บทเรียนที่ 1 เดือนกรกฎาคม 1994 หัวข้อเรื่อง ครอบครัวเพื่อความรัก ความรักเพื่อครอบครัว จุดมุ่งหมาย เพื่อปลุกจิตสำนึกผู้เรียน (นักเรียน) และนำเข้าสู่ปีครอบครัวสากล ร่วมกับนานาชาติและพระศาสนจักร |
ขั้นที่ 1 กิจกรรม
1. ให้นักเรียนดูโลโก้ปีครอบครัวสากล (ใบที่แนบมาด้วย)
2. ครูพูดคุยและถามนักรเยนว่า
- “ดูซิว่าโลโก้นี้เป็นรูปอะไร?”
- “มีความหมายอะไร?”
3. ครูเขียนคำตอบของนักเรียนบนกระดานดำ
ขั้นที่ 2 วิเคราะห์
ครูเขียนคำตอบของนักเรียนบนกระดานดำอาจมีดังนี้
- เช่น รูปอักษรจีน เลขหนึ่ง หัวใจ ฯลฯ
ครูเฉลย โลโก้นี้เป็นสัญลักษณ์ของครอบครัว
มีหัวใจสองดวง ดวงใหญ่กับดวงเล็ก
ดวงใหญ่เป็นสัญลักษณ์ของพ่อแม่
ดวงเล็กเป็นสัญลักษณ์ของลูก
รูปหลังคาเปรียบเหมือนกับบ้าน
สรุป ภาพที่แสดงข้างบนนี้ คือโลโก้ประจำปีครอบครัวสากล สหประชาติได้กำหนดให้ปี 1994 เป็นปีครอบครัวสากลและได้เลือกโลโก้นี้เป็นสัญลักษณ์ของครอบครัว
ถ้าดูให้ดีก็จะเห็นว่ารูปนี้ประกอบด้วยหัวใจสองดวง ดวงใหญ่กับดวงเล็ก ดวงใหญ่เป็นสัญลักษณ์ของพ่อแม่ ดวงเล็กเป็นสัญลักษณ์ของลูก รูปนี้มีลักษณะเหมือนกับบ้าน ซึ่งเป็นที่อยู่ของครอบครัว สมาชิกของครอบครัวอยู่อย่างสนิทสนมในบ้าน แต่อย่างไรก็ตาม มีส่วนหนึ่งของครอบครัวที่เปิดอยู่เพื่อชี้ให้คิดถึง อุปสรรคและความไม่แน่นอนของความสุขในชีวิตครอบครัว และการเปิดตัวเองสู่โลกภายนอก
ขั้นที่ 3 คำสอน
1. พระศาสนจักรสากลร่วมรณรงค์เพื่อครอบครัวสากล โดยสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 ได้ให้คำขวัญว่า “ครอบครัวเพื่อความรัก ความรักเพื่อครอบครัว” โดยพระองค์ประสงค์ที่จะเชื้อเชิญคริสตชนทุกคนให้เปลี่ยนแปลงการประพฤติปฏิบัติในชีวิตโดยเอาความรักเป็นศูนย์กลางของชีวิต ให้ความรักครองบ้านและครอบครัว และเพื่อให้ตนเองได้เป็นเชื้อแป้งที่จะฟูขึ้นในหัวใจของครอบครัวมนุษยชาติ ด้วยความรักและความเห็นใจซึ่งกันและกัน คำวขวัญนี้จะเป็นไหได้ต้องอาศัยพระเจ้า เพราะพระเจ้าเป็นองค์ความรัก “ครอบครัวเพื่อความรัก ความรักเพื่อครอบครัว” นั้นจะปฏิบัติได้เต้องอาศัย 3 สิ่งคือ
การภาวนา เพราะการภาวนาทำให้เราเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้า และยังทำให้ทุกคนเป็นพี่น้องกันอย่างแท้จริง
ห่วงใย ครอบครัวคือสถาบันอันดับแรกที่เราได้รับการปลูกฝังคุณค่าที่ดีงามและเรียนรู้ชีวิตฉันท็พี่น้อง ซึ่งหมายถึงการรักและเห็นใจ การใส่ใจกันและกัน การเปิดเผยจริงใจ และการเคารพนับถือ โดยธรรมชาติแล้วชีวิตหมายถึงการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน นี้เป็นความห่วงใยกันและกันโดยทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในครอบครัว
แบ่งปัน เมื่อทุกคนใส่ใจอย่างจริงจังซึ่งกันและกัน ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นคือ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่นที่ขัดสน เพราะเป็นการแสดงความรัก ความรักเพื่อคนยากจน เมื่อเราแบ่งปันแก่คนยากจนก็เท่ากับว่าเราได้ให้แก่พระคริสตเจ้าเอง เพราะพวกเขาเป็นที่โปรดปรานของพระเป็นเจ้า นักบุญเลโอ ผู้ยิ่งใหญ่ได้เทศน์สอนเกี่ยวกับการแบ่งปันนี้ว่า “มื้อที่อดที่สุดของคนร่ำรวย ก็คือมื้อที่อิ่มหนำของคนจน”
2. สหประชาชาติกำหนดให้ปีนี้เป็นปีครอบครัวสากลโดยมีคำขวัญว่า “สร้างประชาธิปไตยน้อย ๆ ในหัวใจของสังคม” (และมี “โลโก้” ที่นักเรียนเห็นในกิจกรรมแรก) หมายความว่า มนุษย์กำลังมุ่งไปสู่ประชาธิปไตย สหประชาชาติต้องการสร้างประชาธิปไตยในครอบครัว ประชาธิปไตยหมายถึงการเคารพสิทธิและหน้าที่ของกันและกันในครอบครัว เริ่มตั้งแต่พ่อแม่ซึ่งมีหน้าที่ดูแลสมาชิกคือลูกของครอบครัว และลูกเองก็ต้องมีหน้าที่ด้วยเช่นกันคือเชื่อฟัง นบนอบ สิทธิหน้าที่ของครอบครัวในศาสนาคือความรักนั่นเอง
3. รัฐบาลไทยกำหนดให้ปีนี้เป็นปีครอบครัวไทยเช่นกัน คำขวัญก็คือ “ความรักความห่วงใยคือสายใยของครอบครัว” ซึ่งคำขวัญของรัฐบาลไทยนั้นมีความสอดคล้องและเหมือนกับคำขวัญของพระศาสนจักรในประเทศไทยมาก คำขวัญของพระศาสนจักรในประเทศไทยมีว่า “ความห่วงใยคือสายสัมพันธ์ในครอบครัว” ซึ่งมุ่งเน้นบทบาทของบุคคล 4 กลุ่ม โดยเฉพาะบทบาทในด้าน “ห่วงใย” ต่อกันและกัน ซึ่งปัจจุบันจะขาดหายไปเพราะสภาพแวดล้อมและสาเหตุบางอย่าง
ความห่วงใย ทำให้ “พ่อ” อยู่ติดบ้าน รีบกลับบ้านเมื่อเสร็จงาน ขยันทำมาหากิน เก็บหอมรอมริบ ใกล้ชิดแม่ ลูก บุพการี สนใจทุกข์สุข สุขภาพ ปัญหา
ความห่วงใย ทำให้ “แม่” อยู่ติดบ้าน รีบกลับบ้านเมื่อเสร็จงาน สลวนงานบ้าน งานครัว ประหยัด ใกล้ชิดพ่อ ลูก บุพการี สนใจทุกข์สุข สุขภาพ ปัญหา
ความห่วงใย ทำให้ “ลูก” อยู่ติดบ้าน อยู่ในโอวาท ไม่เที่ยวเตร่ คบเพื่อจนเลยเถิด ช่วยเหลือการงานทางบ้าน ใกล้ชิดพ่อ แม่ บุพการี สนใจทุกข์สุข สุขภาพ ปัญหา
ความห่วงใย ทำให้ “ผู้สูงอายุ” มีความหมายในครอบครัว เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวไม่ใช่ส่วนเกิน ไม่อ้างว้างโดดเดี่ยว แบ่งปันประสบการณ์ชีวิต ให้คำแนะนำสั่งสอนแก่ลูกหลาน
4. ทุกหน่วยงานทั้งภาคศาสนาและภาครัฐบาลได้ให้ความสนใจต่อครอบครัวเป็นอย่างมาก เพราะว่าครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่มีความสำคัญต่อชีวิต และในฐานะที่ครอบครัวเป็นหัวใจของสังคม ครอบครัวมีสิทธิ์ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ครอบครัวเป็นสถานที่แรกที่พ่อแม่ให้การศึกษาอบรมแก่บุตร ฉะนั้นเราที่เป็นสมาชิกครอบครัว เราจะต้องช่วยกันสร้างความรักให้เกิดขึ้นในครอบครัว โดยมีความห่วงใยต่อกันและกัน ให้สมกับที่เราเป็นคริสตชน
ขั้นที่ 4 ปฏิบัติ
ก. ข้อควรจดจำ
1. ความห่วงใยทำให้ “พ่อ” อยู่ติดบ้าน รีบกลับบ้านเมื่อเสร็จงาน ขยันทำมาหากิน เก็บหอมรอมริบ ใกล้ชิดแม่ ลูก บุพการี สนใจทุกข์สุข สุขภาพ ปัญหา
2. ความห่วงใย ทำให้ “แม่” อยู่ติดบ้าน รีบกลับบ้านเมื่อเสร็จงาน สลวนงานบ้าน งานครัว ประหยัด ใกล้ชิดพ่อ ลูก บุพการี สนใจทุกข์สุข สุขภาพ ปัญหา
3. ความห่วงใย ทำให้ “ลูก” อยู่ติดบ้าน อยู่ในโอวาท ไม่เที่ยวเตร่ คบเพื่อจนเลยเถิด ช่วยเหลือการงานทางบ้าน ใกล้ชิดพ่อ แม่ บุพการี สนใจทุกข์สุข สุขภาพ ปัญหา
4. ความห่วงใย ทำให้ “ผู้สูงอายุ” มีความหมายในครอบครัว เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวไม่ใช่ส่วนเกิน ไม่อ้างว้างโดดเดี่ยว แบ่งปันประสบการณ์ชีวิต ให้คำแนะนำสั่งสอนแก่ลูกหลาน
ข. กิจกรรม
วาดโลโก้ ประจำปีครอบครัวสากลพร้อมทั้งคำขวัญ 4 คำขวัญไว้ใต้โลโก้
ค. ปฏิบัติ
ให้นักเรียนเขียนคำขวัญสำหรับครอบครัวของนักเรียนเอง แล้วนำเอาไปติดที่บ้าน จะเป็นหน้าท่าน หรือหน้าประตูบ้านก็ได้