ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCCESE

ccpcommandment06.jpgพระบัญญัติประการที่หก
อย่าทำอุลามก



51. เราจะต้องรับผิดชอบความเป็นชายหรือหญิงของเราอย่างไร
    
(2331-2336, 2392-2393)
พระเป็นเจ้าได้ทรงสร้างมนุษย์ให้เป็นชายและหญิง โดยให้มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน และทรงให้มีความรักและความสนิทสัมพันธ์ต่อกัน มีชีวิตอยู่เพื่อกันละกัน เรามนุษย์จึงควรยอมรับเอกลักษณ์ทางเพศของตนเอง

52. การถือพรหมจรรย์คืออะไร
    
(2337-2338)
ความถือพรหมจรรย์ คือการยอมรับและปฏิบัติตนตามเพศของตนเองอย่างดี โดยเคารพต่อร่างกายของตนเองและผู้อื่น  รักษาตัวเองให้บริสุทธิ์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางเพศใดๆก่อนที่จะแต่งงาน

53. เราจะการรักษาพรหมจรรย์หรือคุณธรรมความบริสุทธิ์ทางเพศได้อย่างไร
    
(2339-2341)
เราต้องฝึกหัดการควบคุมตนเอง ควบคุมประสาทสัมผัสของตนเอง การปฏิบัติคุณธรรมและบัญญัติของพระเจ้า การสวดภาวนาอย่างสม่ำเสมอ การสำรวมตน การยึดแบบอย่างของนักบุญและเป็นต้นองค์พระเยซูเจ้า

54. เราทุกต้องดำเนินชีวิตความบริสุทธิ์อย่างไร

(2348-2350, 2394)
เราทุกคนจะต้องดำเนินชีวิตด้วยความบริสุทธิ์ ด้วยการยึดเอาแบบอย่างของพระเยซูคริสตเจ้าเราแต่ละคนจะต้องดำเนินชีวิตที่บริสุทธิ์ตามสถานภาพชีวิตของตน สำหรับบางคนที่ถือพรหมจรรย์เพื่อถวายตัวแด่พระเจ้าก็คือว่าเป็นวิธีการอันสูงส่งในการอุทิศตนแด่พระเป็นเจ้าด้วยหัวใจที่ไม่แบ่งแยก แต่สำหรับคนที่คนแต่งงานก็ปฏิบัติความบริสุทธิ์โดยการถือซื่อสัตย์ต่อคู่สมรสของตน และสำหรับผู้ที่ไม่แต่งงานก็ดำเนินชีวิตความบริสุทธิ์ในการรู้จักบังคับควบคุมใจและกายตนเอง

55. บาปหนักที่ผิดต่อความบริสุทธิ์มีอะไรบ้าง
    
(2351-2359, 2396)
บาปหนักหรือเบาของบาปที่ผิดต่อความบริสุทธิ์ ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้กระทำและลักษณะของการทำผิด บาปที่ได้ชื่อว่าผิดต่อความบริสุทธิ์ เช่น การมีชู้ การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง การล่วงประเวณี สื่อสามก การโสเภณี การข่มขืน การมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน บาปเหล่านี้เป็นการแสดงออกของกิเลสตัณหา การกระทำเช่นนี้จะเป็นการทำที่หนักขึ้นถ้ากระทำกับผู้เยาว์ 

56. อำนาจฝ่ายบ้านเมืองมีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องความบริสุทธิ์อย่างไร
    
(2354)
อำนาจฝ่ายบ้านเมืองในฐานะเป็นผู้ส่งเสริมความเคารพต่อศักดิ์ศรีของบุคคล จะต้องมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้ปฏิบัติในเรื่องของความบริสุทธิ์ เช่นการออกกฎหมายที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเผยแพร่สื่อลามก โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน

57. สามีภรรยาจะต้องแสดงออกถึงความรักของการเป็นคู่สมรสกันได้อย่างไร
 
(2360-2361, 2397-2398)
สามีภรรยาที่ได้รับศีลล้างบาปแล้ว และได้รับความศักดิ์สิทธิ์ด้วยศีลสมรสมี จะต้องดำเนินชีวิตดังนี้คือ รักกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซื่อสัตย์ต่อหัน ไม่หย่าร้าง และเปิดทางสู่การมีบุตรและการอบรมเลี้ยงดูบุตร

58. การคุมกำเนิดจะถูกต้องตามหลักศีลธรรมได้เมื่อใด
 
(2368-2369, 2399)
การคุมกำเนิดเป็นการแสดงความรับผิดชอบแง่หนึ่งของการเป็นบิดามารดา แต่จะสอดคล้องกับหลักศีลธรรม คือไม่เป็นการคุมกำเนิดเพราะถูกบังคับจากภายนอก ไม่ใช่เพราะความเห็นแก่ตัว คาทอลิกสามารถคุมกำเนิดได้ด้วยวิธีทางธรรมชาติ นั้นคือ การควบคุมระยะเวลาและการใช้ช่วงเวลาที่ไม่ทำให้เกิดการปฏิสนธิ

59. การคุมกำเนิดวิธีใดที่ไม่ถูกต้องตามหลักศีลธรรม

(2370-2372)
ทุกการกระทำต่อไปนี้เป็นการผิดต่อศีลธรรม เช่น การทำหมันโดยตรง หรือการคุมกำเนิด ซึ่งขัดขวางการให้กำเนิด เช่น ถุงยางอนามัย การใช้ยาคุมกำเนิด การใช้ยาขับ และวิธีอื่นๆที่ไม่ใช่วิธีคุมกำเนิดทางธรรมชาติ

 60. เหตุใดการผสมเทียมและการทำให้ตั้งครรภ์เทียมจึงผิดต่อกฎศีลธรรม
    
(2373-2377)
การทำเช่นนี้ผิดต่อกฎศีลธรรมเพราะแยกการบังเกิดบุตรออกจากกิจกรรมที่คู่สมรสใช้ในการมอบตนแก่กันและกัน ทำให้เทคโนโลยีเข้ามากำหนดแหล่งที่มาและจุดหมายปลายทางของมนุษย์  ยิ่งกว่านั้น การผสมเทียมและการทำให้ตั้งครรภ์เทียมเป็นการกระทำให้ตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยี ซึ่งหมายความว่ามีบุคคลภายนอกเข้ามาก้าวก่ายคู่สมรส ละเมิดสิทธิของบุตรที่จะเกิดจากพ่อและแม่ที่เขารู้จักและมีความผูกพันกันโดยทางการแต่งงาน เป็นสิทธิจำเพาะของคู่สมรสที่จะเป็นพ่อแม่โดยอาศัยกันและกันเท่านั้น

 61. คาทอลิกถือว่าบุตรคือใคร
    
(2378)
บุตรเป็นพระพรของพระเป็นเจ้า เป็นของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการแต่งงาน เป็นผลของกิจการเฉพาะของคู่สมรสที่เป็นพ่อแม่ของเขา และยังมีสิทธิที่จะได้รับความเคารพในฐานะบุคคลตั้งแต่ขณะที่เกิดการปฏิสนธิในครรภ์ของมารดา

62. คู่สมรสต้องทำอย่างไรเมื่อมีบุตรไม่ได้
     
(2379)
เมื่อพวกเขาไม่อาจจะได้รับพระพรของการมีบุตรได้  หลังจากที่คู่สมรสได้พยายามพึ่งพาการแพทย์ที่ถูกต้องตามกฎหมายจนสุดความสามารถ พวกเขาสามารถแสดงความใจกว้างด้วยการยอมรับหรือการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม หรือบริการรับใช้สังคมเพื่อประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์

 63. การทำผิดต่อศักดิ์ศรีของการแต่งงานมีอะไรบ้าง
     
(2380-2391, 2400)
ความผิดต่อศักดิ์ศรีของการแต่งงานมีดังนี้ คือ การมีชู้ การหย่าร้าง การมีคู่ครองหลายคนในเวลาเดียวกัน การมีเพศสัมพันธ์ภายในเครือญาติ การอยู่ด้วยกันโดยไม่ได้แต่งงาน การมีสามีหรือภรรยาน้อย และการผิดประเวณีก่อนหรือนอกการแต่งงาน

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์