ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCCESE

เทคนิคการจำชื่อพระคัมภีร์
        
ในการท่องจำนั้นมีอยู่สองระยะ ระยะแรกเป็นขั้นของการจำได้ว่าเป็นอะไร สามารถแยกแยะเรื่องที่ต้องจำกับเรื่องอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องได้ และสามารถออกเสียงได้ถูกต้อง ภาษาอังกฤษว่า Recognition  เช่น รู้ว่านี้คือหนังสือพระคัมภีร์ ส่วนระยะที่สองนั้นคือการสามารถเรียงลำดับได้ (Sequencing)

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการใช้เทคนิกเพื่อความจำ
 
            1. การท่องเป็นภาษาอังกฤษว่า Go Eat Peaches and Cream เพื่อจำว่าบทจดหมายของนักบุญเปาโลในหนังสือ Galatians Ephesians Philippians และ Colossians

            2.  การแบ่งพระธรรมใหม่ออกเป็นตอน ๆ ให้ 8 เล่มแรก(ตั่งแต่มัทธิว จนถึงโครินทร์ฉบับที่สอง) เป็นตอนที่หนึ่ง 9 เล่มหลังเป็นตอนที่สอง (ฮิบรูถึงวิวรณ์) ส่วนตรงกลางคือการท่องในข้อที่หนึ่ง

            3. การใช้เครื่องฉายข้ามศรีษะ โดยเริ่มจากรายชื่อพระธรรมใหม่ 8 เล่มแรกก่อน อ่านออกเสียงให้เด็กฟังหลายๆครั้ง แล้วให้เด็กๆอ่านตามให้ถูกต้อง เมื่อแสดงรายชื่อแล้วผู้นำอาจจะสรุปย่อเกี่ยวกับหนังสือแต่ละเล่ม เช่น …..นักบุญเปาโลเดินทางไปหลายที่หลายแห่งเพื่อพบปะกับกลุ่มคริสตชนตามที่ต่างๆ วิธีเดียวที่จะทำให้กลุ่มคริสตชนที่ท่านเคยไปเยื่ยมนั้นจดจำท่านได้ดีก็คือการการเขียนจดหมายไปถึงกลุ่มคริสตชนนั้น เรามีการนำเอาจดหมายเหล่านั้นมาอ่านในพิธีมิสซาที่ผู้อ่านมักจะกล่าวนำว่า “บทอ่านจากจดหมายของนักบุญเปาโลถึง….” เช่น เอเฟซัสเป็นจดหมายที่นักบุญเปาโลเขียนถึงชาวเมืองเอเฟซัสเป็นต้น…จากนั้นผู้นำให้เด็กท่องจำเงียบๆสักสองหรือสามนาที แล้วจึงปิดเครื่องฉายนั้น ให้อาสาสมัครออกมาท่องให้ฟังหลายๆคน (การเปิด-ปิดเครื่องฉายนี้ ผู้นำอาจจะใช้ลูกเล่นต่างๆได้)

            4. การใช้เกมบิงโกเพื่อการจำรายชื่อโดยการใช้ชื่อพระธรรมใหม่แทนหมายเลข

            5. ให้เขียนคำย่อของพระธรรมใหม่ไว้ในบัตรคำขนาดพอสมควร 1 ชุด แล้วเขียนชื่อเต็มของพระธรรมใหม่อีก 1 ชุด แล้วให้เด็กๆจับคู่ให้ถูกต้อง

            6. ใช้เครื่องบันทึกเสียงเด็กที่ให้พูดซ้ำรายชื่อหนังสือตามลำดับ โดยการกดปุ่ม pause ไว้ในการอัดเสียงเด็กแต่ละคน  แล้วเปิดให้พวกเขาได้ฟังรายชื่อพระคัมภีร์ทั้งหมดจากเสียงของพวกเขาเองหรือบันทึกเสียงของเด็กที่ออกมาท่องจำรายชื่อหนังสือตามลำดับ คนละสามชื่อ แล้วเปิดให้เด็กๆได้ฟังเสียงของตนเอง หลังจากที่ได้ท่องจำกันเสร็จแล้ว

            7. ใช้เกม “วนลูกบอล” โดยให้เด็กๆนั่งเป็นวงกลม ผู้นำเริ่มเริ่มบอกรายชื่อพระธรรมใหม่เล่มแรกคือ “มัทธิว” แล้วส่งบอลให้เด็กคนไหนก็ได้ เด็กที่ได้รับลูกบอลจะต้องบอกชื่อหนังสือพระคัมภีร์ที่อยู่ถัดไปคือ “มาร์โก” ถ้ายากเกินไปผู้นำอาจจะปรับกติกาให้เหมาะกว่าก็ได้

            8. ใช้เกม “เผือกร้อน” การเล่นเหมือนกับการเล่นเก้าอี้ดนตรี คือให้ส่งของไปรอบๆวงเมื่อเพลงจบเผือกร้อนนั้นอยู่ที่ใคร คนนั้นต้องท่องรายชื่อพระธรรมใหม่ออกมาตามจำนวนที่กำหนด

            9. เล่นคลื่น Wave แบบการเชียร์ฟุตบอล คือการที่ให้เด็กคนเดียวหรือกลุ่มละสองสามคนก็ได้ยืนขึ้นแล้วตะโกนชื่อพระคัมภีร์ออกมาดังๆแล้วนั่งลง คนหรือกลุ่มที่อยู่ถัดไปจะต้องตะโกนชื่อพระคัมภีร์ที่มีลำดับต่อไปออกมาแล้วทำในลักษณะเดียวกันจนกว่าจะครบ

           10. ถ้าเด็ก ๆ นั่งโต๊ะเป็นแถวอาจจะให้แข่งกันบอกชื่อตามลำดับที่ละคนว่าแถวใดจะเร็วกว่ากัน

           11. แบ่งเด็กออกเป็นสองกลุ่มให้เด็กออกมาเขียนบนกระดานที่ละคน คนละชื่อ กลุ่มไหนเสร็จก่อนชนะ

           12. ผู้นำเขียนรายชื่อของหนังสือทั้ง 27 เล่มลงในฝาน้ำขวด แล้วให้ตัวแทน(คนเดียวหรือกลุ่ม)ออกมาเรียงลำดับให้ถูกต้อง

           13. แจกรายชื่อพระคัมภีร์ทั้ง 27 เล่มให้เด็กแต่ละคนแล้วให้นำมาเรียงลำดับให้ถูกต้อง

           14. เขียนรายชื่อแต่ละเล่มลงในจานกระดาษแต่ละใบ แล้วให้นำมาหนีบไว้ตามลำดับที่ราวตากเสื้อผ้า โดยใช้คีมหนีบบผ้า

           15. เขียนรายชื่อพระคัมภีร์ลงในกระดาษเล็ก ๆ ขนาดไพ่ แจกให้เด็กแต่ละคนแต่ห้ามอ่านก่อน เมื่อได้แล้วให้เอาไพ่นั้นปิดไว้ที่หน้าผากทันที เมื่อครบแล้วให้ทุกคนออกไปค้นหาว่าเขาควรจะต้องต่อข้างหลังใคร โดยการใช้คำถามเดียวเท่านั้นคือ “ฉันอยู่หลังยอห์นใช่ไหม”

          16. การแต่งเป็นเพลงหรือคำคล้องจองให้เด็กร้องหรือท่อง

          17. ใครมีวิธีอะไรอีกให้เพิ่มเติมได้

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์