ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCESE

จิตวิทยาการสอนคำสอนตามวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี

 เด็กในวันนี้เริ่มที่จะเข้ารับการอบรมสั่งสอนเรื่องของศาสนาได้อย่างเป็นทางการแล้ว
เราสามารถเริ่มแนะนำให้พวกเขารู้จักองค์พระผู้เป็นเจ้าได้ โดยผ่านทางเรื่องราวต่างๆ จากพระคัมภีร์
การนำเสนอเรื่องเหล่านี้มิใช่เพื่อให้เกิดความประทับใจหรือเพลิดเพลินเท่านั้น แต่ยังเป็นการหว่าน
เมล็ดพันธุ์แห่งความเชื่อและทัศนคติที่มีต่อพระเจ้าในระยะยาวอีกด้วย

        อันที่จริงแล้ว เรื่องราวต่างๆ ในพระคัมภีร์ล้วนแต่เป็นเรื่องที่อมตะ เรื่องที่น่าสนใจและน่าจดจำทั้งนั้น
เช่น นอแอ ยอแซฟและพี่น้อง โยนาในท้องปลาวาฬ เป็นต้น
        ดังนั้นบทเรียนหลักๆ สำหรับเด็กในวัยนี้ ควรที่จะมาจากเรื่องเล่าต่างๆ เหล่านี้ โดยใช้ภาษาที่ง่าย
ต่อความเข้าใจของพวกเขา การใช้เพลง การทำใบงานที่ง่านแต่ท้าทายความสามารถและให้หัวข้อสำหรับเรียน โดยมีพื้นฐานจากความคิดที่มีอยู่ในพระคัมภีร์
        เมื่อนำเสนอเรื่องในพระคัมภีร์ไม่ว่าในเรื่องใด การอธิบายความหมายในแต่ละเรื่องนั้นจะต้องเป็นเรื่อง
ที่เกี่ยวพันธ์กับชีวิตประจำวันของเด็ก ตัวอย่างเช่น เมื่อเราเล่าถึงเรื่องยอแซฟและพี่น้อง เราก็สามารถพูดถึง
ผลเสียของการชิงดีชิงเด่นในสังคมของเด็กๆ ได้

 วัตถุประสงค์ของการสอนในวัยนี้
1. สนับสนุนเด็กๆ ได้แบ่งปันความรู้สึกของตนเองแก่กันและกัน
2. ช่วยเด็กๆ ให้รู้จักประยุกต์เรื่องในพระคัมภีร์เข้าสู่ชีวิตจริง
3. พัฒนาลักษณะที่ดีที่มีตามธรรมชาติของเด็กๆ ให้เจริญก้าวหน้าขึ้น
4. ช่วยแก้ไขลักษณะที่ยังไม่ดีของเด็กๆ

ลักษณะของเด็กวัยอนุบาล
         เด็กในวัยนี้มีความสามารถยิ่งใหญ่ในการเรียนรู้เรื่องพระเจ้าและยินดีที่จะเปิดตัวเองต้อนรับพระเจ้า
เขาพร้อมที่จะให้ความไว้วางใจและมีความต้องการที่จะเป็น ผู้ให้และผู้รับในเรื่องของความรัก
 เรากำลังอยู่ในกระแสแห่ง “การสื่อสร” เด็กๆ สมัยนี้ถูกสื่อต่างๆ เข้าครอบงำทั้งทางเสียงและทางภาพ
การนำเสนอด้วยการ์ตูน การโฆษณา ล้วนแต่นำข่าวสารที่สร้างค่านิยมที่หลากหลายให้กับพวกเขา
รายการทางโทรทัศน์ที่นำเสนอการ์ตูนและภาพยนตร์ล้วนแต่สอนพวกเขาว่า คนที่แข็งแรงที่สุดย่อมเป็น
ผู้ที่ดีที่สุด นั่นคือสามารถที่จะตบตีหรือทำร้ายผู้ใดก็ได้
         เด้กในวัยนี้ยังมีความรู้สึกที่ฝังแน่นอยู่กับเรื่องความยุติธรรม ทุกคนจะต้องได้รับอะไรที่เท่าเทียมกัน
ถ้าฉันใจดีต่อเธอ เธอต้องใจดีต่อฉัน ใครที่เล่นตามกฎกติกาย่อมเป็นผู้ชนะ ถ้าหากมีเรื่องกัน
การลงโทษจะต้องทัดเทียมกัน ไม่มีมากหรือน้อยกว่า
        สิ่งที่ท้าทายเราในการสอนคำสอนก็คือการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีตามธรรมชาติของเด็กๆ ให้เติบโตขึ้น
และให้ชัดเจนขึ้นในขณะที่ยังโน้มน้าวได้ง่ายในวัยนี้ แม้ว่าเมื่อโตขึ้นเขาอาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างก็ตาม
 เด็กในวัยนี้มักจะให้ความไว้เนื้อเชื่อใจกับคุณพ่อคุณแม่ คุณครูและผู้ใหญ่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่เขารู้สึกว่า
ให้ความเป็นธรรมแก่เขา แต่ถ้าเขาเห็นว่าผู้ใหญ่ไม่ยุติธรรม เขาจะลดความไว้เนื้อเชื่อใจลง
เขาต้องการที่จะมองเห็นว่าพระเจ้ายังคงทำงานอยู่ในท่ามกลางความอยุติธรรมด้วย
และความยุติธรรมของพระเจ้าจะมีชัยชนะในที่สุด แน่นอน เด็กๆ ยังมัลักษณะบางสิ่งบางอย่าง
ที่ยังไม่ค่อยดีนัก คำว่า “ของฉัน” “ตัวฉัน” เป็นสิ่งที่เด็กในวัยนี้ ได้เรียนรู้ตั้งแต่ยังแบเบาะ ซึ่งจะค่อยๆ พัฒนา
จาก “การสงวนไว้สำหรับตนเอง” ไปสู่ “การเห็นแก่ตัว” “การรังแกผู้อื่น” และ “การมีความลำเอียง”
แต่ก็มีเด็กบางคนที่มีจิตใจกว้างขวางและใจดีโดยธรรมชาติ แต่เด็กส่วนใหญ่เรียนรู้จัก
           การแบ่งปันจากตัวอย่างและจากการที่ได้รับคำชมเชยและความสนใจต่อความใจกว้างของเขา
จากผู้ใหญ่ เด็กๆ จะรู้จักการแบ่งปันอย่างเต็มใจเมื่อเขาเติบโตขึ้นและมีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้น เด็กในวัยสี่ห้าขวบบางคนอาจจะเป็นคนที่ไม่ยอมแบ่งปันอะไรให้ใครเลยก็ได้ เขาจะมีความสุขอยู่กับสิ่งที่เขาสนใจ เล่นอยู่ได้ตามลำพัง แต่เด็กส่วนใหญ่เข้าสู่วัยสิบขวบก่อนที่จะเรียนรู้ถึงความสุขจากการแบ่งปันสิ่งที่ผู้อื่นต้องการและความสุขจากการที่ทำให้ผู้อื่นมีความสุข

ลักษณะต่อไปนี้จะช่วยให้ผู้ทำงานได้เกิดความเข้าใจเด็กๆ และสามารถสร้างความคาดหวัง
ในการทำงานกับพวกเขาได้อย่างถูกต้อง

 1.ชอบเรื่องเล่าและการร้องเพลง
 2.เรียนรู้จากการกระทำ มิใช่การให้นั่งอยู่เฉย
 3.เรียนรู้โดยการเลียนแบบอย่างจากผู้ใหญ่ ดังนั้นการสอนต้องมีแบบอย่างและบอกถึงสิ่งที่คาดหวัง
 จะให้เกิดขึ้น เช่น กล่าวว่า “ให้เราหลับตาลง คิดถึงพระเยซูและวอนขอความช่วยเหลือจากพระองค์”
 ขณะที่บอกเด็กๆ ครูต้องหลับตาและภาวนาด้วย
 4.ยากต่อการให้เปลี่ยนจากกิจกรรมหนึ่งไปสู่อีกกิจกรรมหนึ่ง เป็นต้น จากการให้เลิกเล่นอิสระ
 เพื่อให้เข้าสู่กิจกรรมการเรียน ให้ครูสอนซ้ำเรื่องที่สอนแล้วหลายๆ ในแต่ละสัปดาห์
 และให้ใช้เพลงเพื่อการเปลี่ยนจากกิจกรรมหนึ่งไปสู่อีกกิจกรรมหนึ่ง เพลงจะช่วยให้เด็กๆ เคลื่อนที่
 ได้อย่างเต็มใจมากขึ้น
 5.เด็กๆ มีความต้องใจในช่วงสั้นๆ
 (เช่น สำหรับเด็กวัย 3 ขวบ ประมาณ 5 นาที ส่วน 4 – 5 ขวบ ประมาณ 10 นาที)
 เด็กในวัย 3 ขวบ ชอบที่จะเล่นตามลำพัง แม้ว่าจะยืนอยู่เคียงข้างเพื่อน เขาต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์
 กับผู้อื่นแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
 เด็กในวัย 4 และ 5 ขวบชอบที่จะเล่นกับเพื่อเพียงคนคนหรืสองคนไม่ชอบกลุ่มใหญ่ การแนะนำสมาชิกใหม่
 กับเพื่อนเพียงคนหรือสองคนจะช่วยลดความกลัวที่จะแนะนำเขาต่อหน้ากลุ่มใหญ่โดยทันทีทันใด

แนวความคิดต่อไปนี้จะช่วยให้ท่านได้ลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น                                                
 และจะช่วยให้เกิดความร่วมมือและพฤติกรรมเชิงบวกแก่เด็กๆ ของท่าน
 1.เด็กทุกคนต้องการคววามรักและการยอมรับ ท่านจะต้องสร้างสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นในขณะที่ท่านอยู่กับพวกเขา
 2.ใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเพื่อการควบคุมชั้น เช่น การปรบมือหรือการเป่านกหวีด
หรือการใช้เพลงใด
 เพลงหนึ่งที่ตกลงกันไว้ เพื่อให้เด็กรู้ว่าตนเองต้องหยุดกระทำในสิ่งที่กำลังกระทำอยู่และต้องให้ความสนใจครู
 3.ใช้คำพูดเพื่อยืนยันถึงพฤติกรรมที่ต้องการบอกกับเด็กๆ เช่น “ครูชอบเพื่อนๆ ที่นั่งข้างหลังจังเลย
 เพราะเขากำลังแบ่งดินสอกันใช้”
 4.เด็กๆ ชอบที่จะเป็นผู้ช่วยเหลือ ท่านควรเปิดโอกาสให้พวกเขาได้เข้าช่วยเหลืออะไรที่พอทำได้
 เช่น การแจกกระดาษ การเก็บขยะ การลบกระดาน การช่วยถือของ การแบ่งความรับผิดชอบ
 จะช่วยให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าห้องเรียนนี้เป็นของพวกเขา
 5.เด็กๆ ต้องการที่จะรู้ว่าพวกเขาจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อจะได้ไม่ประพฤติผิดหรือสับสน
 ดังนั้นควรที่จะตั้งกฎง่ายๆ สำหรับการปฏิบัติร่วมกันในห้องเรียน
 6.เด็กแต่ละคนมีรูปแบบในการเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
 เด็กๆ จะเรียนรู้ได้ดีถ้าท่านจับจุดเขาถูกต้อง
 7.สุดท้าย การภาวนาอย่างสม่ำเสมอสำหรับเด็กๆ แต่ละคนที่พระเจ้าส่งมาให้ท่าน
 ตระหนักถึงภารกิจและบทบาทของท่านในฐานะที่ท่านเป็นเครื่องมือแห่งความรักของพระเยซูคริสตเจ้า

    (สารคำสอนฉับที่ 60 เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 1999)

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 "บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง"

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์