ความรับผิดชอบ
ความหมาย ยอมรับผลที่ดี หรือไม่ดี ในกิจการที่ได้กระทำลงไป
ข้อคิด “จิตสำนึกผิดชอบก็เหมือนดินสอ ที่ต้องเหลาให้แหลมคมอยู่เสมอ”
“อย่าโยนความผิดให้คนอื่น แต่จงรับผิดชอบชีวิตของตนในทุก ๆ ด้าน”
“จงยึดหลัก 3 ค.ไว้ให้มั่น คือ เคารพตนเอง เคารพผู้อื่น และมีความรับผิดชอบในการกระทำทั้งปวงของตน”
“จำไว้ว่า กรขาดความใส่ใจ และละเลย นำมาซึ่งความเสียหายราคาแพง”
“จงใส่ใจกับหน้าที่การงานของตนให้ดี”
“เมื่อรู้ตัวว่าทำผิดพลาดไปแล้ว จงรีบแก้ไขเสียโดยพลัน”
ประโยชน์ของการมีความรับผิดชอบ
1.ทำให้งานและกิจกรรมต่าง ๆ สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.ทำให้เราเป็นคนซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
3.เกิดการเติบโตและพัฒนาทางด้านจิตใจมากขึ้น
4.มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านชีวิตและการงาน
5.เป็นที่ยอมรับ เชื่อถือ และเป็นที่ไว้ใจของคนอื่น
โทษของการไม่รับผิดชอบ
1.เกิดความเสียหายต่อการงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ
2.ไม่เป็นที่ยอมรับ และเชื่อถือของสังคม
3.กลายเป็นคนขี้กลัว ไม่มั่นใจในตนเอง
4.ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต และหน้าที่การงาน
เนื้อหาในพระคัมภีร์
“ทุกคนจงสำรวจการกระทำของตนเอง จึงจะมีอะไร ๆ ที่จะอวดได้ในตัวไม่ใช่เปรียบกับผู้อื่น เพราะว่าทุกคนต้องรับภาระของตัวเอง” ( กท. 6 : 4 )
บทความ สารภาพผิดดีกว่าแก้ตัว
ไม่มีใครไม่เคยทำอะไรผิดพลาด เพราะผู้ทำงานทุกคนจำต้องมีผิดพลาดด้วยกันทั้งนั้น ไม่ผิดพลาดเพราะความประมาท ก็ผิดพลาดเพราะความสะเพร่า ผิดพลาดเพราะความหลงลืม ผิดพลาดเพราะจงใจทำ
รวมความแล้ว คนทำงานทุกคนย่อมต้องมีข้อบกพร่อง ถึงกับมีคำคมน่าฟังประโยคหนึ่งว่า “คนที่ทำอะไรไม่ผิดคือคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลย” เป็นคำคมที่น่าฟังและจริงแท้ อย่างไรก็ตาม หากผิดพลาดไปแล้ว ก็ไม่ควรดื้อดึงดันทุรัง หรือหาเหตุมาแก้ตัวด้วยประการต่าง ๆ ควรจะยอมรับผิดแต่โดยดี เพราะการทำผิดแล้วไม่ยอมรับผิดมิใช่วิสัยของบัณฑิต แม้ว่าจะหาทางแก้ตัวรอดไปได้ ก็เชื่อว่าไปได้ไม่นาน เขาจับไม่ได้คราวนี้ ก็อาจจับได้ในคราวหน้า หากจับได้แล้ว เขาจะไม่ยอมให้อภัยเลย แทนที่จะได้รับโทษแต่น้อยก็กลับได้รับโทษมาก แทนที่จะได้รับเมตตาสงสารกลับได้รับความเกลียดชัง ฉะนั้น ผู้ที่ทำผิดแล้ว สารภาพผิดโดยชื่นตา จึงเป็นบุคคลที่ควรสรรเสริญ
พฤติกรรมที่ปรารถนาให้ผู้เรียนปฏิบัติ
+ เพื่อให้เกิดจิตสำนึกของความรับผิดชอบในเหตุการณ์ หรือกิจกรรมต่าง ๆ
+ มีความกล้า และเสียสละในการแสดงตัวต่อหน้าผู้อื่น