่านั้นยังสนับสนุนกลายๆ หรือให้ท้ายอีกด้วย

สรุป     “ใครที่ซื่อสัตย์ในสิ่งเล็กน้อย  จะซื่อสัตย์ในสิ่งใหญ่โตด้วย  และใครที่ไม่ซื่อสัตย์ในสิ่งเล็กน้อย  ก็จะไม่ซื่อสัตย์ในสิ่งใหญ่โตด้วยเช่นกัน”  (ลก. 16,10)

ขั้นที่ 3  คำสอน

          มนุษย์ทุกคนมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของของตน  สิทธินี้เกิดมาจากธรรมชาติ  เพื่อให้มนุษย์มีสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ได้  จึงไม่มีใครบังอาจล่วงละเมิดสิทธิประการนี้  พระเป็นเจ้าผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมาก็ได้ประทานพระบัญญัติประการที่  7    เพื่อนคุ้มครองสิทธิของมนุษย์คือ  “อย่าลักขโมย”  การลักขโมยก็คือการยึดเอาทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตัว  โดยที่เจ้าของไม่ยินยอมเต็มใจ  ไม่ว่าจะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม  ต่อไปนี้ก็อยู่ในข่ายลักขโมยทั้งสิ้น  เช่น  การไม่คืนสิ่งของที่ยืมมา  การเก็บสิ่งของได้แล้วไม่คืนเจ้าของ  การฉ้อโกง  การไม่จ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างตามความยุติธรรม  การค่ากำไรเกินควร  การฉ้อราษฎรบังหลวง  การเบียดบังเวลาทำงานไปทำอย่างอื่น  การเก็บภาษีดอกเบี้ยเกินควร  การปลอมแปลงเช็ค ตั๋วแลกเงิน  และเดกสารเงินอื่นๆ  การทำลายทรัพย์สินส่วนบุคคลและส่วนรวม

ที่ว่าอยู่ในข่ายลักขโมยก็เพราะว่า  การกระทำดังกล่าวล้วนเป็นการล่วงละเมิดสิทธิของผู้คนไม่ว่าจะเป็นส่วนตัวหรือส่วนรวมก็ตาม

        ภายใต้พระบัญญัติประการที่  7   ที่ห้ามการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น  โดยการลักขโมยนี้  ยังกินความถึงการห้ามทำลายทรัพยากรในธรรมชาติด้วย  เช่น  สัตว์  ต้นไม้  อากาศ  น้ำ  สิ่งของอื่นๆ  ทั้งนี้ก็เพราะพระเป็นเจ้าทรงสร้างสิ่งเหล่านี้มา  เพื่อประโยชน์ของมนุษย์ชาติโดยส่วนรวม  ไม่มีใครมีสิทธิที่จะยึดหรือกระทำต่อสิ่งเหล่านี้เพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว    โดยไม่คำนึงถึงผลเสียหายต่อผู้อื่น  หรือเหมือนกับว่าตนเป็นเจ้าของสิ่งเหล่านี้แต่เพียงผู้เดียว  ตัวอย่างเช่น  การทำลายป่า  ซึ่งส่งผลร้ายคือ  ทำให้เกิดความแห้งแล้ง  เพราะป่าเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำสายต่างๆ  ทั้งยังทำลายพงษ์พันธุ์สัตว์นานาชนิด  เพราะป่าเป็นที่พักพิงและเป็นแหล่งอาหารเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ให้ดำรงอยู่ได้   พระเป็นเจ้าทรงสร้างสัตว์ขึ้นมาเพื่อเป็นเพื่อนร่วมโลกกับมนุษย์  และเป็นประโยชน์ให้มนุษย์ใช้สอยในการยังชีพ  มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากสัตว์ได้  แต่มนุษย์ไม่มีสิทธิที่จะทำลายสัตว์เหล่านั้น  นอกจากนั้นการทำให้เกิดมลภาวะทางน้ำก็ดี  ทางอากาศก็ดี  ล้วนเป็นการละเมิดสิทธิของส่วนรวมทั้งนั้น

       เพียงแต่ไม่ลักขโมย  คือไม่ละเมิดสิทธิในทรัพย์สิ่งของของผู้อื่น  หรือของส่วนรวม  ยังไม่พอ  พระบัญญัติประการที่  7    ยังสั่งให้เราแบ่งปันทรัพย์สิ่งของที่เรามีแก่ผู้ที่ต้องการและขัดสนด้วย  สังคายนาวาติกันที่  2    กล่าวกำชับไว้ว่า  “มนุษย์จะต้องเอาใจใส่ใช้สิ่งของที่ตนมีมิใช่เพื่อประโยชน์สุขของตนเพียงฝ่ายเดียว  แต่จะต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่คนอื่นๆ  ด้วย...........เพราะทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับปันส่วนทรัพย์สิ่งของโลกนี้ตามควรแต่สถานะ  บรรดาปิตาจารย์และนักปราชญ์ของพระศาสนจักรจึงยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า  มนุษย์มิใช่เพียงแบ่งปันทรัพย์สิ่งของที่ตนมีอย่างฟุ่มเฟือยให้แก่คนยากจนขัดสนเท่านั้น  แต่มีหน้าที่ต้องแบ่งปันแม้กระทั่งทรัพย์สิ่งของที่ตนจำเป็นต้องใช้ให้แก่เขาอีกด้วย.......”  จงเลี้ยงคนที่กำลังจะหิวตาย  เพราะถ้าท่านไม่เลี้ยงเขา  ก็เท่ากับท่านฆ่าเขา”  พระศาสนจักรในโลกปัจจุบัน  ข้อ  69)

         พระบัญญัติประการที่  7    ยังสั่งให้ซื่อสัตย์ต่อ  สัญญา  ข้อตกลงเกี่ยวกับการซื้อขาย  เช่า  จ้าง  แลกเปลี่ยน  หนี้สิน  เพราะการไม่ซื่อสัตย์  คือไม่ถือตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้นจะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิทธิอันพึงมีของคู่กรณี  ในกรณีที่มีการบิดพลิ้วไม่ซื่อสัตย์  ฝ่ายที่ผิดสัญญาหรือข้อตกลงมีหน้าที่ที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง      ศักเคียสกล่าวกับพระเยซูว่า  “ข้าพเจ้าขอยกทรัพย์สิ่งของของข้าพเจ้าครึ่งหนึ่งให้แก่คนยากจน  และหากข้าพเจ้าได้ฉ้อโกงใครเขามา  ข้าพเจ้าจะชดใช้ให้สี่เท่า”  และพระเยซูคริสต์ก็ตรัสว่า  “วันนี้ความรอดมาถึงบ้านนี้แล้ว............”  (ลก. 19,8 – 9)

ขั้นที่ 4  ปฏิบัติ

  • ข้อควรจำ
  1. อย่าลักขโมย
  2. “ใครที่ซื่อสัตย์ในสิ่งเล็กน้อย จะซื่อสัตย์ในสิ่งใหญ่โตด้วย  และใครที่ไม่ซื่อสัตย์ในสิ่งเล็กน้อย  ก็จะไม่ซื่อสัตย์ในสิ่งใหญ่โตด้วยเช่นกัน”  (ลก. 16,10)
  3. พระเป็นเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา และประทานสิทธิแก่มนุษย์ที่จะมีทรัพย์สิ่งของจำเป็น  หรือเป็นประโยชน์แก่การดำรงชีวิตเป็นของตนเอง  ซึ่งใครจะล่วงละเมิดมิได้
  4. ทรัพยากรธรรมชาติเป็นของส่วนรวม ใครทำลายทรัพยากรธรรมชาติก็ล่วงละเมิดสิทธิของของส่วนรวม
  5. มนุษย์มิใช่เพียงต้องแบ่งปันทรัพย์สิ่งของที่ตนมีอย่างฟุ่มเฟือยให้แก่คนอยากจนขัดสนเท่านั้น แต่มีหน้าที่ต้องแบ่งปันแม้กระทั่งทรัพย์สิ่งของที่ตนจำเป็นต้องมีต้องใช้ให้แก่เขาอีกด้วย
  • กิจกรรม ประดิษฐ์อักษร  “ซื่อกินไม่หมด  คดกินไม่นาน”  ลงในกรอบ  ตกแต่งระบายสีให้สวยงาม  เสร็จแล้วนำมาติดแสดงหน้าชั้น

ร้องเพลง  “ความซื่อสัตย์”  พร้อมท่าทางประกอบ

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์