ความหมายของคำว่า “คำสอน”

ตอนที่ 10
ความหมายของ
“การสอนคำสอน”
จากพระสมณสารการประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบัน
 

พระสมณสารฉบับนี้ ให้ไว้ ณ พระมหาวิหารนักบุญเปโตรใน
วันสมโภชพระแม่พรหมจารีมารีย์ปฏิสนธินิรมล วันที่ 8 ธันวาคม 1975
อันเป็นปีที่ 13 แห่งสมณสมัยของพระสันตะปาปา เปาโลที่ 6
ฉบับภาษาไทย ไม่ระบุผู้แปล ทราบแต่ว่า พิมพ์ที่โรงพิมพ์อัสสัมชัญในปี 2531/1988
ชื่อย่อเป็นทางการ คือ EN มาจาก Evangelii Nuntiandi
พระสมณสารฉบับนี้ได้อธิบายความหมายของการสอนคำสอนไว้
ในฐานะที่เป็นงานพื้นฐานของพระศาสนจักร นั้นก็คือเป็นการประกาศพระวรสาร (EN 14)
ตามเทวศาสตร์ของพระสมณสารนี้ ศาสนบริการด้านพระวาจาก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
กับการประกาศพระวรสาร ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของพระศาสนจักร (EN 14)
 

การสอนคำสอนถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบหนึ่งหรือเครื่องมือหนึ่ง
ในงานการประกาศพระวรสาร
 

ประการแรก พระสมณสารกล่าวไว้ว่า
 
“ดังนั้น เคยมีคนนิยามการประกาศพระวรสารว่า
เป็นการประกาสพระคริสตเจ้าแด่ผู้ที่ไม่รู้จักพระองค์ก็มี
เป็นการเทศนาก็มี เป็นการอธิบายคำสอนก็มี
เป็นการประกอบพิธีศีลล้างบาปและศีลอื่นๆ ก็มี” (EN 17)
 

เหตุผลประการที่สอง พระสมณสารกล่าวไว้ว่า
 

“วิธีอย่างหนึ่งที่ไม่ควรละเลยเสียในประกาศพระวรสาร
ก็คือการแปลคำสอน
อันสติปัญญาโดยเฉพาะสติปัญญาของเด้กและบรรดาวัยรุ่นนั้น
ต้องการจะเรียนรู้ข้อคำสอนที่เป็นพื้นฐานและข้อความจริงต่างๆ
ที่พระเป็นเจ้าได้ทรงไขแสดง
และพระศาสนจักรพยายามบรรยายให้เข้าใจยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ตลอดมาในประวัติศาสตร์
และเขาต้องการเรียนรู้ดังนี้ โดยมีผู้สอนให้อย่างมีแบบแผน” (EN 14)
 

ในที่นี้จะเห็นว่า การสอนคำสอนเป็นการให้การอบรมทางศาสนาอย่างเป็นระบบแก่เด็กๆ
และเยาวชนที่รับศีลล้างบาปแล้วด้วยคำสั่งสอนพื้นฐานของพระศาสนจักร
 

(สารคำสอนฉบับที่ 44 เดือนกันยายน 1997)