คำคม
เรื่อง "การภาวนา"
น.เทเรซาแห่งพระเยซูกุมาร
-ปราศจากคำภาวนาและการพลีกรรมแล้ว ดิฉันจะไปได้สักกี่น้ำ
-คำภาวนาและการพลีกรรมเป็นอาวุธที่พระเป็นเจ้าทรงมอบให้
-มีบทภาวนาที่ดีๆมากมาย แต่ดิฉันเพียงแต่ทำตามอย่างที่เด็กก่อนอ่านออกเขียนได้
ทำกันคือ ทูลเสนอพระเป็นเจ้าถึงสิ่งที่ตนประสงค์อย่างง่าย ๆ โดยปราศจากถ้อยคำ
สวยงามใด ๆ และดูเหมือนว่าทุกครั้งพระองค์ทรงเข้าพระทัยดี
-การภาวนา หมายถึง การโผบินออกจากดวงใจของตนเองสู่พระเป็นเจ้า
เป็นการยกดวงตาขึ้นสู่สวรรค์อย่างง่าย ๆ ด้วยเสียงร้องแห่งความสำนึกและความรัก
ทั้งเรื่องที่น่าอภิรมย์ยินดีหรือเรื่องที่มืดมิดสิ้นหวังก็ตาม
-การสวดบทข้าแต่พระบิดาฯหรือวันทามารีอาสักบทหนึ่งอย่างช้าๆ จะนำความสุขใจ
อย่างท่วมท้นมากกว่าการสวดเร็ว ๆ สักร้อยบทเสียอีก
ปิตาจารย์
-การภาวนาเป็นการยกจิตใจเข้าหาพระเจ้า หรือเป็นการวอนขอสิ่งที่ดีงามที่เหมาะสม
จากพระเป็นเจ้า (น.ยอห์น ดามัสซีน)
-เป็นไปได้ที่จะภาวนาบ่อยๆและด้วยใจร้อนรน ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปที่สาธารณะ
หรือระหว่างเดินเล่นคนเดียว เวลาอยู่ในธุรกิจ ในขณะซื้อของ ขายของ
หรือทำกับข้าวก็ได้ (น.ยอห์น คริสซอสโตม)
-ไม่มีสิ่งใดมีค่าเท่าการภาวนา การภาวนานั้นทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้เป็นไปได้
ทำให้สิ่งที่ยากเป็นสิ่งที่ง่าย (น.อัลฟองโซ ลีโกวรี)
-บุคคลที่ทำให้การภาวนาและการทำงานที่ดีเป็นหนึ่งเดียวกันได้ จะเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า
เป็นผู้ที่ ภาวนาอย่างไม่หยุดหย่อน ( เทียบ น.ออรีเจน)
เป็นหัวใจที่ภาวนา
เราคริสตชนส่วนใหญ่คงจดจำถึงการที่พ่อแม่หรือตายายของเราฝึกสอนให้เรารู้จัก
การสวดภาวนา ไปว่าจะต้องการสวดตามท่านทีละวรรค หรือสวดไปพร้อม ๆ กับท่าน
การสวดบทภาวนาทางการ ของพระศาสนจักรช่วยให้เราได้คิดและเปล่งเสียงออกมา
เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ที่เรามีต่อพระเจ้า ซึ่งมีความหมายว่าเราต้องพึ่งพระเจ้า
เราต้องการบูชาสรรเสริญพระเจ้า เรารักพระองค์ และปรารถนา ที่จะปฏิบัติตนรับใช้
พระองค์ด้วยวิธีทางอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมถึงความต้องการพระเมตตาของพระเจ้า
เพื่อช่วยเหลือเราอีกด้วย
คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก(CCC) ได้อ้างถึงคำสอนใจของนักบุญเทเรซา
แห่งพระเยซู ที่เรียกการภาวนาว่าเป็น "ระลอกคลื่นของหัวใจ" เธอกล่าวว่าการภาวนา
เป็นการยกสายตาขึ้นสู่สวรรค์ "ด้วยเสียงร้องแห่งความสำนึกและความรัก" ซึ่งรวม
เอาทั้งเรื่อง "การทดลองและความยินดี" ขึ้นหาพระเจ้า (2558)
เราคาทอลิกมีวิธีการสวดภาวนาได้หลายวิธีด้วยกัน ทั้งการใช้ความเงียบ
การออกเสียง การรำพึง การทำนพวารต่าง ๆ การสวดสายประคำ การภาวนาจาก
พระคัมภีร์ การท่องบทสวดที่เป็นที่นิยม และที่สำคัญคือการร่วมพิธีบูชามิสซาฯ
ซึ่งถือว่าเป็นการภาวนาที่ประเสริฐที่สุด คำสอนของพระศาสนจักร เรื่องการสวด
ภาวนา(ข้อ 2562-2565) เตือนเราให้ทำความเข้าใจเรื่องการสวดภาวนาให้ถูกต้อง
และให้มีลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น เราไม่เพียงพอที่จะทำแค่ได้ชื่อว่าสวดภาวนา (หรือสวดแต่
ปาก) แต่ต้องให้ออกมาจาก "หัวใจ" ที่แท้จริงของเรา
การภาวนาจึงต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวของมนุษย์ทั้งครบ เป็น "มนุษย์ทั้งครบ
ที่ภาวนา" ในพระคัมภีร์พูดถึงจิตวิญญาณหรือหัวใจของบุคคลว่าเป็นบ่อเกิดของการ
ภาวนานั้น ก็คือ เป็น "หัวใจที่ภาวนา" "ถ้าหัวใจของเราอยู่ห่างจากพระเจ้า ถ้อยคำ
ของการภาวนาก็ เปล่าประโยชน์"
"หัวใจ" จึงหมายถึงตัวตนทั้งครบของบุคคล เป็นสถานที่ที่ลึกลับที่ซ่อนเร้นที่สุด
ของบุคคล แม้แต่ตัวเจ้าของหัวใจก็ยังไม่สามารถเข้าใจตนเองได้ มีแต่พระจิตของ
พระเจ้าเท่านั้น ที่สามารถตรวจสอบและล่วงรู้ใจของคนเราได้ เป็นหัวใจที่เลือก
ระหว่างชีวิตและความตาย เป็นที่ที่พระเจ้าทรงพบกับตัวตนของเรา เพราะตัวเรา
แต่ละคนเป็นพระภาพลักษณ์ของพระเจ้า
การภาวนาจึงเป็นความสัมพันธ์(หรือการพบกัน)ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์
เป็นกิจการของพระเจ้าและของมนุษย์ ดังนั้นเมื่อเราภาวนาเราจึงมีความสัมพันธ์
ที่สนิทแนบแน่นกับพระเจ้า เสมือนการมีชีวิตร่วมกัน ยิ่งเราภาวนามากเท่าไร
ความสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้ายิ่งแนบแน่นมั่นคง
ประกาศกมีคาห์พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์
โดยมิได้อ้างถึงการภาวนาเลย ว่า "พระเจ้าได้สำแดงแก่เจ้าแล้วว่าอะไรดี
และมีพระประสงค์อะไรจากเจ้า นอกจากให้กระทำความยุติธรรม และรักสัจกรุณา
และดำเนินชีวิตด้วยความถ่อมใจไปกับพระเจ้า" (มีคาห์ 6:8)
การสร้างโลก เป็น แหล่งที่มาของการภาวนา
ขอให้เพื่อน ๆ ช่วยอ่านบทสดุดีที่ 8 นี้ แล้วตรวจสอบความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับจิตใจของท่าน
(ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้สอน
- ทางเลือกที่ 1 อาจจะอัดสำเนาบทบทสดุดีนี้ แจกให้ผู้เรียน ได้มีโอกาสอ่านแบบตริตรอง
อ่านในความเงียบ และให้แบ่งปันความรู้สึก หรือข้อความที่ประทับใจต่อกันและกัน
- ทางเลือกที่ 2 ให้ผู้เรียนอ่านบทสดุดีนี้
แล้วเลือกข้อความ หรือความหมายที่เกิดขึ้นในใจจากการอ่าน แล้วแสดงออกมา
เป็นวาดภาพ จากนั้นให้เขียนคำภาวนาที่ตนเองอยากจะบอกกับพระเจ้า
- ทางเลือกที่ 3 ให้ผู้เรียนหาภาพจากหนังสือพิมพ์ที่สอดคล้องมาทำเป็นโปสเตอร์)
ข้าแต่พระยาเวห์ พระเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย
พระนามของพระองค์ช่างยิ่งใหญ่ทั่วแผ่นดิน
คำสรรเสริญพระองค์ขึ้นไปถึงฟากฟ้า
พระองค์ทรงใช้ปากของเด็กน้อยและทารก
ประกาศพระฤทธานุภาพต่อต้านบรรดาศัตรู
ทรงปราบบรรดาข้าศึกและเหล่ากบฏให้เงียบไป
เมื่อข้าพเจ้าแหงนมองท้องฟ้า ซึ่งนิ้วพระหัตถ์บรรจงสร้างไว้
มองดูเดือนดูดาวที่พระองค์ทรงประดับไว้อย่างมั่นคง
มนุษย์เป็นใคร พระองค์จึงทรงระลึกถึงเขา
บุตรแห่งมนุษย์เป็นใคร พระองค์จึงต้องทรงเอาพระทัยใส่
ถูกแล้ว พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ให้ด้อยกว่าทูตสวรรค์เพียงน้อยนิด
ประทานความรุ่งโรจน์และเกียรติยศให้เป็นเสมือนมงกุฎประดับศีรษะ
ทรงแต่งตั้งเขาให้เป็นเจ้านายของผลงานทั้งมวลจากฝีพระหัตถ์
และทรงวางสรรพสิ่งไว้ใต้เท้าของเขา
ฝูงแพะแกะ และปศุสัตว์ทั้งปวง
รวมทั้งสัตว์ป่าทั้งหลาย
นกในท้องฟ้า ปลาในท้องทะเล และสรรพสัตว์ที่แหวกว่ายในมหาสมุทร
ข้าแต่พระยาเวห์ พระเจ้าของข้าพเจ้า
พระนามของพระองค์ช่างยิ่งใหญ่ทั่วแผ่นดิน
บทสดุดีที่ 8 นี้ เป็นบทสรรเสริญพระผู้ทรงเนรมิตสร้างจักรวาล ซึ่งสะท้อนให้เห็นความยิ่งใหญ่
ของพระเจ้า เมื่อเราพิจารณาดูความยิ่งใหญ่ของจักรวาล จะรู้สึกว่าเราช่างเล็กน้อยไม่มี
ความหมายกระไรเลย ถึงกระนั้น เมื่อเทียบกับสิ่งสร้างทั้งหลาย มนุษย์ก็มีศักดิ์ศรีต่อหน้า
พระเจ้า เพราะพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ ตามรูปแบบเหมือนพระองค์ มีความยิ่งใหญ่เทียมเท่า
สิ่งสร้างในสวรรค์
เมื่อระลึกถึงความจริงประการนี้ ทำให้เรามนุษย์อดไม่ได้ที่จะแสดงออกถึงพระคุณ
อันยิ่งใหญ่นี้ นั้นก็คือ การภาวนาสรรเสริญพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่นั้นเอง ทั้งนี้เพราะมนุษย์เราตั้งแต่
แรกเริ่ม ต่างแสวงหาพระเจ้า(หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด) หัวใจของมนุษย์มีความต้องการที่จะรู้จัก
พระเจ้า จิตวิญญาณของมนุษย์เมื่อเผชิญหน้ากับความมหัศจรรย์ของสิ่งสร้าง ก็ยิ่งเชื่อมั่นใน
ความยิ่งใหญ่ ของพระผู้สร้าง
บทสดุดีต่าง ๆ ที่อยู่ในพระคัมภีร์ จึงเป็นบทภาวนาที่ชาวอิสราเอลใช้ในโอกาส
ต่าง ๆ กัน เพื่อแสดงออกถึงการสรรเสริญ การวิงวอนขอพระพร และการกราบขออภัยต่อองค์
พระผู้เป็นเจ้า แล้วแต่กรณี ในปัจจุบันเราก็ยังใช้บทสดุดีนี้ในการขับร้องและบทสวดต่าง ๆ
ในพิธีมิสซา นอกจากนั้นการสวดทำวัตรของพระสงฆ์และนักบวชก็ใช้ภาวนาจากบทสดุดีเหล่านี้
การภาวนาในพันธสัญญาเดิม
(CCC 2568-2589)
1.อาแบล : การถวายสัตว์หัวปีจากฝูงสัตว์ของอาแบล : ส่วนอาแบลก็นำแกะหัวปี
จากฝูงและไขมันของแกะมาถวาย พระเจ้าทรงพอพระทัยอาแบลและเครื่องบูชา
ของเขา (ปฐก 4:4)
2.เอโนช : การร้องเอ่ยพระนามพระเจ้าของเอโนช : ฝ่ายเสท
(ลูกชายของอาดัมอีกคนหนึ่ง) มีบุตร ชื่อ เอโนช คราวนั้นมนุษย์เริ่มต้นนมัสการ
โดยออกพระนามพระยาเวห์ (ปฐก 4:26)
3.โนอาห์ : การถวายเครื่องบูชาของโนอาห์เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า
ซึ่งพระองค์ทรงอำนวยพระพรและโดยทางโนอาห์ พระองค์ก็ทรงอำนวยพระพร
การสร้างโลก ทั้งมวล : (เมื่อน้ำลด) โนอาห์สร้างแท่นบูชาพระเจ้าและเลือกเอา
สัตว์และนกประเภทไม่มีมลทินบางตัว มาเผาถวายที่แท่นนั้น (ปฐก : 8:20)
4.อับราฮัม : ดวงใจของอับราฮัม "อยู่ภายใต้พระวาจา" ท่าน "เชื่อฟังสุดใจ"
การตัดสินใจตามพระประสงค์ของพระเจ้าเป็นแก่นแท้ของการภาวนา
การภาวนาของอับราฮัม แสดงออกด้วยกิจการ ท่านเป็นคนเงียบ ท่านสร้างพระแท่น
ถวายแด่พระเจ้าในทุกที่ที่เดินทางไป (เทียบ ปฐก 12:4, 7,8 ; 13:4,18……)
5.โมเสส : รูปแบบการภาวนาโมเสสคือการภาวนาเพื่อวอนขอความช่วยเหลือ
เริ่มจากการที่พระเจ้าทรงเรียกโมเสสจากพุ่มไม้ที่ลุกเป็นไฟ ภาพนี้เป็นภาพลักษณ์
ของการภาวนา ในธรรมประเพณีทางด้านจิตใจของชาวฮีบรูและคริสตชน
คือ พระเจ้าพบกับมนุษย์แบบสองต่อสอง (อพย 3:1-10) และตรัสกับโมเสส
เหมือนมิตรสหายสนทนากัน (อพย 33:11) และยังเป็นรูปแบบ แห่งการภาวนา
แบบรำพึง เพราะโมเสสมักจะขึ้นภูเขาเพื่อสนทนาและฟังพระองค์เป็นเวลายาวนาน
6.ดาวิด : เป็นรูปแบบของการภาวนาเพื่อผู้อื่น และภาวนาเพื่อการสำนึกผิด
(เทียบ 1พศด 21:17) และท่านให้ความสำคัญกับการภาวนาโดยคิดที่จะสร้าง
พระวิหาร (1พศด 22)
7.เอลียาห์ : เป็นรูปแบบแห่งความเชื่อในการภาวนา ความเพียรทนและความสัตย์ซื่อ
ในการภาวนา ท่านภาวนาเพื่อบุตรของแม่หม้าย (เทียบ 1พกษ 17:7-24)
ภาวนาวอนขอไฟ เพื่อเผาผลาญเครื่องบูชา (1พกษ 18:37)
กิจกรรม : ให้ผู้เรียนได้ค้นคว้ารูปแบบการภาวนาของบรรดาบุคคลสำคัญในพระคัมภีร์
แล้วสรุปถึงวิธีการและผลของการภาวนา จากนั้นออกมารายงาน หรือให้แสดงละคร
จำลองเหตุการณ์การภาวนาของบุคคลใดบุคคลหนึ่งจากพระคัมภีร์ และให้ฝึกภาวนา
ตามรูปแบบที่ได้เรียนรู้
พระเยซูเจ้ากับการภาวนา
ชีวิตทั้งชีวิตของพระเยซูเจ้าทรงเป็นชีวิตแห่งการภาวนา เป็นต้นก่อนที่จะกระทำกิจการ
ที่สำคัญ ๆ พระองค์จะทรงภาวนาเป็นพิเศษ
ให้ผู้เรียนได้ศึกษาการภาวนาของพระเยซูคริสต์โดยค้นคว้าจากพระคัมภีร์
ฉบับคาทอลิก แล้วให้เติมคำหรือประโยคให้ถูกต้องตามต้นฉบับพระคัมภีร์
ลงในช่องว่างเหล่านี้
1. พระเยซูเจ้าทรงภาวนาก่อนเข้าสู่ภารกิจของพระองค์ (ลก 3.21)
ขณะนั้นประชาชนทั้งหมดกำลังรับพิธีล้าง พระเยซูเจ้าทรงรับพิธีล้างด้วย
และขณะที่ทรง..................อยู่นั้น ท้องฟ้าก็เปิดออก และ................
เสด็จลงมาเหนือพระองค์ มีรูปร่าง ที่เห็นได้ดุจ.....................
แล้วมีเสียงจากสวรรค์ว่า ".........................................................."
2. พระเยซูเจ้าทรงภาวนาตอนประจักษ์พระวรกาย (ลก 9.28)
หลังจากพระเยซูเจ้าตรัสเรื่องนี้ประมาณ...............วัน
พระองค์ทรงพา ..........................ขึ้นไปบนภูเขาเพื่อ..................................
3. พระเยซูเจ้าทรงภาวนาก่อนเข้ารับทรมาน (ลก 22.41-44)
พระองค์เสด็จห่างออกไปจากบรรดาศิษย์ประมาณระยะ...................
ทรงคุกเข่าลง ...................................พระองค์ทรงอยู่ในความทุกข์กังวล
อย่างสาหัส จึงทรง ........................อย่างมุ่งมั่นยิ่งขึ้น พระเสโทตกลงบนพื้นดิน
ประดุจ..............................
4. ก่อนการเลือกสาวก (ลก 6.12-13)
ครั้งนั้น พระองค์เสด็จไปบนภูเขาเพื่อ...............................
และทรง ........................ต่อพระเจ้าตลอดทั้งคืน ครั้นถึงรุ่งเช้า
พระองค์ทรงเรียก................................ เข้ามา
แล้วทรงเลือกไว้.................คน ประทานนามว่า "..................................."
5. พระองค์ทรงใช้เวลาเช้าเพื่อภาวนา
วันต่อมา พระองค์ทรงลุกขึ้นตั้งแต่......................
เสด็จออกจากบ้านไปยัง................. และทรง................................
พระเยซูเจ้าทรงสดับฟังคำภาวนาของเรา(CCC 2616)
ในประวัติของพระเยซูเจ้า พระองค์ทรงสดับฟังและประทานให้ตามคำขอของการภาวนา
ด้วยความเชื่อ ให้เราศึกษาจากตัวอย่างเหล่านี้ แล้วสรุปใจความสำคัญลงในช่องที่ให้ไว้
1. คนโรคเรื้อน (มก 1:40-41)
…………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………
2. ปลุกบุตรสาวของไยรัสให้คืนชีพ (มก 5:36)
…………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………
3. ทรงรักษาบุตรของหญิงชาวซีโรฟีนีเซีย(มก 7:29)
…………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………
4. ผู้ร้ายกลับใจ(ลก 23:39-43)
…………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………….
พระเยซูทรงสดับฟังคำภาวนาแม้ว่าผู้ที่ต้องการจะไม่ได้ร้องขอ
1. ชายสี่คนหามคนอัมพาตมาให้พระองค์ทรงรักษา(มก 2:5)
…………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………
2. หญิงที่เป็นโรคตกเลือด(มก.5:28)
…………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………
3. หญิงคนบาปชโลมน้ำหอมที่พระบาทของพระเยซู(ลก 7:37-38)
…………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………