ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCCESE

การประเมินผล

  1. ก. การประเมินผลกิจกรรม(การ Feed back)
  2. ข. การประเมินผลรวมของค่าย

ก. การประเมินผลกิจกรรม(การ Feed back)

          Feedback เป็นกระบวนการในการให้ข่าวสารแก่บุคคลเพื่อให้เขาสามารถค้นพบสิ่งที่เขาได้กระทำหรือพูดไปต่อบุคคลหรือกลุ่ม

            คนโดยทั่วไปมักมีปฏิกิริยาสนองตอบต่อการกระทำหรือคำพูดของคนอื่นและมักสรุปความนึกคิด ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยมของตนเองซึ่งอาจะผิดหรือทำให้ความหมายเปลี่ยนไปจากที่ผู้สื่อตั้งใจ เราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าผู้สื่อมีความรู้สึกอย่างไรนอกจากเขาจะบอก เราอาจเดาได้ การขอให้เขาบอกจะเป็นทางที่เราสามรถปรับวิธีการสื่อความหมายของเราได้เหมาะสมใกล้เคียงกับที่เขาต้องการ ถ้าไม่มีการ Feedback ความรู้สึกในด้านไม่ดีจะเพิ่มพูนขึ้น

            ยกตัวอย่างเช่น คนใหม่ที่เข้าร่วมกลุ่มอาจพยายามที่จะทำให้กลุ่มยอมรับตนเอง แต่ก็อาจทำให้กลุ่มรู้สึกแอนตี้เพราะไม่ชอบวิธีการที่เขาพยายามจะทำให้กลุ่มยอมรับ ดังนั้นเมื่อกลุ่มไม่ยอมรับเขาก็จะเพิ่มวิธีการมากขึ้น กลุ่มก็ยิ่งไม่ชอบมากขึ้น เหตุการณ์นี้จะดำเนินไปจนถึงขั้นแตกหักได้ เขาอาจจะเลิกไม่เข้ากลุ่ม หรือมีคนในกลุ่มบอกเขาเกี่ยวกับพฤติกรรมนี้

            การสื่อความหมายที่เกิดโดยทั่วไป มักจะสื่อไปได้ทั้งที่เราเรียกว่า Verbal คือคำพูดและ Non Verbal โดยลักษณะท่าทาง การ Feedback ควรต้องกระทำทั้งสองอย่าง

1.วิธีการ Feedback

  1. โดยวิธีดูผลสะท้อนจากบุคคลภายนอกกลุ่ม วิธีการอาจขอให้บุคคลอื่นมาช่วยสังเกตความเป็นไปของกลุ่ม พฤติกรรมของแต่ละบุคคล แล้วสะท้อนให้ทุกคนเห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้น
  2. โดยวิธีวิเคราะห์ตนเอง อาจใช้เทปหรือวีดีโอ ถ่ายเหตุการณ์ของกลุ่มแล้วนำมาวิเคราะห์
  3. โดยวิธีการ “Coaching” อาจกำหนดตัวบุคคลที่จะให้สมาชิในกลุ่มสังเกตพฤติกรรมของคนอื่นในกลุ่ม แล้วนำผลที่ได้มาบอกกัน
  4. การ Feedback เป็นรายตัว เป็นวิธีที่ตรงและได้ผลที่สุด ถ้าหากกระทำด้วยความรักและต้องการที่จะช่วยเหลือคนที่จะ Feedback

2.ประโยชน์ของการ Feedback

  1. ช่วยเสริมพฤติกรรมที่ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้น เช่น “เธอช่วยเราได้มากเลยที่บอกเรื่องนี้แก่เรา”
  2. ช่วยแก้ไข การ Feedback จะช่วยแก้ไขการสื่อความหมายให้ตรงความต้องการและแก้ไขพฤติกรรมได้
  3. ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ได้ตรงขึ้น เช่น “ตอนแรกเรานึกว่านายไม่ชอบหน้าเรา แต่ที่จริงแล้วไม่เป็นอย่างนั้นใช่ไหม”

3.ข้อควรคำนึงในการให้ Feedback

  1. ให้การอธิบาย มากกว่าที่จะใช้การตัดสิน อธิบายว่าผู้ให้การ Feedback เห็นอย่างไร แล้วปล่อยให้ผู้รับการ Feedback เป็นอิสระในการพิจารณาหรือตัดสินใจเอง
  2. ควรเฉพาะเจาะจง ในเรื่องที่จะ Feedback อย่าพูดรวม เช่น “คุณเป็นเผด็จการทางความคิด” ควรใช้ “ในขณะที่เรากำลังตัดสินเรื่องนี้ คุณไม่ฟังใครเลย ผมมีความรู้สึกว่าคุณพยายามบังคับให้ผมยอมรับเหตุผลของคุณ”
  3. เหมาะสม คนให้และคนรับมีความต้องการไหม อาจจะล้มเหลวถ้าทั้งสองฝ่ายไม่พร้อม
  4. คิดว่าจะเป็นประโยชน์ ควร Feedback ในพฤติกรรมที่คาดว่าผู้รับจะสามารถเปลี่ยนได้ การย้ำในสิ่งที่เป็นปมด้อยโดยผู้รับควบคุมไม่ได้ไม่มีประโยชน์อะไร
  5. ใช้การขอร้อง ขอร้องมากกว่ายัดเยียด วิธีนี้ดีผู้รับควรถามแล้วให้ผู้ให้ตอบ
  6. ตรงจังหวะ Feedback จะดีที่สุดถ้าทำทันทีหรือใกล้เวลาที่กิจกรรมเกิดที่สุด ผู้รับพร้อมจะฟังหรือได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม
  7. ชัดเจน ควรเช็คตลอดเวลาว่าการสื่อความหมายถูกต้องหรือไม่ วิธีที่ดีที่สุดคือให้ผู้รับการ Feedback ทวนคำ Feedback ของผู้ให้เพื่อเช็คดูว่าถูกต้องหรือไม่
  8. ถูกต้อง ผู้รับ Feedback ควรเช็คกับคนอื่น ๆ ในกลุ่มด้วยว่าสิ่งที่มีคน Feedback นั้นคนอื่นหรือกลุ่มมีความเห็นเหมือนกัน

4.จะ Feedback ได้อย่างไร

  1. ขอให้คนอื่นช่วย Feedback
  2. เตรียมใจยอมรับ
  3. ขอให้แยกแยะข้อ Feedback ให้ชัดเจน
  4. สนองตอบต่อสิ่งที่เราฟังหรือได้ยิน

5.การให้การ Feedback จะดีที่สุดเมื่อ

  1. สร้างบรรยากาศของความไว้เนื้อเชื่อใจ สัมพันธภาพอันแน่นแฟ้นและอบอุ่น
  2. พยายามยอมรับคนอื่นอย่างจริงใจ
  3. กลุ่มเล็กและพฤติกรรมไม่เข้าใจเพิ่มจะเริ่ม
  4. มีความรู้สึกไวต่อการรับรู้
  5. ถูกกาลเทศะ
  6. เน้นการสร้างประสบการณ์มากกว่าการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
  7. มีแรงดลใจให้เห็นอกเห็นใจและอยากช่วยเหลือ
  8. เฉพาะเจาะจงตรงปัญหาและเกิดจากประสบการณ์การอยู่ร่วมกัน
  9. เป็นเรื่องลับเฉพาะกลุ่ม
  10. มีการร้องขอและต้องการ

6.การรับการ Feedback จะดีที่สุดเมื่อ

  1. ผู้รับเปิดใจพร้อมที่จะรับและขอร้อง
  2. ผู้รับพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง
  3. จากบุคคลที่ผู้รับความเชื่อมั่นและเชื่อถือ
  4. ผู้รับมีการปกป้องตนเองน้อยที่สุด
  5. มีการให้จากสมาชิกส่วนมากของกลุ่ม
  6. ผู้รับมีความไว้เนื้อเชื่อใจกลุ่ม
  7. สิ่งที่ให้ไม่ทำลายบุคลิกของผู้รับ
  8. ผู้รับมีอิสระที่จะไม่เห็นด้วยถ้าเขาต้องการ
  9. สิ่งที่ให้แสดงออกถึงการอยากช่วยมากกว่าเพื่อข่มขู่และลงโทษ
  10. มุ่งไปยังพฤติกรรมที่ผู้รับสามารถเปลี่ยนแปลงได้
  11. อธิบายว่าผู้รับทำอะไรมากกว่าการตัดสินว่าถูกหรือผิด

7.จะทำอย่างไรจึงจะสามารถในการให้และรับ Feedback มากขึ้น

  1. ควรสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นและลึกซึ้ง
  2. ควรมีความพอใจในความสัมพันธ์ระหว่างกัน
  3. เรียนรู้ถึงอิทธิพลที่แต่ละคนมีต่อกัน
  4. เพิ่มพูนทักษะในการสื่อความหมายที่ถูกต้อง
  5. ยอมรับตนเอง
  6. เปิดใจต่อประสบการณ์ใหม่ ๆ
  7. พยายามเป็นตัวของตัวเอง และยอมรับความแตกต่าง

 

แบบคำพูดของการ Feedback

  • เมื่อคุณ……….(บอกพฤติกรรมที่แสดงออกและต้องการ Feedback)……….เรามีความรู้สึกว่า……….
  • อย่าลืม! Feedback ที่ดีควรมีการให้และรับทั้งส่วนดีและส่วนเสีย และโปรดทำด้วยความรักและความจริงใจ และต้องการเห็นเขาดีขึ้น

ข. การประเมินผลรวมของค่าย

ความหมาย : การประเมินผลหมายถึง “การวัดและค้นหาคุณค่าที่ได้จากการฝึกอบรมหรือการเข้าค่าย ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหรือเข้าค่าย”

ประโยชน์ :

  • ทำให้ผู้รับผิดชอบทราบว่าการดำเนินงานฝึกอบรมหรือการจัดค่ายนี้บรรลุผลตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์หรือไม่อย่างไร
  • ช่วยให้ทราบถึงอุปสรรคข้อขัดข้องและวัดความสามารถในการฝึกอบรม ซึ่งจะสามารถนำไปช่วยปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงการฝึกอบรมให้ดีขึ้น

กระบวนการการประเมินผล :

  1. ยึดเอาเป้าหมายและจุดประสงค์ที่ได้ตั้งไว้เป็นหลัก เป็นการตอบคำถามพื้นฐานที่ว่า “การฝึกอบรมหรือการจัดค่ายของเราได้บรรลุผลตามเป้าหมายและจุดประสงค์อย่างดีหรือไม่อย่างไร”
  2. ถ้าคำตอบออกมาว่า “ไม่” เราต้องยอมรับความล้มเหลวนั้น เมื่อเราได้กระทำอย่างเต็มกำลังแล้ว แต่งานกลับไม่ดำเนินไปตามที่ตั้งใจ ก็ไม่ไปไร เราจะพยายามที่จะไม่ให้มันเกิดความล้มเหลวอีกเป็นครั้งที่สอง การประเมินผลจะช่วยให้เรารู้ว่าอะไรที่ยังบกพร่อง และบกพร่องด้วยเหตุผลอะไร เราจะได้ประสบการณ์อันมีค่า และถือว่าเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์
  3. ตัวอย่างการประเมิน ผู้สังเกตการอยู่ร่วมในการจัดค่ายแห่งหนึ่ง เมื่อเสร็จแล้วเขาได้สอบถามพูดคุยถึงข้อดีและข้อบกพร่องของการเข้าค่ายกับบางคน และได้ให้ชาวค่ายทุกคนได้กรอกแบบประเมิน แล้วอ่านคำตอบจากใบประเมินเพื่อให้ได้ภาพรวมๆถึงความรู้สึกและผลที่เกิดขึ้นจากการเข้าค่ายครั้งนี้ หลังจากนั้นจึงเรียบเรียงถึงผลสรุปของการประเมินผล และได้ให้ความคิดเห็นส่วนตัวเพิ่มเติมลงไปถึงจุดดีและจุดอ่อนของการเข้าค่ายในครั้งนี้
  4. ในการออกแบบใบประเมินผลต้องยึดเอาเป้าหมายและจุดประสงค์ของค่ายเป็นหลัก

         ผู้รับผิดบางคนมักจะตั้งคำถามสองประการนี้ คือ ค่ายสนุกไหม กับการเข้าค่ายครั้งนี้มีอะไรที่ท่านชอบและมีอะไรที่ท่านไม่ชอบ คำถามทั้งสองนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเป้าหมายและจุดประสงค์ของค่ายเลย (นอกจากเราจะตั้งจุดประสงค์ไว้ดังนั้น)

เวลา : การประเมินสามารถทำได้ทุกวันหลังที่จบกิจกรรมทุกอย่างแล้ว หรือ ประเมินเมื่อค่ายฯสิ้นสุดแล้ว

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์