บทที่ 39 การพิพากษา
จุดมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการพิพากษาว่าเป็นการพบกับพระเป็นเจ้าผู้ทรงพระทัยดีและเมตตา และเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อให้วันเวลาแห่งการพบปะนั้นเต็มไปด้วยพระพรและความสุขความยินดี
ขั้นที่ 1 กิจกรรม ให้ผู้เรียนแสดงละครเรื่อง “ยมโลก”
ตัวละครมี ยมราช ยมทูต ยมบาล นักโทษ 2 – 3 คน ผู้คุม
ฉากที่ 1
ยมราชนั่งบันลังก็พิพากษานักโทษ สองข้างบันลังก์ก็มี ยมทูตและยมบาลยืนอยู่
ยมราช - ท่านยมทูตและยมบาล ศาลของเราว่างเว้นการพิพากษานักโทษมาหลานวันแล้ว เพราะผู้คนพา
กันขึ้นสวรรค์หมด นรกของเราก็เลยค่อนข้างจะเงียบเหงา เราเองก็พลอยง่วงเหงาหาวนอนไป
ด้วย วันนี้ ลองไปสอดส่องดูซิว่ามีนักโทษตกนรกมาบ้างไม๊ เราจะไก้เปิดศาลแก้กลุ้มกันซักที
ยมทูต - ขอรับพระโองการ ข้าพเจ้าจะลองไปสอดส่องดู (เอากลั้องส่องทางไกลมาส่องดู)
ยมบาล - ท่านเจอนักโทษบ้างไม๊ ?
ยมทูต - ดูเหมือนจะเจอแล้ว เห็นตะคุ่มๆ มาโน่น 2 – 3 คน
ยมราช - ถ้าอย่างนั้นก็ให้เตรียมเปิดศาลได้
ยมทูต และ ยมบาล - เปิดศาลได้
ฉากที่ 2
ผู้คุม - (พานักโทษ 2 – 3 คนเดินเข้ามา) ข้าแต่ท่านยมราชข้าพเจ้าพบนักโทษ 2 – 3 คนนี้
เดินทางมาจึงพามาหาท่าน
ยมราช - ดี เรากำลังเหงาอยู่พอดี....เบิกตัวนักโทษเข้ามาได้
ยมทูต - เบิกตัวนักโทษคนที่ 1
นักโทษที่ 1 - (เข้ามาคุเข้าหน้ายมราช)
ยมราช - เจ้าคนนี้รึ ? เจ้าชื่ออะไร ? เป็นอะไรตาย ?
นักโทษที่ 1 - ข้าพเจ้าชื่อ สุดหล่อ เสียงใส ข้าพเจ้าตายขณะกำลังรองเพลงขากรรไกรค้าง เจ้าข้า
ยมทูต - (เปิดบัญชี) นายสุดหล่อคนนี้ร้องเพลงแล้วชอบค้างค่าตัวหางเครื่อง ไม่ยอมจ่าย จึง
ต้องตายเพราะขากรรไกรค้างเจ้าข้า
ยมราช - เจ้าขี้โกง เห็นแก่ได้ ไม่เห็นแก่จ่าย สมควรจะถูกทำโทษอย่างไรดี ท่านยมบาล ?
ยมบาล - สมควรเอาไปแขวนคออ้าปากค้างไว้ เจ้าข้า
ยมราช - ดี เอาตัวมันไปลงโทษตามนั้น
ผู้คุม - (นำนักโทษ 1 อกไป)
ฉากที่ 3
ยมทูต - เบิกตัวนักโทษที่ 2
นักโทษที่ 2 - (เข้ามาคุกเข่าหน้ายมราช)
ยมราช - เจ้าล่ะ ชื่ออะไร ? เป็นอะไรตาย ?
นักโทษที่ 2 - ข้าพเจ้าชื่อ สุดเซ่อ ซุ่มซ่าม ข้าพเจ้าตายเพราะถูกควายขวิดตาย เจ้าข้า
ยมทูต - (เปิดบัญชี) นายสุดเซ่อคนนี้ เมื่อเด็กๆไม่ยอมเรียนหนังสือ โตขึ้นจึงเซ่อเหมือนชื่อ
เขาเห็นควายขวิดกันจึงเข้าไปห้าม เลยถูกควายขวิดตาย เจ้าข้า
ยมราช - เจ้าโง่ มีโอกาสเรียนหนังสือก็ไม่เรียน จึงต้องโง่ดักดานอยู่อย่างนี้ สมควรแล้วที่จะ
ถูกควายขวิดตาย ท่านยมบาล เราจะลงโทษนายสุดเซ่ออย่างไรดี ?
ยมบาล - สมควรจับไปเป็นควายไถ่นา เจ้าข้า
ยมราช - ดี เอาตัวมันไปลงโทษตามนั้น
ผู้คุม - (เอานักโทษ 2 ออกไป)
ฉากที่ 4
ยมทูต - เบิกตัวนักโทษที่ 3
นักโทษ 3 - (เข้ามาคุกเข่าหน้ายมราช)
ยมราช - เจ้าชื่ออะไร ? เป็นอะไรตาย ?
นักโทษ 3 - ข้าพเจ้าชื่อ สุดขี้เกียจ มโหราฬ ข้าพเจ้าตายเพราะจมน้ำตาย เจ้าข้า
ยมทูต - (เปิดบัญชี) นายสุดขี้เกียจคนนี้ ขี้เกียจเรียนคำสอน ชอบหนีเรียนคำสอนเป็นประจำ
วันหนึ่งหนีเรียนคำสอนไปเล่นน้ำ เกิดเป็นลมบ้าหมูจมน้ำตาย เจ้าข้า
ยมราช - เจ้าขี้เกียจหลังยาว เอาแต่หนีเรียนคำสอน เจ้ารู้ไม๊ว่าคำสอนเป็นสิ่งสำคัญมาก ใคร
ขยันเรียนแล้วได้ไปสวรรค์ แต่เจ้าก็ไม่เอาใจใส่ ท่านยมบาล เราควรจะลงโทษ
สถานหนักแก่เจ้าขี้เกียจคนนี้อย่างไรดี ?
ยมบาล - ควรจะจับส่งให้ไปเรียนคำสอนในโลกใหม่ จะได้เข็ดเจ้าข้า
ยมราช - เออ ดี เอาตัวมันส่งกลับไปในโลก
ผู้คุม - (นำนักโทษ 3 ออกไป)
ปิกฉาก
ขั้นที่ 2 วิเคราะห์
ครูถามผู้เรียนว่า
- ชมละครเรื่องนี้แล้วรู้สึกอย่างไร ?
- ได้ข้อคิดอะไรจากละครเรื่องนี้บ้าง ?
- ถ้าเป็นตัวเราเอง เราอยากจะถูกพิพากษาอย่างไร ? ทำไม ?
สรุป ใคร ๆ ก็อยากถูกพิพากษาว่าได้ทำดี สมควรได้รับรางวัล ไม่มีใครอยากถูกพิพากษาได้ว่าทำชั่ว สมควรถูกลงโทษ
ขั้นที่ 3 คำสอน
1. เราสวดในบท “ข้าพเจ้าเชื่อถึงพระเจ้า” ว่า “แล้ว (พระองค์) จะเสด็จมาพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย” เป็นการยืนยันความเชื่อเรื่องการพิพากษาที่ทุกคนต้องผ่านหลังความตาย” เป็นการยืนยันความเชื่อเรื่องการพิพากษาที่ทุกคนต้องผ่านหลังความตาย พระเยซูคริสต์เองทรงสอนความจริงนี้ เมื่อทรงเล่านิทานเปรียบเทียบ เรื่องเศรษฐีกัลป์ลาซารัส (เทียบ ลก. 16,19 – 31) และเป็นต้น เมื่อตรัสถึงเรื่องการพิพากษาประชาชาติ ในวันที่บุตรมนุษย์ (พระเยซูคริสต์) จะเสด็จจมาอีกครั้งหนึ่ง (เทียบ มธ. 25,31 – 46)
2. มนุษย์จะต้องผ่านการพิพากษา 2 ครั้งด้วยกัน คือ พิพากษาเฉพาะตัว และพิพากษาพร้อมกัน
พิพากษาเฉพาะตัว จะมีขึ้นทันทีหลังความตาย เราจะต้องไปพบกับพระเยซูคริสต์เพื่อให้พระองค์ทรงพิพากษาทุกสิ่งที่เราได้กระทำตลอดชีวิต และมีการปูนบำเหน็จถ้าได้ทำดี หรือลงโทษถ้าได้ทำความชั่วทันทีด้วย ดังที่พระเยซูคริสต์ได้ตรัสไว้ในนิทานเปรียบเทียบ เรื่อง เศรษฐีและลาซารัส ว่า “อยู่มาขอทาน (ลาซารัส) ก็ตาย เทวดาก็นำเข้าเข้าสู่อ้อมกอดของอับราฮัม ส่วนเศรษฐีก็ตายด้วยและถูกฝังไว้ในแดนมรณะ” (ลก. 16,22) ทั้งสองตาย ถูกพิพากษา ได้รับบำเหน็จและโทษทันทีหลังความตาย
พระองค์ยังตรัสสัญญากับโจรที่ตรึงอยู่เบื้องขวาของพระองค์ว่า “วันนี้เจ้าจะอยู่กับเราในสวรรค์” (ลก. 23,43) คือทันทีหลังความตาย
พิพากษาพร้อมกัน จะมีขึ้นเมื่อ (พระองค์) จะเสด็จมาพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย” (บท “ข้าพระเจ้าเชื่อถึงพระเจ้า”) คือในวันสิ้นโลก ซึ่งจะเป็นวันใดไม่มีใครทราบ ในการพิพากษาพร้อมกัน “พระเป็นเจ้าจะทรงเปล่งวาจาสุดท้ายผ่านทางพระเยซูคริสต์พระบุตรของพระองค์เพื่อกำหนดโชคชะตาของประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ บัดนั้นเราจะเข้าใจแจ่มแจ้งถึงความหมายสุดท้ายของการสร้าง แผนการไถ่กู้ และพยานสอดส่องที่นำไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างน่าพิศวง การพิพากพร้อมกันจะสำแดงถึงความยุติธรรมของพระเป็นเจ้าซึ่งมีชัยเหนือความอยุติธรรมทั้งหลายที่บรรดาสิ่งสร้างของพระเจ้าได้กระทำ และสำแดงให้เห็นว่าความรักของพระเป็นเจ้านั้นทรงพลังเหนือความตาย” (คำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1040)
3. หลักการที่พระเป็นเจ้าทรงใช้พิพากษามนุษย์นั้นก็คือ หลังการจาก “พระบัญญัติแห่งความรัก”
“เมื่อเราหิว เจ้าก็เลี้ยงดู เมื่อเรากระหาย เจ้าก็ให้เราดื่ม เมื่อเราเป็นแขกแปลกหน้าเจ้าก็ให้การต้อนรับ เมื่อเราไม่มีเสื้อผ้านุ่งห่ม เจ้าก็ให้เราสวมใส่ เมื่อเราเจ็บไข้ได้ป่วย เจ้าก็เยียวยารักษา เมื่อเราติดคุกติดราง เจ้าก์มาเยี่ยม....มาเถิด จงมารับบำเหน็จที่ได้เตรียมไว้สำหรับเจ้าตั้งแต่สร้างโลก” (มธ. 25,34 – 36) และอีกตอนหนึ่งว่า
“เมื่อเราหิว เจ้าก็ไม่ให้เรากิน เมื่อเรากระหาย เจ้าก็ไม่ให้เราดื่ม เมื่อเราเป็นแขกแปลกหน้า เจ้าก็ไม่ต้อนรับ เมื่อเราเปลือยกาย เจ้าก็ไม่ให้เสื้อผ้าเรานุ่งห่ม เมื่อเราเจ็บไข้ได้ป่วย เจ้าก็ไม่เยียวยารักษา เมื่อเราติดคุกติดตะราง เจ้าก็ไม่มาเยี่ยม.......จงไปให้พ้น ไปในไฟซึ่งลุกโพลงอยู่เป็นนิตย์ ที่ได้เตรียมไว้สำหรับซาตานและสมุนของมัน” (มธ. 25,41 – 43)
4. ความเชื่อในเรื่องการพิพากษานี้ช่วยกระตุ้นเตือนมนุษย์ให้ใส่ใจคิดถึงความรอด และวันเวลาที่พระเป็นเจ้าประทานให้ “นี่แน่ะ บัดนี้เป็นเวลาอันชอบแล้ว นี่แน่ะ บัดนี้เป็นเวลาแห่งความรอดแล้ว” (2 คร. 6,2) ทุกคนจึงพึงใช้วันเวลาที่เหลืออยู่เพื่อกระทำแต่สิ่งที่ดีที่ชอบ อันจะนำไปสู่ความรอดกันเถิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พึงปฏิบัติหน้าที่แห่งความรักต่อพระเจ้าต่อพระเป็นเจ้า และต่อเพื่อนมนุษย์ให้ดีที่สุดเพราะพระเป็นเจ้าจะทรงพิพากษาทุกคนตามพระบัญญัติแห่งความรักนี้
ขั้นที่ 4 ปฏิบัติ
- ข้อควรจำ
1. หลังความตายมนุษย์ทุกคนต้องไปปรากฏต่อหน้าพระพักตร์พระเป็นเจ้าเพื่อให้พระองค์ทรงพิพากษา
2. พระเป็นเจ้าจะทรงพิพากษามนุษย์ตามพระบัญญัติแห่งความรัก
3. พระยุติธรรมของพระเป็นเจ้าจะมีชัยเหนือความอยุติธรรมทั้งมวล และความรักของพระเป็นเจ้าจะทรงพลังเหนือความตาย
4. จงใช้วันเวลาที่เหลืออยู่สร้างสมความดีงามเพื่อวันพิพากษาเถิด
- กิจกรรม ให้ผู้เรียนฝึกพิพากษาตนเอง โดยพิจารณาถึงสิ่งดีงามที่ตนได้ทำในวันนี้ หรือสัปดาห์นี้ สิ่งไม่ดีไม่งามที่ตนได้ทำในวันนี้ หรือสัปดาห์นี้ จดลงในแผ่นกระดาษ
กระทำพิธีเผากระดาษ เพื่อถวายสิ่งดีงามแด่พระเป็นเจ้า และทำลายสิ่งไม่ดีไม่งามให้พ้นไป
ร้องเพลง “มั่นใจในพระองค์”
มั่นใจในพระองค์
1. จิตฉันมั่นใจในพระองค์ ท่านทรงเมตตาจะหาไหน ทรงมอบชีวิตพระคริสต์นั้นคือผู้ไถ่ หาเรามั่นใจในพระองค์
2. เมื่อครั้งวิญญาณฉันหลงทาง สุดอ้างว้างกลางใจกระไรหนา มีแต่ทรงฤทธิ์พระคริสต์ผู้นำชีวา ทรงไถ่โทษาของข้า ฯ เอย
3. พระองค์นั้น (ฮัม...) สุดใฝ่ฝัน (ฮัม...) เหมือนสิ่งเดียวเหนี่ยวฉันมั่นใจ
4. ใกล้ชิดพระคริสต์นิจนิรันดร์ สิ่งที่ฉันใฝ่ฝันตลอดไป ความสุขโลกนี้ไม่มีเหมือนที่ตั้งใจ ขาดองค์ทรงชัยไม่ได้เลย
การบ้าน หัดพิจารณามโนธรรมทุกวันก่อนนอน ทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีที่ได้กระทำ
ถวายสิ่งดีแด่พระเป็นเจ้า ขอโทษพระองค์เพราะสิ่งไม่ดี