ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCESE

การทำแท้ง (Abortion)การทำแท้ง (Abortion)
ตามคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก
        
เนื่องจากข่าวเรื่องการพบซากทารกที่ได้มาจากการทำแท้งในที่เก็บศพของวัดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ทำให้สังคมเกิดความตระหนักถึงปัญหาทางสังคมที่กำลังเกิดขึ้นในจริงในบ้านเมืองของเรา การทำแท้งเป็นพฤติกรรมที่ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นในสมัยของเราเท่านั้น แต่จากหลักฐานคำสอนของพระศาสนจักรคริสต์ฉบับเก่าแก่ชื่อดีดาเคที่เขียนขึ้นในประมาณศตวรรษ 2-3 พบว่ามีคำสอนที่ห้ามการทำแท้งปรากฏอยู่แล้ว และยังไม่มีหลักฐานในสมัยใดที่จะยินยอมให้มีการทำแท้งได้อย่างเสรี คำสอนเรื่องการห้ามทำแท้งนี้ยังคงตราไว้ในบทบัญญัติของศาสนาคริสต์คาทอลิกในหมวดพระบัญญัติ 10 ประการ ซึ่งรายละเอียดอยู่ในประการที่ 5 คือ “อย่าฆ่าคน” โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

เราต้องให้ความเคารพและปกป้องทุกชีวิต เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ
            (2270) ชีวิตมนุษย์นั้นต้องได้รับความเคารพและปกป้องอย่างเต็มที่ ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ ตั้งแต่วินาทีแรกที่มีชีวิตมนุษย์จะต้องได้รับการยอมรับว่า เขามีสิทธิของความเป็นบุคคล ซึ่งเราไม่สามารถที่จะละเมิดสิทธิของชีวิตที่บริสุทธิ์นั้นได้ 

            เราได้รู้จักเจ้าก่อนที่จะสร้างร่างตัวเจ้าในครรภ์มารดา ก่อนที่เจ้าออกมาสู่แสงสว่างเราก็ได้แต่งตั้งเจ้าไว้แล้ว (ยรม.1:15, เทียบ โยบ.10:8-12; สดด.22:10-11) 

            เมื่อข้าพระองค์ได้ถูกสร้างขึ้นในที่เร้นลับ ก่อร่างเป็นตัวตนขึ้นในส่วนลึกแห่งแผ่นดินโลก กระดูกโครงร่างของข้าพระองค์ก็มิได้ซ่อนเร้นไว้ไปจากข้าพระองค์ (สดด.139:15)

การทำแท้งทุกกรณีเป็นความผิดทางศีลธรรม
             (2271) ตั้งแต่ศตวรรษแรก พระศาสนจักรยืนยันว่าการทำแท้งทุกกรณีนั้นเป็นความชั่วร้ายทางศีลธรรม คำสั่งสอนนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และยังคงไม่เปลี่ยนแปลง การทำแท้งโดยตรง กล่าวคือ เป็นการทำแท้งโดยจงใจทั้งในด้านเป้าหมายและวิธีการซึ่งถือว่าเป็นการขัดต่อกฎทางศีลธรรมในข้อฉกรรจ์
อย่าฆ่าเด็กทารกด้วยการทำแท้ง และอย่าทำลายเขาภายหลังการเกิด (ดีดาเค 2,2) 

             พระเป็นเจ้าซึ่งเป็นเจ้านายชีวิต ได้มอบให้มนุษย์มีหน้าที่อันประเสริฐต้องรักษาชีวิต และมนุษย์ต้องถือหน้าที่นั้นด้วยวิธีอันเหมาะสมกับมนุษย์  เพราะฉะนั้นชีวิตต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองด้วยความเอาใจใส่ยิ่ง ตั้งแต่เวลาปฏิสนธิทีเดียว การทำแท้ง และการฆ่าทารกเป็นอาชญากรรมอันน่าเกลียดน่าชังที่สุด (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 51)

ใครให้ความร่วมมือหรือเข้าเกี่ยวข้องก็มีความผิดด้วย
              (2272) การให้ความร่วมมือทำแท้งอย่างเปิดเผยถือเป็นความผิดหนัก พระศาสนจักรลงโทษด้วยโทษทางกฎหมายของพระศาสนจักร ให้ขับออกจากพระศาสนจักรเพราะอาชญากรรมนี้ขัดต่อชีวิตมนุษย์  "ใครจัดให้มีการทำแท้ง ก็ได้รับโทษให้ถูกขับออกจากพระศาสนจักรเพราะผลของการทำแท้ง" (กฎหมายพระศาสนจักร ม.1398) "เพราะข้อเท็จจริงเดียวกันในการได้ประกอบอาชญากรรมนั้น" (ม.1314) และเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายพระศาสนจักรกำหนดไว้ (ม.1323-1324) พระศาสนจักรไม่มีเจตนาที่จะผ่อนปรนขอบข่ายของความเมตตากรุณาในลักษณะเช่นนั้น พระศาสนจักรทำให้เป็นประจักษ์แก่พ่อแม่และต่อสังคมทั้งมวลถึงความรุนแรงหนักหน่วงของอาชญากรรมที่มีการประกอบขึ้นความเสียหายที่ไม่อาจซ่อมแซมได้อันมีผลต่อผู้บริสุทธิ์ที่ถูกสังหาร

สิทธิการมีชีวิตอยู่นั้นอยู่เหนือกฎหมายใดๆ
              (2273) สิทธิไม่อาจละเมิดได้ต่อชีวิตของปัจเจกบุคคลที่เป็นผู้บริสุทธิ์  เป็นองค์ประกอบที่สร้างขึ้นในธรรมนูญของสังคมบ้านเมืองและการตรากฎหมาย

               สิทธิไม่อาจละเมิดได้ของบุคคลต้องได้รับการยอมรับและได้รับความเคารพจากสังคมและอำนาจทางการเมือง สิทธิของมนุษย์นั้นไม่ขึ้นกับปัจเจกบุคคลหรือพ่อแม่ หรือแม้แต่ผู้เป็นตัวแทนของสังคมหรือรัฐ สิทธินี้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติมนุษย์ และติดตามกับบุคคลซึ่งได้รับมาตั้งแต่แรกเริ่มที่ถูกสร้างขึ้น
ท่ามกลางสิทธิพื้นฐานเหล่านี้ต้องระลึกว่า... สิทธิต่อชีวิตและความครบครันทางกายภาพของการเป็นมนุษย์ทุกคน เริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิจนถึงวันสิ้นใจ

กฎหมายบ้านเมืองต้องให้ความคุ้มครอง

               (2274) ในขณะที่กฎหมายขาดเรื่องการปกป้องการเป็นมนุษย์ ซึ่งการออกกฎหมายบ้านเมืองต้องให้สอดคล้องเห็นตาม รัฐก็ปฏิเสธความเท่าเทียมกันของทุกคนต่อหน้ากฎหมาย เมื่อรัฐไม่กำหนดการให้บริการ สิทธิต่างๆ ของพลเมืองแต่ละคนและโดยเฉพาะของคนที่อ่อนแอกว่า พื้นฐานสำคัญของรัฐที่มีหลักฐานบนกฎหมายก็คลอนแคลน... ผลที่ตามมาเรื่องการเคารพและปกป้อง ซึ่งต้องให้ความมั่นใจแก่เด็กที่ยังไม่คลอด โดยเริ่มตั้งแต่ที่มีการปฏิสนธิ กฎหมายต้องกำหนดโทษที่เหมาะสมสำหรับการละเมิดสิทธิเด็กโดยเจตนาเช่นนี้

                 ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธินั้น ต้องได้รับการปฏิบัติเสมือนเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ลูกซึ่งยังอยู่ในท้อง (embryo) ต้องได้รับการปกป้องอย่างเต็มที่ ต้องดูแลเอาใจใส่และเยียวยารักษาเท่าที่ทำได้เสมือนมนุษย์คนอื่นๆ การวินิจฉัยก่อนเกิดจะเป็นสิ่งถูกต้องตามศีลธรรม ถ้าให้ความเคารพต่อชีวิตและความสมบูรณ์ครบครันของทารกในครรภ์ และมุ่งที่จะให้ความพิทักษ์คุ้มครองเยียวยารักษาเป็นรายบุคคล แต่การวินิจฉัยนั้นขัดแย้งกับกฎศีลธรรมในข้อฉกรรจ์ เมื่อพิจารณาความเป็นไปได้โดยขึ้นอยู่กับผลการตรวจเพื่อที่จะก่อให้เกิดการทำแท้ง นั่นคือ การวินิจฉัยนั้นต้องไม่มีผลเท่ากับการตัดสินลงโทษประหารชีวิต

การตรวจครรภ์เพื่อช่วยเหลือทารกในครรภ์ทำได้
                (2275) "การตรวจครรภ์มารดาก่อนคลอดเป็นสิ่งถูกต้องด้านศีลธรรม"  "ถ้าเคารพชีวิตและความครบครันสมบูรณ์ของทารก ไม่ทำให้ทารกเกิดความเสี่ยงที่ไม่เหมาะสม แต่มีเป้าหมายในการรักษาเยียวยา เพื่อทำให้ภาวะเงื่อนไขทางสุขภาพอนามัยดีขึ้น หรือเพื่อการอยู่รอดของทารกในครรภ์แต่ละคน"

กรณีที่ทำไม่ได้

"เป็นการผิดศีลธรรมที่จะผลิตตัวอ่อนมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ประโยชน์ให้เป็นวัสดุทางชีววิทยา"
"แน่นอนที่สุด... ความพยายามที่จะมีอิทธิพลต่อโครโมโซมและพันธุกรรมไม่ใช่อายุรเวท แต่มีจุดประสงค์ในการให้กำเนิดมนุษย์โดยการเลือกเพศ หรือกำหนดคุณสมบัติอื่นๆ ที่ต้องการไว้ล่วงหน้าการกระทำต่างๆ เหล่านี้ขัดแย้งกับศักดิ์ศรีส่วนบุคคลของความเป็นมนุษย์ ขัดต่อความสมบูรณ์ครบครัน" และเอกลักษณ์ของเขาที่เป็นหนึ่งเดียวและไม่ซ้ำแบบใคร

(ข้อมูลจากคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ภาค 3 ชีวิตในพระคริสตเจ้า ข้อที่ 2270-2275)

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์