ความพอดี
ความหมาย ควรแก่ความต้องการ เต็มตามต้องการ เหมาะเจาะ เท่าที่ต้องการ เต็ม ควร ถูก ชอบ
ข้อคิด “จงเรียนรู้จากความผิดพลาดของผู้อื่น เพราะคุณไม่อาจมีชีวิตยาวนาน เพียงพอที่จะทำสิ่งเหล่านั้น ทั้งหมดด้วยตัวคุณเอง”
“ในขณะที่กำลังแสวงหาความสุขอันใหญ่หลวงนั้น อย่ามองข้ามความเบิกบาน เล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิต”
ประโยชน์จากการมีความพอดี
1.ชีวิตและหน้าที่การงานประสบความสำเร็จ มีความก้าวหน้า
2.ทำให้เราไม่เห็นแก่ตัว รู้จักแบ่งปันในสิ่งที่เรายังไม่จำเป็นแก่คนอื่นก่อน
3.ชีวิตมีความสุข สดชื่น
4.สังคมอยู่รวมกันอย่างราบรื่น มีสันติ
โทษของการไม่รู้จักความพอดี
1.ชีวิตและหน้าที่การงานอาจล้มเหลว
2.เกิดความเห็นแก่ตัว แก่งแย่งชิงดีกัน
3.กลายเป็นคนโลภมาก ไม่รู้จักพอ เป็นคนทะเยอทะยาน
4.มีความอิจฉาริษยา ชีวิตไม่มีความสุข ไม่สงบ
5.สังคมวุ่นวาย ขาดสันติ
เนื้อหาในพระคัมภีร์
“เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่คนชอบธรรมมี ก็ดีกว่า ความอุดมสมบูรณ์ของคนอธรรมเป็นอันมาก” ( สดด 37 : 16 )
“เพราะว่าเราไม่ได้เอาอะไรเข้ามาในโลกฉันใด เราก็เอาอะไรออกไปจากโลกไม่ ได้ฉันนั้น แต้ถาเรามีอาหารและเสื้อผ้า ก็ให้เราพอใจด้วยของเหล่านั้นเถิด” ( 1 ทธ 6 : 7 – 8 )
บทความ ความพอดี
ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าขาดความพอดีแล้ว มักเกิดผลเสียหายหลายอย่าง รับประทานอาหารมากเกินไปก็อึดอัด ทำให้ท้องเสียท้องเฟ้อ ร้บประทานน้อยเกินไป ก็ทำให้หิวกรุะวนกระวายไม่เป็นอันประกอบการงาน เที่ยวเตร่มากเกินไป ก็ทำให้เสียงานเสียการ เสียเวลาทำมาหากินและมักมีเรื่องบ่อย ๆ ไม่พักผ่อน ก็ขาดความสดชื่น ความคิดไม่ปลอดโปร่ง พูดมากเกินไปก็เพ้อเจ้อ ไร้สาระ
พูดน้อยเกินไปก็กลายเป็นคนถือตัว ขาดเพื่อนฝูง ใช้จ่ายทรัพย์เกินฐานะไปก็ทำให้ยากจนตั้งตัวได้ยาก ตระหนี่เหนียวแน่นเกินไป ก็อดอยากปากแห้ง ขาดความสุข ความสะดวกสบาย
ไม่ว่าจะเป็นในด้านความเป็นอยู่ การสังคม เที่ยวเตร่หาความสำราญ คบเพื่อนฝูงและอื่น ๆ ถ้าไม่ทำให้พอดี ย่อมเสียหายทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนถึงเรื่องทางสายกลางไว้เพื่อให้บุคคลดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม พอเหมาะพอดี ตามควรแก่ฐานะความเป็นอยู่ หากพยายามดำเนินชีวิตตามหลักทางสายกลางนี้ได้ ย่อมเป็นชีวิตที่ประเสริฐ
พฤติกรรมที่ปรารถนาให้ผู้เรียนปฏิบัติ
+ ให้ผู้เรียน รู้จักพอใจในสิ่งที่เราเป็น และเรามีอยู่
+ ให้ผู้เรียน รู้ถึงสถานภาพของตัวเอง ไม่คิดใฝ่ฝันอยากจะเป็นเหมือนผู้อื่น
+ ฝึกให้ไม่เป็นคนทะเยอทะยาน มองโลกด้วยความเป็นจริง