การเห็นอกเห็นใจ
ความหมาย เห็นน้ำใจ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
ข้อคิด
“รักคนที่ไม่น่ารัก”
“ตัดสินผู้อื่นจากจุดยืนของเขา ไม่ใช่จากจุดยืนของเรา”
“อย่าให้ความขัดแย้งเล็ก ๆ น้อย ๆ มาเป็นตัวบั่นทอนมิตรภาพอันดีที่มีต่อกัน”
“อย่าได้หัวเราะเยาะใครที่พลาดพลั้ง หากยังไม่เคยทำสิ่งนั้น”
ประโยชน์จากการเห็นอกเห็นใจกัน
1.เกิดคุณธรรมความเมตตา
2.เกิดพฤติกรรมการช่วยเหลือเกื้อกูล เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การแบ่งปัน
3.ชีวิตมีความสุข เกิดสันติในใจ และในสังคม
โทษของการไม่มีการเห็นอกเห็นใจกัน
1.กลายเป็นคนเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ ไม่มีความเกรงใจ
2.ไม่รู้จักแบ่งปัน และไม่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
3.เกิดการแตกแยก และความไม่สงบในสังคม
4.ชีวิตไม่มีความสุข
เนื้อหาในพระคัมภีร์
“จงเห็นอกเห็นใจช่วยธรรมิกชนเมื่อเขาขัดสน จงมีน้ำใจอัธยาศัยไมตรี”( รม. 12 : 13 )
“จงชื่นชมยินดีกับผู้ที่ชื่นชมยินดี จงร้องไห้กับผู้ที่ร้องไห้” ( รม. 12 : 15 )
“จงช่วยรับภาระของกันและกัน ท่านจึงจะได้ปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระคริสต์” ( กท. 6 : 2 )
“เราขอวิงวอนพวกท่านให้ตักเตือนคนที่เกียจคร้าน หนุนน้ำใจผู้ที่ท้อใจ ชูกำลัง คนที่อ่อนกำลัง และมีใจอดเอาเบาสู้ต่อคนทั้งปวง” ( 1 ธส. 5 : 14 )
“จงระลึกถึงคนเหล่านั้นที่ถูกจองจำอยู่ เหมือนหนึ่งว่าท่านทั้งหลายก็ถูกจองจำ อยู่กับเขาด้วย” ( ฮบ. 13 : 3 )
“ในที่สุดนี้ ท่านทั้งหลายจงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เห็นอกเห็นใจกัน รักกันฉัน พี่น้อง มีจิตใจอ่อนโยนและอ่อนน้อม” ( 1 ปต. 3 : 8 )
“แต่ถ้าผู้ใดมีทรัพย์สมบัติในโลกนี้ และเห็นพี่น้องของตนขัดสน แล้วยังใจจืดใจดำไม่สงเคราะห์เขา ความรักของพระเจ้าจะดำรงอยู่ในผู้นั้นอย่างไรได้” ( 1 ยน. 3 : 17 )
บทความ
เขา …เรา
การเข้าใจตนเองและเข้าใจคนอื่นอย่างดี เป็นกลวิธีที่จะช่วยให้คนเรามี
มนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นได้ ใจเขา ใจเรา สิ่งใดที่เราไม่ชอบ ไม่พึงปรารถนา
สิ่งนั้นเราไม่ควรให้คนอื่น เช่น คำนินทา การใช้คำหยาบ เป็นต้นคนเป็นโรคจิต
คือคนที่คิดว่าฉันเป็นคนอื่น คนเป็นโรคประสาท คือคนที่อยากเป็นคนอื่นหรือ
อยากให้คนอื่นเป็นฉัน ส่วนคนปกตินั้นคือคนที่คิดว่าฉันคือฉัน คุณก็คือคุณ
เป็นตัวของตัวเอง พัฒนาตนเองในสิ่งแวดล้อม ความรู้ และโลกของตัวเอง
เปรียบเทียบกันคนอื่นไม่มากนัก เป็นไปไม่ได้หรอกที่จะให้คนอื่นคิดเหมือนคุณ
รู้สึกเหมือนคุณ ทำเหมือนคุณ ใครจะทำได้อย่างนั้น เพราะเขาคือเขา มิใช่เรา
สักหน่อย แล้วคุณจะหลงผิดไปทำไม ที่จะไปสร้างไปบังคับ หรือตั้งความหวัง
ให้คนอื่นเป็นเช่นคุณ ตรงข้าม คุณควรคิดว่า ในดีมีเสีย ในเสียยังมีดี
ของเน่าเปื่อยนั้นยังเป็นปุ๋ยได้ มองคนและมองตนอย่างไร จึงจะพอดีและสร้างสรรค์
นักจิตวิทยาพูดถึงลักษณะของจิตที่เรามองตนเองและคนอื่นว่ามีอยู่ 3 แบบ คือ
1.มองตนเองว่าเป็นคนด้อยวาสนา ไร้ค่า จะทำให้จิตใจหดหู่ ชอบเก็บตัว
ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
2.มองว่าคนอื่นดีกว่าตน คนอื่นเก่ง ดี มีความสามารถ ชื่นชมคนอื่น
3.มองว่าคนอื่นมีค่า มีความดี
คุณเองก็มีความดี ทำอย่างไรจึงจะช่วยกันสร้างความดีกันได้
คนอยากเป็น อยากมี อยากดี อยากเด่น อยากสุข หนีทุกข์ ไม่ค่อยมองตนเอง
คนให้ความสำคัญกับคนอื่นมากเกินไป ใจจะไม่เป็นสุข ไม่ได้ดั่งหวังก็เป็นเดือด
เป็นแค้น คุณอยากเป็นคนแบบนี้รึเปล่า ? เมื่อเป็นเช่นคนอื่นก็ไม่ดี
จงเป็นตัวของตัวเองสิดีนักหนา เพราะการค้นหาตัวเองให้พบ พัฒนาตนเองให้เต็มที่
ตามความสามารถของตน จะทำให้ไม่หลงเงาตนเอง มีโอกาสพัฒนาตนเองขึ้นไปได้
เรื่อย ๆ ลองสำรวจตนเอง โดยเริ่มจากวามคิดของคุณซิว่า ในแต่ละวันคุณอยากให้
ใครก็ทำหรือคิดอย่างคุณมากน้อยเพียงใด ถ้ามากไป ก็เท่ากับเอาไฟมาสุมไว้ใน
ตนเอง อยากอยู่เย็นและเป็นสุข ปล่อยให้คนอื่นเป็นตัวเขาเถิด วางเฉยเสียบ้าง
จะได้เบาใจ สดชื่นขึ้นเยอะ
พฤติกรรมที่ปรารถนาให้ผู้เรียนปฏิบัติ
+ ให้เราปฏิบัติต่อผู้อื่นเหมือนอย่างที่เราปรารถนาให้เขาปฏิบัติกับเรา
+ รู้จักเห็นใจและช่วยเหลือบุคคลรอบข้าง เมื่อเขาต้องการ
เท่าที่เราสามารถจะช่วยหรือทำได้