ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCESE

นักบุญอิกญาซีโอ แห่งโลโยลาความเป็นมาของแนวคิด
                การเรียนการสอนตามแนวคิดอิกญาเชี่ยน (Ignatian pedagogy) เกิดขึ้นจากนักบวชคาทอลิกชาวสเปนที่มีชื่อเรียกในทางศาสนาว่า นักบุญอิกญาซีโอ แห่งโลโยลา มีชีวิตอยู่ในระหว่าง ปี ค.ศ. 1491-1556  ท่านได้ไปศึกษาวิชาปรัชญาและเทววิทยาที่กรุงปารีส และที่กรุงปารีสนี้เองท่านได้ตั้งคณะนักบวช “เยซูอิต” ขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1534 การเรียนการสอนของท่านเกิดขึ้นจากการพัฒนาการฝึกปฏิบัติชีวิตจิต  (Spiritual Exercises of St. Ignatius) ที่ท่านได้ปฏิบัติกับผู้มาขอให้ท่านช่วยแนะนำชีวิตจิต ซึ่งต่อมาบรรดาสมาชิกของคณะเยซูอิตได้พัฒนาวิธีการนี้มาใช้ในวงการศึกษาที่สมาชิกของคณะได้จัดตั้งขึ้นในสถานการศึกษาที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เอกสารสำคัญที่มีชื่อว่า The Ratio Studiorum (แผนการศึกษา) ในปี ค.ศ.1599 ได้ถูกนำมาใช้เป็นบรรทัดฐานของการจัดตั้งและดำเนินงานด้านการศึกษาตามแบบฉบับของนักบุญอิกญาซีโอ หรือเรียกกันว่า โรงเรียนเยซูอิต


    วิธีการสอนในแบบของอิกญาเชี่ยน เกิดจากการรวบรวมคัดสรรผลงานจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อให้ได้วิธีการสอนที่ดีที่สุดมาใช้ในการเรียนการสอน โดยนักบุญอิกญาซีโอได้ดัดแปลงวิธีการแบบปารีส (Modus Parisiensis) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสอนที่ใช้ในมหาวิทยาลัยแห่งกรุงปารีสในยุคสมัยของท่าน วิธีการแบบปารีสนี้ได้รวมเข้ากับหลักการเกี่ยวกับวิธีการหลายประการที่ท่านได้พัฒนาขึ้นมาก่อนหน้านี้เพื่อใช้ในการฝึกปฏิบัติชีวิตจิต (กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นการไตร่ตรอง, 2556: ข้อ 7)

    ในศตวรรษที่ 16 บรรดาเยซูอิตยังไม่ได้อยู่ในยุคสมัยของการนำเสนอวิธีการที่พิสูจน์ความสำเร็จด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์หรืองานวิจัยดังเช่น จิตวิทยาพัฒนาการ แต่ด้วยการเอาใจใส่ดูแลผู้เรียนเป็นรายบุคคล ทำให้บรรดาครูของโรงเรียนเยซูอิตใส่ใจกับสิ่งต่าง ๆ ที่จะช่วยในการเรียนรู้และการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง และพวกเขาได้แบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติไปให้เผยแผ่ออกไปทั่วโลก อันเป็นการรับรองถึงความเป็นสากลของวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งต่อมาได้เป็นบรรทัดฐานสำหรับโรงเรียนเยซูอิตในทุกแห่ง

    กล่าวได้ว่า วิธีการสอนแบบอิกญาเชี่ยนได้รวมเอาลักษณะเฉพาะของวิธีการสอนหลายวิธีซึ่งได้รับการพัฒนาอย่างมีหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นโดยนักการศึกษาอื่น ๆ รวมเข้ากับวิธีการสอนแบบเยซูอิต “ตราบเท่าที่วิธีการเหล่านั้นส่งผลดีต่อเป้าหมายการศึกษาแบบเยซูอิต” (กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นการไตร่ตรอง, 2556: ข้อ 8)

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 "บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง"

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์