ความหมายของคำว่า “คำสอน”

ตอนที่ 11
ความหมายของ “การสอนคำสอน”
พระสมณสาสน์เตือนใจเรื่องการสอนคำสอนในยุคปัจจุบัน

(CATECHESI TRADENDAE)

พระสมณสาสน์ฉบับนี้ใช้ชื่อย่อว่า CT. โดยพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2
เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 1979/2522 พระสมณสาสน์เตือนใจเรื่องนี้ได้มีผู้แปลเป็นภาษาไทย
แล้วสองสำนวน คือ โดยชรรมนักบวชหญิง ใช้ชื่อว่า
พระดำรัสเตือนของพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ว่าด้วย “หน้าที่ต้องสอนคำสอน”
ได้พิมพ์ (อัดสำเนา) เผยแพร่ในปี 1980/2523 และอีกสำนวนหนึ่ง
โดย คุณพ่อสมบูรณ์ แสงประสิทธิ์ซึ่งแปลลงในวารสารแสงธรรมปริทัศน์
โดยใช้ชื่อว่า พระสมณสาร “การสอนคำสอน” ของพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2
ได้ตีพิมพ์ตั้งแต่ฉบับที่ 1 ปีที่ 5  (มกราคม – เมษายน 1981/2524)
ถึงฉบับที่ 2 ปีที่ 8 (พฤษภาคม – สิงหาคม 1984/2527)
ที่สุดแผนกคำสอนของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เห็นว่า จำเป็นต้องจัดพิมพ์ให้เป็นทางการ
จึงได้พิมพ์ออกเผยแพร่ในประเทศไทยในปี 1990 โดยใช้ชื่อเต็มดังที่เขียนไว้ดังกล่าว
พระสมณสาสน์นี้เป็สาสน์เกี่ยวกับการสอนคำสอนโดยเฉพาะเป็นพระสมณสาสน์
ที่ทรงอิทธิพลต่อกิจการคำสอนต่างๆ อย่างมากมายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
และตราบจนปัจจุบันนี้ พระสมณสาสน์นี้ได้ให้เทวศาสตร์แห่งการสอนคำสอน
ที่ถูกต้องโดยวางอยู่บนพื้นฐานทางเทวศาสตร์ของพระศาสนจักรและพระพันธกิจ
ในการประกาศพระวรสาร พระสมณสาสน์นี้ประกอบด้วยพระคัมภีร์
คำสอนของพระสังคายนาวาติกันที่ 2 และข้อมูลจากเอกสารทางงานคำสอนฉบับก่อนๆ
โดยเริ่มด้วยการอ้างอิงพระบัญชาสุดท้ายที่พระคริสตเจ้าทรงมอบให้กับรรดาอัครสาวก
“จงออกไปประกาศข่าวดีแก่นานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของพระองค์
และทรงสอนพวกเขาให้ถือตามทุกสวิ่งทุกอย่างที่พระองค์ได้ทรงสอนไว้”
(เทียบ มธ 28:19-20)” (CT.1)
คำกล่าวอ้างจากพระคัมภีร์ตอนนี้จัดให้มีการสอนคำสอนเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่ง
ในกระบวนการทำให้ผู้อื่นมาเป็นศิษย์ของพรเยซูคริสต์ ส่วนแรกสุดก็คือ
การเทศนาที่นำไปสู่การกลับใจและการล้างบาป ส่วนที่สองก็คือ
การสอนคำสอนหรือการสอนซึ่งนำไปสู่ชีวิตตามคำสั่งของพระเยซูคริสต์
ข้ออ้างอิงนี้ยังพาดพิงไปถึงความหมายของการสอนคำสอน 3 ประการคือ
1.เป็นการสอนบทบัญญัติของพระคริสตเจ้า
2.เป็นการสอนที่ให้กับผู้ที่ล้างบาปแล้ว
3.เป็นการสอนที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนปฏิบัติตามบทบัญญัติของพระเจ้า

ศีลล้างบาปเป็นการบ่งบอกและอ้างอิงไปถึงเรื่องการเทศน์สอนหรือ Kerygma
ซึ่งนำผู้คนให้มีความเชื่อในองค์พระคริสต์และเข้ารับศีลล้างบาป
จากนั้นจึงเป็นเรื่องของการสอนบทบัญญัติของพรเจ้า
ซึ่งจะช่วยเขาหรือนำพวกเขาให้ปฏิบัติบทบัญญัติของพรเจ้าในชีวิตของพวกเขา
พระสมณสาสน์นี้นำเสนอว่า การสอนคำสอนเป็นงานสืบทอดศาสนบริการ
เรื่องการเทศน์สอนขององค์พระเยซูเจ้า (เทียบ CT.7,8)
พระเยซูเจ้าทรงมอบหมายศาสนบริการนี้ให้กับบรรดาอัครสาวกและบรรดาอัครสาวก
ก็มอบหมายหน้าที่นี้ต่อมายังผู่สืบทอดทั้งหลาย ซึ่งก็คือ นายชุมพาบาลต่างๆ ของพระศาสนจักร
พระสมณสาสน์ยังให้การสอนำคสอนอยู่ในรูปแบบหนึ่งของการประกาศพระวรสาร
(Evangelization) แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นการเทศน์หรือการประกาศในขั้นเริ่มต้น
พระสมณสาสน์ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า

“การสอนคำสอนก็คือ การอบรมเด็กๆ เยาวชน และผู่ใหญ่
ให้เติบโตในความเชื่อโดยการถ่ายทอดคำสอนสำหรับคริสตชน
ตามลำดับ และทำอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้เรียนเติบโตใน
ความเชื่อจนถึงขั้นสมบูรณ์” (CT.18)

และอีกตอนหนึ่งที่ว่า
“ลักษณะเฉพาะของการสอนคำสอนซึ่งแตกต่างจากการประกาศ
พระวรสารขั้นแรกสำหรับผู้เริ่มกลับใจ มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ
คือ เพื่อทำให้ความเชื่อเติบโตจนถึงขั้นสมบูรณ์และเพื่ออบรม
ให้เป็นสาวกที่แท้จริงของพระคริสต์โดยอาศัยความรู้ที่ลึกซึ้งและ
เป็นระบบในเรื่องของพระเยซูคริสต์และคำสอนของพระองค์”

นอกจากนั้น พระสมณสาสน์ยังได้บ่งบอกถึงจุดมุ่งหมายเฉพาะ
หรือวัตถุประสงค์พื้นฐานของงานคำสอนไว้ว่า

“การพัฒนาความเชื่อที่เพิ่มเริ่มต้นโดยอาศัยความช่วยเหลือจาก
พระเจ้าให้มุ่งไปสู่ความไพบูลย์ และการหล่อเลี้ยงชีวิตคริสตชน
ของสัตบุรุษ ทั้งผู้เยาว์และผู้สูงอายุ ให้เจริญงอกงามขึ้นทุกวัน
นั้นก็คือ การบันดาลให้เมล็ดพืชแห่งความเชื่อที่พระจิตได้ทรง
หว่านไว้ โดยการประกาศข่าวดีครั้งแรกและศีลล้างบาปนั้น
ให้เจริญงอกงามขึ้นทั้งในทางความรู้และชีวิต” (CT.20)

ดังนั้น เราสามารถสรุปได้ว่า พระสมณสาสน์นี้ได้อธิบายถึงเทวศาสตร์แห่งงานคำสอน
ได้อย่ากว้างขวาง งานคำสอนถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบหนึ่งของกระบวนการประกาศพระวรสาร
เป็นเครื่องมือหนึ่งในการประกาศพระวรสาร พระสมณสาสน์นี้ยังได้แยกแยะ
ให้เห็นถึงความแตกต่าง ระหว่างการประกาศพระวรสารในขั้นแรกเริ่ม
กับงานคำสอนไว้อย่างชัดเจน พระสมณสาสน์ยังได้นำเสนอว่า
งานคำสอนเป็นการสืบทอดศาสนบริการเรื่องการสอนของพระเยซูเจ้า
และเป็นการสืบทอดงานสอนของพระศาสนจัก ยี่งกว่านั้นยังได้ให้ความกระจ่าง
เกี่ยวกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการสอนคำสอนไว้อย่างชัดเจน
นั่นก็คือ การนำผู้ฟังไปสู่การมีชีวิตคริสตชนที่สมบูรณื นั่นก็คือ ชีวิตแห่งความเชื่อของคริสตชน
ดังนั้น ตามความหมายของพระสมณสาสน์นี้ งานคำสอนเป็นเครื่องมือที่จะอบรมชีวิต
แห่งความเชื่อของคริสตชน นี่แหละเป็นเทวศารสตร์
แห่งการสอนคำสอนตามนัยแห่งพระสมณสาสน์ Catechesi Tradendae

(สารคำสอนฉบับที่ 45 เดือนตุลาคม 1997)