ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCCESE

สารบัญ

  1. ชีวิตกับศีลศักดิ์สิทธิ์

โดยการปกป้อง หล่อเลี้ยง แนะนำ และความรักลูก

1) ส่งเสริมการเฉลอมฉลองพิธีกรรมในบ้าน ชีวิตทุกชีวิตเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะเป็นสถานที่ห่อหุ้มความรัก ความเรียบง่าย การเป็นประจักษ์พยานในชีวิตประจำวัน” (FC, 1981, ข้อ, 53)

  • คุณพ่อคุณแม่อธิบายเปรียบเทียบเชื่อมโยงระหว่างการรับทานอาหารที่บ้านกับงานเลี้ยงอาหารศีลมหาสนิทที่ลูกได้เห็นในพิธีมิสซาฯ (เช่น ที่บ้านเรามารวมกันที่โต๊ะอาหาร เราสวดภาวนาขอพระเจ้าอวยพรเราและอาหารที่เรารับประทาน เราพูดคุยกัน เล่าเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้น เรารับประทานอาหารด้วยกัน เราขอบคุณและเราก็ลุกขึ้นจากโต๊ะไปทำธุระส่วนตัวของเรา” “ที่วัดเรามีคนมาร่วมมากกว่าที่บ้านที่นั้นเรามีพระสงฆ์อยู่ร่วมโต๊ะด้วย เราได้รับฟังเรื่องต่างๆเกี่ยวกับพระเจ้าและพระเยซูเจ้า และคำสอนให้เรารักผู้อื่น พระเยซูมอบอาหารฝ่ายจิตของพระองค์แก่เราในรูปของปังและเหล้าองุ่น เราขอบพระคุณพระเจ้า เราร้องเพลงและจากกันได้สิ่งที่ดีให้คุณพ่อคุณแม่ พี่ๆน้องๆ เพื่อนๆ และคนอื่นๆ)
  • คุณพ่อคุณแม่อธิบายเปรียบเทียบ โดยยกเอาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เด็กสัมผัสหรือมีประสบการณ์ในชีวิตวัน เช่น ขนมปัง อาหาร น้ำมัน น้ำ การแสดงความเคารพ และการยกโทษให้แก่กันและกัน เพื่อเชื่อมโยงกับพิธีมิสซาฯเพื่อให้เด็กเข้าใจธรรมล้ำลึกของพิธีมิสซา
  • คุณพ่อคุณแม่จัดเวลาภาวนาพร้อมกับลูก และสอนให้ลูกสวดบทภาวนาทางการของพระศาสนจักร

2) การรับศีลล้างบาป

  • คุณแม่คุณแม่เตรียมนำลูกไปรับศีลล้างบาป โดยตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะนำลูกเข้าสู่ชีวิตความเชื่อ
  • คุณพ่อคุณแม่ควรให้พี่ๆมีส่วนร่วมในการเข้ารับพิธีล้างบาปของน้อง
  • คุณพ่อคุณแม่ภาวนาวอนขอการทรงนำของพระเจ้าเพื่อจะได้ทำหน้าที่การเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่ดี และเป็นตัวอย่างที่ดีในความเชื่อ
  • คุณพ่อคุณแม่เข้าใจความหมายของการเจิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจิมในศีลล้างบาป

3) การทำหน้าที่ถ่ายทอดความเชื่อตามที่ได้สัญญาไว้

  • คุณพ่อคุณแม่อุทิศตนในการรับผิดชอบโดยการดำเนินชีวิตที่เป็นแบบอย่าง เป็นประจักษ์พยานแสดงให้เห็นคุณค่าพระวรสารในชีวิต โดยการมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและกันและกับลูกของตน
  • คุณพ่อคุณแม่ภาวนาเพื่อพระหรรษทานสำหรับการดำเนินชีวิต

4) ช่วงเวลาแห่งความตาย

  • คุณพ่อคุณแม่อธิบายเรื่องความตายให้เหมาะสมกับวัยของลูก โดยใช้ตัวอย่างความตายหรือการสูญหายที่เด็กเข้าใจได้ (เช่น ความตายของนก สัตว์ หรือดอกไม้)
  • คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการอธิบายแบบหลักวิชาการ หรือขั้นตอนพัฒนาการ

5) การมีส่วนร่วมกับชีวิตของพระศาสนจักรอย่างเต็มที่

  • คุณพ่อคุณแม่จะต้องเป็นประจักษ์พยานโดยการมีส่วนร่วมกับกิจการของพระศาสนจักรอย่างกระตือรือร้น (เช่น การไปร่วมมิสซาประจำทุกวันอาทิตย์ การรับศีลอภัยบาปและศีลมหาสนิท การภาวนา และการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่ทางวัดจัดขึ้น

เครื่องหมายที่แสดงถึงความเติบโตฝ่ายจิตโดยผ่านทางกิจกรรมต่างๆที่ได้กล่าวไว้ ก็คือ เด็กอายุแรกเกิดถึงอายุสามขวบ แสดงออกให้เห็นได้ด้วยพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้

  • แสดงให้เห็นถึงความประหลาดใจ พิศวง ตื่นเต้น ยินดี ในขณะที่ร่วมพิธีกรรมทั้งที่บ้านและที่วัด
  • เริ่มทำการเชื่อมโยงระหว่างบ้านกับวัด
  • แสดงให้เห็นความตั้งใจในการร่วมพิธีกรรมเพิ่มขึ้น
  • เริ่มจำบทเพลงหรือบทสวดสั้นๆ ซ้ำๆ ได้มากขึ้น
  • จำเรื่องพระเยซูและคำสอนของพระองค์ได้บ้าง
  • เริ่มตั้งคำถามและการพูดถึงพิธีกรรมด้วยภาษาของเขาได้
  • อธิบายความเข้าใจพิธีล้างบาปของตนโดยใช้ภาพถ่ายในวันรับศีลล้างบาป
  • เข้าใจว่าเทียนและเสื้อขาวที่ได้รับในวันรับศีลล้างบาปเป็นสิ่งที่พิเศษกว่าเทียบและเสื้อตัวอื่นๆ
  • ภาวนาด้วยภาษาของตนเอง และภาวนาทางการบางบทได้

 

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์