ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCESE

ccpcommandment09.jpgบทที่  18 อย่าปลงใจในความอุลามก
จุดมุ่งหมาย 
เพื่อให้ผุ้เรียนทำจิตใจผ่องแผ้ว ปราศจากความนึกคิดที่ไม่บริสุทธิ์ อันจะส่งผลให้ชีวิตที่สดใส ร่าเริง


ขั้นที่ 1  กิจกรรม
ครูนำกระจกสีต่าง ๆ เช่น สีดำ สีแดง สีเหลือง สีเขียว ฯลฯ มาให้ผุ้เรียนส่องดุสิ่งต่าง ๆ
ครูถามผู้เรียนว่า
- เห็นอะไรบ้าง มีลักษณะอย่างไร
- ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

ครูนำกระจกใสให้นักเรียนส่องดูสิ่งต่าง ๆ
ครุถามนักเรียนว่า
- เห็นอะไรบ้าง มีลักษณะอย่างไร
- แตกต่างจากกระจกสีอย่างไร ? ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

ขั้นที่ 2 ขั้นวิเคราะห์
1. สีของกระจกเป็นตัวกันและปรุงแต่ง ทำให้ตาของเรามองอะไรไม่ชัด และเปลี่ยนลักษณะไปตามสีนั้น ๆ
2. ความใสไม่เป็นตัวกั้นหรือปรุงแต่ง ทำให้ตาของเราเห็นอะไรชัดเจน เหมือนของจริง

สรุป  ถ้าตาเห็นอะไรผิดเพี้ยนไป ก็ส่งผลถึงชีวิตด้วย เช่น ตามองพื้น สูง ๆ ต่ำ ๆ เห็นเป็นพื้นที่ราบเมื่อเดินไปก็จะเกิดสะดุดล้มเป็นอันตราย ตาที่สุกใส มองอะไรก็เห็นเป็นอย่างนั้น ทำให้ชีวิตสอดคล้องกับความจริง ก็ไม่เกิดกระทบกระทั่งเป็นอันตราย

ขั้นที่  3  คำสอน
1. ที่พุดมาข้างต้นนี้เป็นตาของร่างกาย แต่เรายังมีตาของวิญญาณ หรือจิตใจ อีกด้วย ซึ่งก็มีความสำคัญไม่แพ้ตาของร่างกายหรือมากกว่าเสียด้วย เพราะถ้าตาของวิญญาณ หรือจิตใจ นี้มองเห็นอะไรไม่ชัดเจน หรือผิดเพี้ยนไปจากความจริง อาจจะนำชีวิตวิญญาณหรือจิตใจ ไปสู่การกระทำที่ผิด คือทำบาปได้ เพราะเราก็ทราบดีว่าผลของบาปนั้นร้ายแรงเพียงไร ตาของวิญญาณ หรือจิตใจ ที่กล่าวมานี้ก็ได้แก่ ความคิด ความปรารถนา ความอยาก ความใคร่ทั้งหลาย ที่ครุกรุ่นอยู่ภายในจิตใจ

2. พระบัญญัติของพระเป็นเจ้าประการที่ 9 มีบัญญัติไว้ว่า “อย่าปลงใจในความอุลามก” หมายความว่า เราจะต้องควบคุมความคิด ความปรารถนา ความอยาก ความใคร่ ทั้งหลายที่อยู่ในใจของเรา อย่าให้ออกนอกลู่นอกทาง เป็นต้นในเรื่องเพศ พระบัญญัติประการที่ 9 นี้ จึงคู่กันกับพระบัญญัติประการที่ 6 บัญญัติว่า “ อย่าทำอุลามก” คือ ห้ามกระทำที่ผิดทางเพศ และสั่งให้เคารพศักดิ์ศรีและความสูงส่งของเพศในแผนการณ์ของพระเจ้า ส่วนพระบัญญัติประการที่ 9 บัญญัติว่า “ อย่าปลงใจในความอุลามก” คือ ห้าม ความคิด ความปรารถนา ที่ผิดทางเพศ หมายความว่า แม้กระทั่งความคิดความปรารถนาในหัวใจ ที่ผิดทางเพศก็เป็นเรื่องต้องห้าม เพราะความคิดความปรารถนาเช่นนี้ทำให้จิตใจมืดมัว ผิดต่อศีลธรรม และมักจะนำไปสู่การกระทำผิดภายนอกในที่สุด

3. พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ ผู้ใดมองหญิงด้วยกำหนัดในหัวใจ ผู้นั้นก็ล่วงประเวณีในใจกับผู้หญิงนั้นแล้ว” (มธ. 5,28) และการล่วงประเวณีก็คือความผิด แม้จะเป็นเพียงในใจก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะเมื่อมีกำหนัด หรือความปรารถนาที่ผิดทางเพศเกิดขึ้น ก็มีเจตนา  หรือ ปลงใจ ตามมา ความผิดหรือบาปอยู่ที่ ปลงใจ นี้เอง
ที่จริง กำหนัด หรือความปรารถนาทางเพศนี้ ถ้าอยู่ในขอบเขตที่ถูกต้อง เช่นกับคู่ครองของตนก็เป็นสิ่งที่ดีและถูกต้อง และแม้ไม่อยู่ในขอบเขตที่ถูกต้อง เช่น กับผู้หญิงที่ไม่ใช่คู่ของตนแต่ก็มิได้ปลงใจ กลับพยายามควบคุม บังคับ และละทิ้งกำหนัดนั้นก็ถือว่าไม่มีความผิด แถมยังถือว่าเป็นบุญกุศลอีกด้วย

4. กษัตริย์ดาวิดเป็นตัวอย่างที่ต้องจดจำ พระคัมภีร์เล่าว่าพระองค์ทอดพระเนตรเห็นสตรีนางหนึ่ง กำลังอาบน้ำอยู่ทรวดทรวงองค์เอวสะดุดตา สะดุดใจยิ่งนัก จึงเกิดกำหนัดขึ้นในหัวใจ อยากจะได้นางมาเป็นภรรยา จึงให้คนไปสืบดูก็ได้ความว่านางนั้นชื่อ บัทเชบา สามีชื่ออุรีอาร์ เมื่อทราบดังนั้นแล้วแทนที่กษัตริย์ดาวิดจะสลัดกำหนัดทิ้งไปเพราะเป้นสิ่งที่ไม่ถูกต้องที่จะไปยุ่งกับภรรยาของคนอื่น กลับปลงใจในกำหนัดนั้น สั่งให้นำนางบัคเชบาเข้าวังแล้วออกอุบายให้แม่ทัพโยอาบแต่งตั้งอุรีอาห์สามีของนางเป็นทหารประจำแนวรบที่อันตรายที่สุด เพื่อให้อุรีอาห์ตายด้วยคมดาบของศัตรู และก็สำเร็จตามนั้น ในสายตาคนทั่วไปจึงเห็นกษัตริย์ดาวิดได้นางบัทเชบามาเป็นภรรยาด้วยความชอบธรรม เพราะสามีของนางตายแล้ว ( เทียบ 2 ซมอ. 11, 1 – 17 )
 แต่พระเป็นเจ้าไม่เห็นเช่นนั้น พระองค์ทรงใช้ประกาศกนาธันไปกล่าวโทษกษัตริย์ดาวิด และประกาศพระอาญาของพระองค์ “ ทำไมเจ้าดูหมิ่นพระวาจาของพระเจ้า กระทำสิ่งชั่วช้าในสายพระเนตรของพระองค์ เจ้าได้ฆ่าอุรีอาห์ด้วยดาบ เอาภรรยาของเขามาเป็นภรรยาของเจ้า เพราะฉะนั้นดาบนั้นจะไม่คลาดไปจากราชวงศืของเจ้า ..ดูเถิด เราจะให้เหตุร้ายบังเกิดแก่เจ้า ..เราจะเอาภรรยาของเจ้าไปยกให้แก่เพื่อนบ้านของเจ้า เขาจะนอนร่วมกับภรรยาของเจ้าอย่างเปิดเผย เจ้าทำการนี้อย่างลับ ๆ แต่เราจะทำการนี้ต่อหน้าอิสราเอลทั้งสิ้นและอย่างเปิดเผย ( 2 ซมอ. 12, 9 – 12 ) กษัตริย์ดาวิดเป็นทุกข์ กลับใจ พระเจ้าจึงลดโทษเหลือเพียง ทารกที่จะเกิดจากนางบัทเชบาจะเสียชีวิต และก็เป็นไปตามนั้น

5. ให้ความคิด ความปรารถนาแห้งหัวใจของเราสะอาด บริสุทธิ์ ปราศจากราคี โดยปฏิบัติการสวดมนต์ภาวนา การมัธยัสถ์ตน การควบคุมกายใจ เป็นต้น

ขั้นที่  4  ปฏิบัติ
1. อย่าปลงใจในความอุลามก
2. ความคิด และความปรารถนาที่ผิดทางเพศ ทำให้ตาของวิญญาณมืดมัว ไม่เห็นผิดเห็นชอบไม่ควบคุมก็จะพาวิญญาณถลำไปในบาป
3. ความคิด ความปรารภนาที่ผิดทางเพศ ถ้าพยายามควบคุมบังคับ ละทิ้ง ไม่ปลงใจตาม ก็ไม่ถือว่าเป็นความผิด และยังได้บุญกุศลอีกด้วย
4. เราสามารถรักษาความคิด ความปรารถนาแห่งหัวใจของเราให้บริสุทธิ์ ได้โดยการสวดภาวนา มัธยัสถ์ตน ควบคุมกายใจของตน เป็นต้น

กิจกรรม 
ร้องเพลง  “ หลักยึดเหนี่ยว
1. แม้ว่าคลื่นใหญ่จะซัดสาดมา
ซัดโถมชีวาแรงกล้ายิ่งกว่าครั้งใด
พายุกระหน่ำซ้ำเติมดวงฤทัย
ฉันไม่หวั่นไหวทรงชัยปกป้องคุ้มกัน
     (ไม่มีวันจืดจางร้างไป)
2. แม้อันตรายดูคล้ายดังโจร
เข้ามาจู่โจมไม่เคยไหวหวั่นชีวัน
ท้องฟ้ามืดมัวสลัวเร็วพลัน
แต่จอมราชันย์เหนือกว่าสิ่งร้ายมากมาย
3. เรือน้อยลอยตามกระแสน้ำเชี่ยว
หาที่ยึดเหนี่ยวสิ่งเดียวที่เรายึดได้
คือพระคริสต์ช่วยเราพ้นอันตราย
สิ่งร้ายทั้งหลายอย่าหมายเมื่อมีพระองค์
     ( ผู้ดำรงยืนยงนิรันดร์ )
4. แม้ความลำบากท่วมท้นวิญญาณ
เข้ามาเผาผลาญผลาญใจฉันให้ลุ่มหลง
แต่ชีวิตใกล้ชิดมั่นคง
สมเจตจำนงฉันสุขด้วยความหวังเอย

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 "บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง"

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์