ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCCESE

วันพฤหัสฯศักดิ์สิทธิ์(Holy Thursday)
วันพฤหัสฯศักดิ์สิทธิ์(Holy Thursday)
         วันพฤหัสฯศักดิ์สิทธิ์คือวันพฤหัสฯในสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ของเราคริสตชน ในวันนี้เป็นวันสำคัญเพราะเป็นวันระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซูเจ้า คือการรับทานอาหารค่ำครั้งสุดท้ายกับบรรดาอัครสาวกก่อนที่จะถูกจับกุมและรับการพิพากษาให้ประการชีวิตโดยการตรึงร่างไว้กับไม้กางเขน


           การรับทานเลี้ยงอาหารค่ำครั้งสุดท้ายครั้งนี้ถือว่าเป็น “ต้นแบบ” หรือ “กำเนิด” ของพิธีทานเลี้ยงศักดิ์สิทธิ์ที่เราเรียกว่า “พิธีศีลมหาสนิท” หรือ “พิธีบูชามิสซาขอบพระคุณ” นั้นเอง
           ดังนั้นพิธีกรรมสำคัญในวันนี้ประกอบด้วย การรื้อฟื้นคำมั่นสัญญาแห่งการเป็นสงฆ์ พิธีเสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ การระลึกถึงการเลี้ยงอาหารค่ำครั้งสุดท้ายของพระเยซูคริสตเจ้าหรือการล้างเท้าอัครสาวก ซึ่งพิธีกรรมต่างๆเหล่านี้เกี่ยวข้องกับพิธีศีลมหาสนิททั้งสิ้น
          ตั้งแต่เช้าของวันพฤหัสฯพระสังฆราชจะเฉลิมฉลองพิธีบูชามิสซาขอบพระคุณพร้อมกับบรรดาพระสงฆ์ที่อยู่ภายใต้การปกครอง ณ อาสนวิหารประจำสังฆมณฑล(ถ้ามีเหตุผลจำเป็นอาจจะใช้สถานที่อื่นก็ได้)  ทั้งนี้เพื่อแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวของสังฆภาพภายในสังฆมณฑล(เขตปกครอง) ดังนั้นจึงห้ามไม่ให้พระสงฆ์ถวายพิธีบูชามิสซาฯใดๆที่ไม่มีสัตบุรุษเข้าร่วมพิธี แต่ให้มีพิธีมิสซาฯในวัดเพื่อระลึกถึงการทานเลี้ยงอาหารค่ำของพระเยซูเจ้าในเวลาค่ำเท่านั้น

การรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งการเป็นสงฆ์ของพระเยซูคริสตเจ้า
การรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งการเป็นสงฆ์ของพระเยซูคริสตเจ้า

           ในระหว่างพิธีมิสซาฯหลังจากบทเทศน์แล้ว พระสังฆราชจะปราศรัยกับบรรดาพระสงฆ์ในการปกครองของท่านให้ซื่อสัตย์ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยให้รื้อฟื้นคำปฏิญาณที่ได้ให้ไว้กับพระสังฆราชและต่อหน้าพี่น้องสัตบุรุษ 3 ประการ คือ ให้ยึดมั่นคำสัญญาที่ได้ให้ไว้ในวันรับศีลบวช(นบนอบ ยากจน บริสุทธิ์) ให้มีชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์สนิทสนมกับพระเยซูคริสตเจ้า และให้ปฏิบัติหน้าที่โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆและอบรมสั่งสอนสัตบุรุษด้วยความเสียสละซื่อสัตย์

           นอกจากนั้นพระสังฆราชยังได้ขอให้พี่น้องสัตบุรุษได้สวดภาวนาให้พระสงฆ์และพระสังฆราชเองจะได้เป็นนายชุมภาพบาลที่ดี เป็นอาจารย์ และผู้รับใช้ที่ของทุกคน
 
การเสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์
           ต่อจากการรื้อฟื้นและบทภาวนาของมวลชนจะเป็นพิธีเสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ 3 ประเภท คือ น้ำมันเจิมคนไข้ น้ำมันคริสตังค์สำรอง และน้ำมันคริสตมา

น้ำมันเจิมคนไข้ พระสงฆ์จะใช้เจิมทาให้กับบุคคลที่อยู่ในภาวะวิกฤติหรืออันตรายต่อชีวิต เช่น ไม่สบายอย่างหนัก ต้องผ่าตัด ต้องเข้าไปในสถานที่เสี่ยงต่อชีวิต ต้องไปออกรบ ฯลฯ เพื่อขอพระเจ้าประทานพลังกำลังให้สามารถต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางร่างกายและเป็นต้นทางจิตใจ เพราะผลของการรับพิธีเจิมคนไข้นี้อาจจะทำให้ผู้ป่วยหายจากความเจ็บป่วย และช่วยชำระล้างโทษของบาปที่ผู้รับได้กระทำมาในชีวิต

น้ำมันคริสตังค์สำรอง พระสงฆ์จะเจิมทาน้ำมันนี้ให้กับบรรดาผู้ที่สมัครเข้ามาเป็นคริสตชนหลังจากที่ได้เรียนคำสอนจนมีความรู้และความเชื่อในพระเจ้าอย่างพอเพียงแล้ว รวมทั้งเจิมทาให้กับบันดาลูกๆของคริสตชนที่นำมาเข้าพิธีล้างบาปเพื่อเป็นลูกของพระเจ้าอย่างสมบูรณ์

น้ำมันคริสมา เป็นน้ำมันที่ใช้ในหลายโอกาสด้วยกัน คือ เจิมทาให้กับผู้รับศีลล้างบาปใหม่เป็นศีลกำลังหรือรับรองผู้รับศีลล้างบาปให้เป็นคริสตชนที่สมบูรณ์โดยรับพระพรจากพระจิตอย่างสมบูรณ์ เจิมทาที่มือของผู้ที่เข้ารับศีลบวชเป็นสังฆนุกรและพระสงฆ์ เจิมทาที่ศีรษะของพระสังฆราชในพิธีบวชเป็นพระสังฆราช

           น้ำมันคริสตมา โดยปรกติทำมาจากน้ำมันมะกอกอย่างดี(แต่อนุญาตให้ทำจากน้ำมันพืชอื่นๆได้ตามความจำเป็น) ในระหว่าพิธีพระสังฆราชจะผสมน้ำมันหอมหรือเครื่องหอมลงไปในน้ำมันมะกอก น้ำมันหอมนี้หรือที่เรียกว่า Balsam มีคุณสมบัติเป็นเครื่องหอมและเป็นยา ในสมัยโบราณใช้เจิมผู้ที่จะเป็นกษัตริย์และสงฆ์ เป็นเครื่องหมายถึงการประทับอยู่ของคุณความดีและการบำบัดรักษา
 การระลึกถึงการทานเลี้ยงอาหารค่ำครั้งสุดท้ายของพระเยซูเจ้า

 การระลึกถึงการทานเลี้ยงอาหารค่ำครั้งสุดท้ายของพระเยซูเจ้า
          ในตอนค่ำจะมีพิธีบูชามิสซาของพระคุณเพื่อระลึกถึงอาหารค่ำครั้งสุดท้ายของพระเยซูคริสเจ้า เคยมีธรรมเนียมที่ให้วัดต่างๆในสังฆมณฑลทำพิธีต้อนรับน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับการเสกจากพระสังฆราชในตอนเช้าที่อาสนวิหาร บทเทศน์ของพระสงฆ์จะอ้างอิงถึงเหตุการณ์สามประการนี้คือ การรื้อฟื้นคำมั่นสัญญาของการเป็นพระสงฆ์ การตั้งศีลมหาสนิท และความสุภาพถ่อมตนเพื่อรับใช้โดยการล้างเท้าให้บรรดาอัครสาวก
           หลังจากบทเทศน์แล้วมีธรรมเนียมทำพิธีล้างเท้าอัครสาวกโดยการเลือกสัตบุรุษ 12 มาแทนอัครสาวกแล้วพระสงฆ์ทำพิธีล้างเท้าให้ (พิธีนี้ไม่บังคับ) จากนั้นเป็นพิธีรับศีลมหาสนิทซึ่งจะต้องเตรียมแผ่นศีลฯให้เพียงพอสำหรับวันศุกร์ด้วย เพราะวันศุกร์จะไม่มีพิธีบูชามิสซาฯ
           เมื่อรับศีลมหาสนิทเสร็จแล้วจะมีพิธีแห่ศีลมหาสนิทอย่างสง่าไปยังตู้ศีลฯที่จัดเตรียมไว้เป็นพิเศษเพื่อให้สัตบุรุษได้ทำการนมัสการศีลมหาสนิทจนกระทั่งถึงเที่ยงคืน และเชิญชวนให้สัตบุรุษมาภาวนาเฝ้าศีลมหาสนิทในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์