1. ความหมายและจุดประสงค์
การกำหนดเป้าหมายและการเขียนจุดประสงค์เป็นก้าวแรกที่จะทำให้เกิดความมั่นใจว่าการจัดค่ายฯของท่านได้ตอบสนองความต้องการของผู้เข้าค่ายฯ
จุดประสงค์เป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของการจัดค่ายฯ ทั้ง”ผู้จัดค่ายฯ”เองและ “ผู้ที่เข้าค่ายฯ” เพราะ
จุดประสงค์มีอยู่ 2 ระดับ คือ ระดับหลักสูตรและระดับบทเรียน ซึ่งเราจะเรียกจุดประสงค์ระดับหลักสูตรว่า เป็น ”เป้าหมายของค่ายคำสอน” เป้าหมายของค่ายฯนี้เป็นสิ่งแรกที่เขียนขึ้นเพื่อ “บ่งบอกถึงความรู้หรือพฤติกรรมโดยทั่วๆที่คาดหวังว่าผู้เข้าค่ายฯจะได้รับเมื่อสิ้นสุดการเข้าค่ายฯแล้ว”
ส่วนจุดประสงค์ระดับบทเรียนนั้น เราเรียกว่าเป็นจุดประสงค์ของกิจกรรมต่างๆที่เขียนล้อมาจาก “เป้าหมายของค่ายฯ” (จุดประสงค์ระดับหลักสูตร) เพื่อจะบ่งบอกถึงความรู้หรือทักษะหรือพฤติกรรมเฉพาะที่ต้องการจะให้เกิดอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อที่จะได้บรรลุถึง ”เป้าหมายของค่ายฯ” ที่ตั้งขึ้น
เป้าหมายของค่ายฯ : “เมื่อสิ้นสุดการเข้าค่ายคำสอนนี้แล้ว ผู้เข้าค่ายฯสามารถเข้ารับพิธีรับศีลมหาสนิทครั้งแรกได้โดยมีความเข้าใจและมีความพร้อมที่เหมาะสม”
จุดประสงค์ : “เมื่อสิ้นสุดบทเรียนหรือกิจกรรมนี้แล้ว ผู้เข้าค่ายฯสามารถอธิบายได้ว่าพระเยซูทรงตั้งศีลมหาสนิทครั้งแรกเมื่อไร””
จากตัวอย่างนี้ เราจะเห็นได้ว่าเป้าหมายของค่ายฯ ครั้งนี้คือค่ายของการเตรียมเด็กเพื่อการรับศีลมหาสนิทครั้งแรก ในการรับศีลฯนั้นจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจหลายประการ ความรู้ถึงกำเนิดของศีลมหาสนิทเป็นความรู้ที่จำเป็นประการหนึ่งเพื่อนำไปสู่การรับศีลฯที่ถูกต้อง ดังนั้นเราจึงตั้งจุดประสงค์ระดับบทเรียนที่แคบลงมาประการหนึ่งก็คือการเรียนรู้เรื่องที่พระเยซูทรงตั้งศีลมหาสนิท ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งในหลายๆเรื่องของความรู้เรื่องศีลมหาสนิท
เมื่อท่านจะกำหนดเป้าหมายของการจัดค่ายฯ ท่านต้องตรวจสอบ
เป้าหมายของค่ายฯจะต้องตอบคำถามว่า “จัดค่ายเพื่ออะไร” เช่นค่ายเพื่อฟื้นฟูจิตใจ ค่ายเพื่อเตรียมรับศีลมหาสนิทครั้งแรก ค่ายเพื่อเตรียมการรับศีลกำลัง ค่ายพระคัมภีร์ ฯลฯ
เป็นการระบุรายละเอียดของความรู้หรือทักษะหรือพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ โดย