จิตวิทยาการสอนคำสอนตามวัยสำหรับเด็กอายุ 8- 9 ปี
วัย 8 ขวบ

  ในวัยนี้เหมาะที่ครูจะฝึกอบรมพวกเขาให้มีสำนึกแห่งการรู้จักตนเอง
 (Self – awareness) ต่อสังคม ความสนใจเกี่ยวกับชีวิตของตนเองและผู้อื่น
 ที่อยู่รอบข้าง การยอมรับตนเอง และความหมายของอิสรภาพ
 ลักษณะเด่นของเด็กในวัยนี้คือการเข้าสนิทสนมกับกลุ่มเพื่อนสนิทของตน
 หรือมีจิตตารมณ์กลุ่มที่เหนียวแน่นมาก การเข้าสังกัดกลุ่มเพื่อนนี้เป็นโอกาสให้เด็กๆ
  ได้รับประสบการณ์แห่งคำว่ามิตรภาพ ยังเป็นการตรวจสอบความสามารถในการเป็น
 ผู้นำหรือผู้ตาม การรู้จักทำงานร่วมกันกับผู้อื่นและเป็นการประเมินตนเองในการมี
 ความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ของเขา เด็กในวัยนี้ต้องการการยอมรับเข้าเป็นส่วนหนึ่ง
 ของกลุ่มและการประกาศอย่างสาธารณะถึงความสำเร็จหรือการได้รับเกียรติที่เป็น
 เครื่องหมาย สัญลักษณ์ พวกเขาต้องการการสรรเสริญ การชื่นชมจากคนอื่นๆ ในกลุ่ม
 โดยการแสดงออกมาให้เห็นว่าเขาสามารถทำอะไรบางสิ่งได้อย่างดี
 เด็กในช่วงวัยนี้เริ่มรู้สึก ได้ถึงความแตกต่างของผู้คนรอบข้าง เขาอยากรู้อยากเห็น
 เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ มากขึ้น คนแปลกหน้า คนต่างชาติ ต่างศาสนาและเผ่าพันธุ์ สนใจ
 เกี่ยวกับผู้คนต่างๆ สถานที่และสิ่งใหม่ๆ จากสิ่งต่างเหล่านี้พวกเขาสามารถเสริมสร้าง
 ทัศนคติของตนเองขึ้นมาได้
 ในวัยนี้เด็กๆ จะเข้าใจความหมายของคำว่าบาปก็โดยการเปรียบเทียบกับความสัมพันธ์
 นั่นคือบาปคือการปฏิเสธความรักของพระเจ้าปฏิเสธที่จะตอบสนองความรักของพระ
 เจ้าโดยรู้ตัวและเต็มใจในการกระทำสิ่งที่ผิด
 เด็กในวัยนี้มีอุปสรรคเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างสิ่งที่ถูกกับสิ่งที่ผิด พวกเขามักจะคุ้น
 เคยกับความรู้สึกที่ผิด ซึ่งอาจมาจากการกระทำผิดๆ จริงๆ ของตน แต่ความรู้สึกนี้อาจ
 จะเข้าไปเชื่อมโยงอย่างผิดๆ จริงๆ ของตน แต่ความรู้สึกนี้อาจจะเข้าไปเชื่อมโยง
 อย่างผิดๆ กับพฤติกรรมที่ถูกต้องก็ได้ ดังนั้นเด็กๆ ควรเรียนรู้ที่จะแยกแยะระหว่าง
 ความผิดกับสิ่งที่ผิด พวกเขาอาจจะเกิดมีมโนธรรมที่ละเอียดอ่อนหรือเป็นโรคประสาท
 เล็กน้อยเกี่ยวกับความประพฤติหรือเกิดความกลัวที่จะกระทำทุกสิ่งทุกอย่าง
 เมื่อโอกาสอำนวยให้

เด็กวัย 9 ขวบ
 เด็กในวัยนี้ควรที่จะให้การอบรมเป็นพิเศษในเรื่องที่เกี่ยวกับการเป็นเพื่อหรือมิตรภาพ
 ที่มีพื้นฐานอยู่บนความรัก เด้กในวัยนี้กำลังจะเข้าสู่พิธีการรับมหาสนิทครั้งแรกและศีล
 แห่งการคืนดี จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ครูจะต้องช่วยเด็กเหล่านี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ
 -เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ่งและรักศีลมหาสนิท โดยสำนึกว่าศีลนี้เป็นของขวัญ
 ที่พระเยซูมอบให้แก่เราด้วยความรัก
 -ให้เกิดการยอมรับว่าเราต้องเป็นทุกข์เสียใจที่เราได้ผิดพลาดต่อเรื่องของความรัก
 ของพระเจ้าและมีความตั้งใจอย่างมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้นเพื่อจะได้
 เข้ารักบการให้อภัยจากพระเจ้า การคืนดีเป็นเครืองหมายของการให้อภัยและความ
 มีเมตตาของพระบิดาที่น่ารักและเป็นเครื่องช่วยให้เรามุ่งมั่นที่จะแสดงความรักต่อ
 พระเจ้าดังเช่นที่พระองค์ทรงรักเรา
 เด็กๆ ต้องการความเป็นมิตรและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับครูของพวกเขา ครูจึงควรที่จะ
 ต้องสังเกตสิ่งที่พวกเขากระทำและชมเชยความพยายามของพวกเขาด้วย พวกเขา
 ต้องการรูปแบบเพื่อจะได้เลียนแบบและเรียนรู้จากคำแนะนำที่ได้รับอย่างเคร่งครัด

 วัตถุประสงค์สำหรับการเรียนของวัยนี้คือ
 1.ให้มีประสบการณ์แห่งการเป็นส่วนหนึ่งของหน้อง
 2.ตระหนักถึงคุณค่าของคำว่ามิตรภาพ
 3.สามารถแยกแยะถูกและผิดได้
 4.รักศีลมหาสนิท
 5.พัฒนาทัศนคติแห่งการรับใช้

รายละเอียดของเด็กวัย 9 ขวบ
 เด็กวัย 9 ขวบต้องการที่จะเป็นอิสระ แม้ว่าเขายังต้องพึ่งพาผู้ใหญ่อยู่ บางวันเขาก็ดู
 เหมือนว่าจะเป็นผู้ใหญ่อย่างน่าประหลาดใจ แต่อีกบางวันเขากลับทำเหมือนเด็กทารก
 ถ้าหากเขาถูกดุด่าว่ากล่าวอย่างไม่เหมาะสมหรือแสดงความไม่พอใจเขาก็จะกลับเป็น
 กบฏและไม่ยอมสมาคมด้วยในสายตาของเขาเขารู้สึกว่าตนเองโตแล้วและอยากให้
 เคารพความเป็นอิสระของเขา
 วัยนี้มีลักษณะเด่นอยู่กับการผูกพันอยู่กับกลุ่มเพื่อน การรับอิทธิพลจากเพื่อน
 การแข่งขันและการร่วมมือกับผู้อื่น ความผูกพันปรับระดับจากครอบครัวมาสู่กลุ่มเพื่อนๆ
 สนใจในเรื่องของ “กลุ่ม” สูงส่วนการละเล่นนั้นยังแยกกันเล่นแยกกันอยู่ระหว่าง
 เด็กชายและเด็กหญิง
 เมื่อเด็กชอบเล่นและทำงานเป็นกลุ่ม กิจกรรมกลุ่มในห้องคำสอนจึงเป็นการเปิดโอกาส
 ให้พวกเด็กๆ ได้เรียนรู้ถึงทักษะที่แสดงออกถึงความรักและความอดทน จึงเป็นสิ่งสำคัญ
 ที่ครูควรจัดกิจกรรที่ส่งเสริมการทำงานเป็นกล่า หรือกิจกรรมที่ต้องเป็นการร่วมมือกัน
 และจัดพลัดเปลี่ยนหน้าที่กันรับผิดชอบในหน้าที่ต่างๆ ครูจะต้องสนับสนุนให้เด็กๆ
 รู้จักการประนีประนอม การแบ่งปันอุปกรณ์และขนมนมเนย การรับฟังเมื่อเขาพูดและ
 การยอมรับความคิดเห็นของเขา
 นักจิตวิทยาจำนวนมากยอมรับว่า เด็กในวัยนี้สามารถใช้เหตุผลในการตัดสินใจได้แล้ว
 เด็กๆ เริ่มที่จะเข้าใจหลักศีลธรรมที่เป็นนามธรรมได้บ้าง โดยจะตัดสินเรื่องคุณธรรม
 ได้เป็นกรณีๆ ตามสถานการณ์ที่เคยได้รับการเรียนรู้มาแล้ว เขาสามารถตัดสินเรื่อง
 “ถูก” หรือ “ผิด” ได้ตามเนื้อหาแต่ยังขาดการตริตรองหรือการเชื่อมโยงกับสภาพ
 แวดล้อมต่างๆ
 ความขัดแย้งหรือความสับสนที่เกิดกับเด็กในวัยนี้ก็คือสิ่งที่เคยได้รับการอบรมสั่งสอน
 จากทางบ้านกับสิ่งที่ได้จากกลุ่มเพื่อน การให้เด็กรู้จักการแก้ปัญหาทางศีลธรรมด้วย
 ตัวเองนั้น ครูสามารถให้เด็กได้เล่นบทบาทสมมติ การให้เล่นแบบนี้จะทำให้เด็กเกิด
 ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่นรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรากระตุ้นจิตสำนึก และจูงใจให้คิด
 หาทางแก้ไขปัญหาและผลที่จะตามมา
 วัย 9 ขวบนี้มีความโน้มเอียงที่จะยึดกฎและระเบียบเป็นธรรมชาติ เขาจะเสริมสร้าง
 ลักษณะนิสัยของตนเองและง่ายที่จะยอมรับรูปแบบทางพฤติกรรมที่เขารู้จักและชื่นชอบ
 สิ่งนี้จึงเป็นจุดสำคัญที่เราสามารถวางพื้นฐานลักษณะนิสัยตามวิถีทางแห่งชีวิตคริสตชน
 และโน้มน้าวให้เด็กกระทำในสิ่งที่ดีได้ง่ายและด้วยความยินดีเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการ
 กระทำอะไรแต่เพียงภายนอก ครู เช่น พระเจ้าทรงต้องการความรักแท้ของเรามากกว่า
 กระทำแต่เพียงภายนอก พระองค์ต้องการให้เราเคารพสิทธิของผู้อื่นเพราะเราห่วงใย
 ต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเขามากกว่ากลัวพระองค์จะลงโทษเป็นต้น
 

    (สารคำสอนฉับที่ 62 เดือนสิงหาคม 1999)