บทที่  29  พระบัญญัติประการ  7 และ 10
การยืมของผู้อื่นใช้
จุดมุ่งหมาย 
ให้เด็กรู้จักคืนของเมื่อยืมมาจากผู้อื่น


 

อุปกรณ์   
นำภาพเด็ก  2  คนมาติด  ในภาพเด็กคนหนึ่งกำลังส่งปากกาให้เด็กอีกคนหนึ่ง
ประสบการณ์  
เราเคยยืมอะไรเพื่อนใช้บ้าง
  -  ปากกา
  -  ดินสอ
  -  สมุด
  -  หนังสือ
  -  สตางค์
 เมื่อเรายืมของเพื่อนมาแล้วเราต้องทำอย่างไร
  -  คืนของนั้นให้เพื่อน
  -  เก็บรักษาของนั้นให้ดี
  -  ไม่ให้เสียหาย

สรุป การรู้จักคืนของที่ยืมมา  เป็นคนที่ซื่อตรงต่อเพื่อนและต่อตัวเอง  เพราะเมื่อเรายืมของเพื่อนมาแล้ว  เราต้องนำกลับไปคืนที่  เพราะของนั้นอาจจะเสียหายได้  และไม่ใช่ของเรา  เราต้องคืนให้แก่เขา

อุปสรรค 
ทำไมบางครั้งเราจึงไม่อยากคืนของของเพื่อนที่ยืมมา
  -  ขี้เกียจ
  -  ยังใช้ไม่เสร็จ
  -  อยากได้ของนั้น
  ทำอย่างไรเพื่อขจัดสิ่งที่ทำให้เราไม่อยากคืนของที่ยืมมา
  -  ใช้เสร็จรีบส่งคืนทันที
  -  ของของเขาต้องใช้บ้าง
  -  รู้จักเกรงใจเพื่อน

สรุป การคืนของที่ยืมมาแสดงถึงความซื่อสัตย์  การเคารพสิทธิของผู้อื่น  การยืมของมาแล้วไม่ยอมคืนเจ้าของ  เป็นการไม่เคารพสิทธิของเจ้าของ  และเห็นแก่ตัว  เห็นแก่ความสะดวกสบายของตนฝ่ายเดียว

คำสอน  
เราเป็นคริสตังค์  เราได้เรียนคำสอน  เราย่อมรู้ว่า  การลักขโมย  หรือ  การไม่ยอมคืนของที่เรายืมมานั้น  โดยเอามาเป็นกรรมสิทธิ์ของตัวเราย่อมเป็นบาป  ทั้งรู้ตัวและเต็มใจทำยิ่งจะเป็นบาปหนักขึ้นอีก  เราติดหนี้เขาเราต้องใช้หนี้ให้เขา  เพราะเขาไม่มีเงินที่จะต้องซื้อของ  เราก็ต้องให้เงินแก่เขา  เขามีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินนั้นเรามีก็ควรจะให้เสีย  แต่ถ้าไม่มีเราก็ควรแจงให้เขาทราบเสียก่อน  ( 2 พกศ.  4:1-7 )

เมื่อเราติดหนี้เขา  เราควรใช้ให้เขา  หรือมีเงินชดใช้ให้อีกเป็นค่าตอบแทนน้ำใจที่เขาให้เงินเรายืม  เราควรขอบคุณเขาที่ได้ช่วยเหลือเรา  ทำให้เรารู้สึกรักเขาในความมีน้ำใจดีต่อเรา  เราต้องสวดให้เขาบ่อย ๆ และต้องขอบคุณพระด้วย

ปฏิบัติ  การยืมของของเพื่อนมาแล้ว ใช้เสร็จแล้วรีบนำไปคืนให้เจ้าของในห้อง  ให้เด็ก
เขียนลงในกระดาษสมุดตัวใหญ่ด้วยตัวบรรจงว่า  “ของที่ยืมมาต้องคืนให้เจ้าของ”