ความเชื่อมโยงกันของทั้งสี่ภาคนี้ พระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2
ได้ทรงเขียนไว้ในคำนำว่า
“ธรรมล้ำลึกแห่งพระคริสตศาสนา คือ สิ่งที่ต้องเชื่อ (ภาคหนึ่ง)
ธรรมล้ำลึกที่ได้รับการเฉลิมฉลองและสื่อออกไปในการประกอบพิธีกรรม (ภารสอง)
ธรรมล้ำลึกนี้มีอยู่เพื่อให้ความสว่างและค้ำจุนบุตรทั้งหลายของพรเจ้า
ในการประพฤติปฏิบัติของพวกเรา (ภาคสาม)
ธรรมล้ำลึกนี้เป็นพื้นฐานแห่งการภาวนาของเรา ซึ่งการแสดงออกที่พิเศษสุดก็อยู่ที่บท
“ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งปลาย” และยังประกอบขึ้นเป็นจุดหมาย
แห่งการวอนขอการสรรเสริญสดุดีและการวิงวอนแทนของเรา (ภาคสี่)”
นอกจากเนื้อหาดังกล่าวนี้แล้ว
หนังสือคำสอนนี้ยังได้ให้ความหมายของการสอนคำสอนไว้ด้วยว่า
“การสอนคำสอน คือ การให้การศึกษาในเรื่องความเชื่อแก่เด็กๆ
เยาวชนและผู้ใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยการสอนเรื่องหลักคำสอนของ
พระคริสตเจ้าเป็นพิเศษ ซึ่งการสอนนี้โดยทั่วไป จะให้ในลักษณะ
ที่เป็นสมุฏฐานและอย่างเป็นระบบ ด้วยความมุ่งหมายที่จะสอนให้รู้
ลู่ทางไปสู่บูรณภาพแห่งชีวิตคริสตัง” (CCC 5)
การสอนคำสอนยังถูกจัดให้เป็นปัจจัยหนึ่งในงานอภิบาลของพระศาสนจักร
ซึ่งเป็นปัจจัยที่ผูกพันอย่างชิดสนิทกับชีวิตทั้งชีวิตของพระศาสนจักร
มิเพียงแต่ในเรื่องของการขยายขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์ และการเพิ่มพูนด้านจำนวน
แต่รวมถึงการเจริญเติบใหญ่ภายในของพระศาสนจักรด้วย (เทียบ CCC 7)
แม้ว่าวัตถุประสงค์พื้นฐานของการสอนคำสอน จะเป็นการนำผู้ฟัง
ให้ก้าวไปสู่การมีชีวิตคริสตังที่สมบูรณ์ครบครันแล้ว การสอนคำสอนยังถูกถือว่า
เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ถูกใช้เพื่อเป็นการให้การอบรมชีวิตแห่งความเชื่อ
ให้กับบรรดาคริสตชนอีกด้วย
เนื้อหาคำสอนทั้งหมดในสี่ภาคนี้ แบ่งออกเป็นข้อย่อยๆ ได้ 2865 ข้อ
ส่วนการจัดแบ่งเนื้อหานั้น ยังคงยึดรูปแบบตามหนังสือคำสอนของปีโอที่ 5
หรือหนังสือคำสอนแห่งสังคายนากรุงเตรน
แม้ว่าหนังสือคำสอนเหล่านี้จะได้อธิบายถึงเนื้อหาทั้งหมดของคาทอลิก
แต่ก็ไม่ได้ปิดประตูตายให้ทุกคน ทุกประเทศต้องใช้หนังสือนี้
โดยยกเลิกของเก่าให้หมด หนังสือนี้มิได้มาแทนหนังสือคำสอนของแต่ละท้องถิ่น
และมุ่งให้เกิดกำลังใจ และเป็นคู่มือให้แตจ่ละท้องถิ่นได้เรียบเรียงคำสอนของตนเอง
ให้เหมาะกับท้องถิ่นตามสถานการณ์และวัฒนธรรม
(สารคำสอนฉบับที่ 46 เดือนพฤศจิกายน 1997)