ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCESE

บทที่  36 พระศาสนจักรคาทอลิก

จุดมุ่งหมาย    เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักพระศาสนจักรที่พระเยซูคริสต์ทรงตั้งขึ้น คุณลักษณะเฉพาะบางประการ และเกิดความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ในฐานะที่เป็นสมาชิกของพระศาสนจักรนั้น

ขั้นที่ 1  กิจกรรม     เป็นผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย แจกกระดาษให้กลุ่มละ 1 แผ่น ให้แต่ละกลุ่มตอบคำถามต่อไปนี่ โดยเขียนคำตอบลงในกระดาษที่แจกให้
คำถาม
1. ใครเป็นผู้ตั้งพระศาสนจักร ? (พระเยซูคริสต์)
2. พระสันตะปาปาองค์แรกมีชื่อว่าอะไร ? (นักบุญเปโตร)
3. พระสันตะปาปาองค์ปัจจุบันชื่อว่าอะไร ? (พระสันตะปาปา ฟรังซิส)
4. พระสันตะปาปาประทับอยู่ที่ไหน ? (กรุงวาติกัน)
5. พระศาสนจักรของเรามีชื่อเฉพาะว่าอะไร ? (พระศาสนจักรโรมันคาทอลิก)
6. พระศาสนจักรในประเทศไทยแบ่งออกเป็นกี่สังฆมณฑล ? (11 สังฆมณฑล)
7. สังฆมณฑลที่ท่านสังกัดอยู่มีชื่อว่าอะไร ? (สังมณฑล.....................................)
8. พระสังฆราชของท่านมีชื่อว่าอะไร ? (พระสังฆราช.................................)
9. ท่านเป็นสัตบุรุษวัดอะไร ? (วัด.....................................)
10. บอกชื่อวัดอื่นที่ม่านรู้จักมา 5 วัด (วัด.....................................)

ขั้นที่ 2  วิเคราะห์

         ครูเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง ประกาศผลกลุ่มที่ชนะเลิศ

สรุป    ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นข้อมูลเป็นข้อมูลเกี่ยวกับพระศาสนจักรในฐานะที่เป็นสถาบันที่พระเยซูคริสต์ทรงตั้งขึ้น ซึ่งประกอบด้วยส่วยต่างๆตั้งแต่ระดับกว้างที่สุด คือระดับโลก ไปจนถึงระดับแคบที่สุด คือระดับท้องถิ่น มารวมเป็นหนึ่งเดียวกัน

ขั้นที่ 3  คำสอน
          
1. พระเยซูคริสต์ทรงตั้งพระศาสนจักรให้เป็นสถาบันของมนุษย์คือมีมนุษย์เป็นสมาชิก จึงจำเป็นต้องมีโครงสร้างภายนอกแบบสถาบันของมนุษย์ทั่งๆไป โดยลักษณะนี้พระศาสนจักรจึงมีโครงสร้างที่แตกต่างกันอย่างมองเห็นได้ คือ พระสันตะปาปา พระสังฆราช รพะสงฆ์ นักบวช นักบวช สัตบุรุษ ตลอดจนกฎระเบียบต่างๆที่จำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันเป็นสถาบัน ที่พระศาสนจักรคาทอลิกดำรงเป็นปึกแผ่นมั่นคงตั้งแต่ต้นมาจนถึงทุกวันนี้ได้ ส่วนหนึ่งก็เพราะโครงสร้างที่มั่นคง ชัดเจน และเป็นกิจจะลักษณะนั่นเอง

        2. แต่พระเยซูคริสต์ก็ยังทรงตั้งพระศาสนจักรให้เป็นสถาบันของพระเป็นเจ้าด้วย คือชีวิตและเป้าหมายที่เหนือธรรม มีพลังของพระหรรษทานซึ่งเปรียบเสมือนวิญญาณที่ทำให้โครงสร้างภายนอกนั้นมีชีวิตที่ล้ำลึก พระองค์ทรงเปรียบเทียบพระศาสนจักรนี้เป็นเหมือนเมล็ดพืชเล็กๆที่เมื่อหว่านลงไปในดินก็งอกขึ้นมาเป็นต้นใหญ่จนกระทั่งนกสามารถอาศัยเกาะพักพิงได้ (เทียบ มธ. 13,31 – 32) หรือเปรียบเสมือนเชื้อแป้งก้อนเล็กๆที่ใส่ลงไปในแป้งสามถัง ทำให้แป้งนั้นฟื้นฟูขึ้นได้ทั้งหมด (เทียบ มธ. 13,33)
ส่วนที่สำคัญที่สุดของพระศาสนจักรอยู่ในลักษณะหลังนี้ ซึ่งสังคายนาวาติกันที่ 2 เรียกว่า ประชากรของพระเป็นเจ้า เมื่อเอ่ยชื่อ “ประชากรของพระเป็นเจ้า” ความแตกต่างทั้งหลายที่มีปรากฏในโครงสร้างภายนอกก็มลายหายสูญไปสิ้น เพราะทั้งหลายทั้งปวงต่างมารวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพราะ “มีพระเป็นเจ้าเดียว ความเชื่อเดียว ศีลล้างบาปเดียว พระเป็นเจ้าเดียวผู้ทรงเป็นพระบิดาของคนทั้งปวง ผู้สถิตเหนือคนทั้งปวง ทั่วทั้งปวง และในคนทั้งปวง” (อฟ. 4 ,5 – 6) ซึ่งจะเรียกว่า “พระกายทิพย์” ของพระเยซูคริสต์ก็ได้ เมื่อมีชื่อว่า “พระกาย” ก็จำเป็นต้องมีอวัยวะมากมายหลายอย่างแตกต่างกันไปอย่างปรากฏได้ชัด เช่น ศีรษะ หู ตา ปาก จมูก มือ เท้า ฯลฯ แต่เมื่อมีชื่อว่า “ชีวิต” ความแตกต่างเหล่านั้นก็หมดไปในทันที เพราะทกอวัยวะก็ต่างมีชีวิตเดียวกัน มีจุดหมายปลายทางเดียวกัน ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆเพื่อนำไปสู่จุดหมายปลายทางเดียวกัน
             ที่พระศาสนจักรคาทอลิกดำรงเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาตั้งแต่ต้นจนถึงทุกวันนี้ได้ ส่วนใหญ่และสำคัญที่สุดก็คือชีวิตเหนือธรรมชาติซึ่งเปรียบเสมือนโครงสร้างนี่แหละ

         3. เอกลักษณะ 4 ประการขอองพระศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งมีบันทึกอยู่ในบท “ข้าพเจ้าเชื่อถึงพระเป็นเจ้า” คือ
                 1) พระศาสนจักร “เป็นหนึ่งเดียว” หมายความว่า ประชากรทุกคนนับถือพระเป็นเจ้าองค์เดียวกัน มีความเชื่อเดียวกัน รับศีลล้างบาปเดียวกัน มีประมุของค์เดียวกัน คือ พระสันตะปาปา
                 2) พระศาสนจักรมีความ “ศักดิ์สิทธิ์” หมายความว่า ประชากรทุกคนมีส่วนในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูคริสต์ผู้ก่อตั้งพระศาสนจักร มีศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆและมีผู้ศักดิ์สิทธิ์เป็นจำนวนมากทั้งที่เป็นนักบุญในสวรรค์และที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้
                 3) พระศาสนจักรมีความเป็น “สากล” หมายความว่า พระศาสนจักรมีไว้เพื่อชนทุกชาติทุกภาษาทุกกาลสมัย
                 4) พระศาสนจักร “สืบจากอัครสาวก” หมายความว่า พระศาสนจักรมีความสัมพันธ์โยงใยกับอัครสาวก ซึ่งเป็นเสาหลักอยู่ตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นผู้สืบตำแหน่ง คือ พระสันตะปาปา พระสังฆราช ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ คำสั่งสอน ธรรมประเพณี ล้วนสืบทอดกันมาไม่ขาดสาย
          เอกลักษณ์สำคัญ 4 ประการนี้จึงช่วยให้เราสามารถวินิฉัยได้ว่าพระศาสนจักรเที่ยงแท้ของพระเยซูคริสต์นั้นอยู่ที่ไหน

          4. เรามีหน้าที่ต่อพระศาสนจักรอย่างไรบ้าง ?
              1) เราต้องเคารพเชื่อฟังผู้มีอำนาจและหนาที่ในพระศาสนจักร อันได้แก่ พระสันตะปาปา พระสังฆราช พระสงฆ์ เป็นต้น เพราะท่านเหล่านี้เป็นผู้แทนของพระเยซูคริสต์ และปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ในโลกนี้
              2) เราต้องทำหน้าที่สมาชิกที่ดีของพระศษสนจักรส่วนรวมด้วยความขยันขันแข็งและเสียสละ สวดภาวนาอุทิศแก่พระศษสนจักร
              3) เราต้องร่วมมือกันแพร่ธรรม คือประกาศข่าวดีแก่ผู้ที่ยังไม่รู้จักพระเยซูคริสต์ ทั้งนี้ก็เพราะ “พระศาสนจักรเป็นผู้แพร่ธรรมโดยธรรมชาติ” (สังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่อง งานธรรมทูตของพระศาสนจักร ข้อที่ 2)

 ขั้นที่ 4  ปฏิบัติ

  • ข้อควรจำ
    1. พระศาสนจักรคือประชากรของพระเป็นเจ้าที่ “มีพระเป็นเจ้าเดียว ความเชื่อเดียว ศีลล้างบาปเดียว” (อฟ. 4,5)
    2. พระศาสนจักรคือพระกายทิพย์ของพระเยซูคริสต์ มีอวัยวะต่างๆแตกต่างกัน แต่รวมเป็นหนึ่งเดียกัน เพราะมีชีวิตเดียวกัน
    3. “ข้าพเจ้าเชื่อว่า พระศาสนจักรเป็นหนึ่งเดียว ศักดิ์สิทธิ์สากล และสืบจากอัครสาวก” (บท “ข้าพเจ้าเชื่อ”)
    4. เรามีหน้าที่ต้องเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ฝ่ายพระศาสนจักร ปฏิบัติตามกฎบัญญัติต่างๆ ช่วยเหลืองานของพระศาสนจักร และเป็นตนต้องแพร่ธรรมตามฐานะของตน
  • กิจกรรม

    ให้ผู้เรียนประชุมหารือกันในกลุ่มย่อยเดิมว่า “ในฐานะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ฉันจะช่วยพระศาสนจักรได้อย่างไรบ้าง ?” ให้เสนอมากลุ่มละ 1 อย่าง เสร็จแล้วให้นำไปปฏิบัติจริงเป็นกลุ่ม มีการรายงานเป็นระยะๆ

    การบ้าน ระบายสีสังฆมณฑลต่างๆในแผนที่ที่แจกให้ เขียนรายละเอียดบางอย่างของแต่ละสังฆมณฑลลงไป คือ
    ชื่อสังฆมณฑล
    ชื่อพระสังฆราช
    จำนวนคาทอลิกในแต่ละสังฆมณฑล (ดูข้อมูลในปฏิฑินคาทอลิก )
    (รูปแผนที่)

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 "บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง"

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์