การจัดค่ายคำสอน เกิดขึ้นภายใต้ความเชื่อที่ว่า
"การใช้ชีวิตร่วมกันเป็นกลุ่ม ก่อให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาบุคคลตามจิตตารมณ์พระวรสารได้"
การใช้ชีวิตร่วมกัน
การให้ผู้เรียนคำสอนมา “พักแรมด้วยกันในระยะเวลาที่กำหนดแน่นอนเพื่อดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับหลักธรรมที่ตนได้เรียนรู้ “
เป็นกลุ่ม
การจัดให้ผู้เรียนได้มีชีวิตกลุ่มที่จำลองชีวิตครอบครัว โดยมีครูคำสอนเป็นดังคุณพ่อคุณแม่ และสมาชิกต่างๆเป็นดังพี่เป็นน้อง ร่วมเรียน ร่วมเล่นด้วยกัน ตลอดระยะเวลาแห่งการเข้าค่ายฯ
การเรียนรู้
จุดประสงค์ของการเรียนรู้ภายในค่ายฯ มีอยู่ 3 ประการคือ
พัฒนา
จากการใช้ชีวิตร่วมกัน การร่วมกิจศรัทธา การเรียนรู้หลักธรรม การร่วมกิจกรรมต่างๆ ผู้เรียนหรือชาวค่ายฯ ย่อมพัฒนาตนได้อย่างครบถ้วน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา จิตใจ และศรัทธา
จิตตารมณ์พระวรสาร
คือหัวใจของค่ายคำสอน คือแนวทางในการดำเนินชีวิต
ค่ายคำสอนเป็นค่ายเพื่อชีวิต เป็นค่ายแห่งความรัก ค่ายที่มีพระเยซูคริสต์เป็นบ่อเกิด เป็นแรงจูงใจเป็นเนื้อหา และเป็นจุดหมายปลายทาง
เพื่อความเข้าใจถึงแนวทางในการดำเนินงานค่ายคำสอนเราอาจจะอธิบายได้ดังนี้
เหตุที่ค่ายฯ ถูกสมมุติให้เป็นรูปท่อที่มีทางเข้าและทางออกทางเดียว ดังนั้นผู้ที่ผ่านเข้าไปทางท่อจะหลีกเลี่ยงการปะทะและสัมผัสกับสิ่งต่างๆภายในท่อไม่ได้ตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้าไปจนกระทั่งก้าวสุดท้ายที่ออกมาจากท่อ
การจัดการที่เหมาะสม จะก่อนให้เกิด "ประสบการณ์" ต่อชีวิตและพฤติกรรมของบุคคลและกลุ่มนั้นๆ ผลที่ได้ออกมาภายหลังจากกลุ่มออกมาจากท่อแล้ว ควรจะเป็นเช่นด้านขวาของรูปที่ 2 ซึ่งจะเห็นว่ากลุ่ม ก. ทางซ้ายมือนั้นก่อนที่จะเข้าไปในท่อมักจะเป้นกลุ่มที่หลวม ความสัมพันธ์ของบุคคลต่างๆ ภายในกลุ่มยังไม่ค่อยดี แต่ภายหลังที่ค่ายฯดำเนินไป โอกาสที่สมาชิกภายในกลุ่ม ได้ใช้ชีวิตร่วมกัน สวดภาวนาด้วยกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน แลกเปลี่ยนทางด้านความสุขสมหวัง พลาดพลั้ง เสียใจ ฯลฯ ภายในค่ายฯ กลุ่มก็จะเริ่มแน่นขึ้น สนิทสนมกันขึ้น
ฉะนั้น ภายหลังจากค่ายสิ้นสุดลง กลุ่ม ก. ก็จะกลายเป็นกลุ่ม ก+ หมายถึง กลุ่มที่พัฒนาแล้ว เป็นกลุ่มที่มีความสนิทสนมกลมเกลียวเป็นพี่เป็นน้อง ตามวัตถุประสงค์ของค่ายคำสอน