ความหมายของคำว่า “คำสอน”
ตอนที่ 6
ความหมายของ “การสอนคำสอน”จากเอกสารของพระศาสนจักร
ในสมัยกลาง เมื่อมีการปฏิรูปศาสนาโดย มาร์ติน ลูเธอร์ (1483-1546)
ทำให้คาทอลิกเกิดการตื่นตัวในงานคำสอน จนทำให้สังคายนาแห่งกรุงเตรน (1545-1563)
สนับสนุนให้แต่งหนังสือคำสอนขึ้นเล่มหนึ่ง ชื่อ “คำสอนแห่งสังคายนากรุงเตรน”
หรือ “คำสอนโรมัน” เพื่อใช้ในงานอภิบาลและคำสอนโดยทั่วไป
ความหมายของ “การสอนคำสอน” ในช่วงเวลานั้น จึงมีความโน้มเอียงไปในทำนองที่ว่า
สอนให้รู้ข้อคำสอน สอนให้แม่นยำ เพื่อไว้ตอบโต้ ต่อสู้ ป้องกัน ความเชื่อของเราคาทอลิก
จากคำสอนใหม่ของพวกปฏิรูป
แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป สถานการณ์ผ่านไป ความจำเป็นหรือความต้องการ
และความหมายในเรื่องการเรียนรู้คำสอน ก็ได้รับการพัฒนาปรับเปลี่ยนไปด้วย
ดังเราจะได้ศึกษาจากเอกสารของพระศาสนจักรบางฉบับต่อไปนี้
เอกสารฉบับแรกที่เราจะศึกษา คือ Acerbo Nimis
Acerbo Nimis เป็นเอกสารฉบับแรกที่เกี่ยวกับคำสอนโดยตรงในศตวรรษนี้
ออกโดยพระสันตะปาปา ปีโอที่ 10 ในปี ค.ศ. 1905 พระองค์ทรงเป็นพระสันตะปาปา
ที่เต็มไปด้วยวิญญาณแห่งนักอภิบาลและคำสอน และพระองค์นี้แหละเป็นผู้ผลักดัน
ให้เกิดหนังสือคำสอนที่เหมาะกับยุคศตวรรษที่ 20 หนังสือคำสอนนั้นเป็นที่รู้จักกันในนาม
“คำสอนของปีโอที่ 10” (The Catechism of PiusX)
ในเอกสาร Acerbo Nimis นี้ได้ให้ความสำคัญแก่คำสอนโดยถือว่า
เป็นเครื่องมือที่จะหยิบยื่นความเชื่อของคริสตชนสู่ชนรุ่นใหม่ โดยดูได้จากชื่อนำของเอกสารนี้เอง Acerbo Nimis : De Christiana tradenda ซึ่งหมายความว่า
จงมอบคำสั่งสอนของคริสตชนโดยการสอน แม้ว่าจะไม่มีการกำหนดนิยมโดยตรงว่า
คำสอนคืออะไร แต่ความหมายของการสอนคำสอนก็ปรากฏแจ้งชัดในเอกสารฉบับนี้ คือ
“การมอบคำสั่งสอนของคริสตชน”
สิ่งที่น่าใจนอกจากความหมายของการสอนคำสอนแล้ว เห็นจะได้แก่การให้ความสำคัญ
แก่งานคำสอนตามวัด โดยที่พระองค์ได้ทรงเน้นถึงแนวปฏิบัติบางประการ
ที่ได้เคยปฏิบัติสืบมาแล้วให้เข้มข้นขึ้นอีก เช่น
-ให้ทุกวัดจัดให้มีการเรียนคำสอนสำหรับเด็กๆ ในวันอาทิตย์ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
-ให้จัดการเรียนคำสอนเป็นพิเศษ โดยมีระยะเวลาที่แน่ชัด
สำหรับผู้ที่เตรียมตัวรับศีลอภัยบาป ศีลกำลัง และศีลมหาสนิท
-จัดให้มีกลุ่มผู้สอนคำสอนในทุกวัด
-ให้จัดหลักสูตรพิเศษให้แก่บรรดานักศึกษา
-ให้จัดการเรียนคำสอนพิเศษให้บรรดาผู้ใหญ่ นอกเหนือไปจากการเทศน์
ในมิสซาในวันอาทิตย์
งานต่างๆ ที่พระองค์ทรงกำชับนี้ได้รับการตอบสนองโดยทั่วไป
ทำให้งานคำสอนแพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การสอนคำสอนตามวัดต่างๆ ได้รับความสนใจและเอาใจใส่จากบรรดาพ่อเจ้าวัดเป็นอย่างดี
ข้อมูลจาก 1. วิทยานิพนธ์ของ Jose Puthiyedath. 1994.
2. Going. Teach….., 1980
(สารคำสอนฉบับที่ 40 เดือนพฤษภาคม 1997)
ออกโดยพระสันตะปาปา ปีโอที่ 10 ในปี ค.ศ. 1905 พระองค์ทรงเป็นพระสันตะปาปา
ที่เต็มไปด้วยวิญญาณแห่งนักอภิบาลและคำสอน และพระองค์นี้แหละเป็นผู้ผลักดัน
ให้เกิดหนังสือคำสอนที่เหมาะกับยุคศตวรรษที่ 20 หนังสือคำสอนนั้นเป็นที่รู้จักกันในนาม
“คำสอนของปีโอที่ 10” (The Catechism of PiusX)
ในเอกสาร Acerbo Nimis นี้ได้ให้ความสำคัญแก่คำสอนโดยถือว่า
เป็นเครื่องมือที่จะหยิบยื่นความเชื่อของคริสตชนสู่ชนรุ่นใหม่ โดยดูได้จากชื่อนำของเอกสารนี้เอง Acerbo Nimis : De Christiana tradenda ซึ่งหมายความว่า
จงมอบคำสั่งสอนของคริสตชนโดยการสอน แม้ว่าจะไม่มีการกำหนดนิยมโดยตรงว่า
คำสอนคืออะไร แต่ความหมายของการสอนคำสอนก็ปรากฏแจ้งชัดในเอกสารฉบับนี้ คือ
“การมอบคำสั่งสอนของคริสตชน”
สิ่งที่น่าใจนอกจากความหมายของการสอนคำสอนแล้ว เห็นจะได้แก่การให้ความสำคัญ
แก่งานคำสอนตามวัด โดยที่พระองค์ได้ทรงเน้นถึงแนวปฏิบัติบางประการ
ที่ได้เคยปฏิบัติสืบมาแล้วให้เข้มข้นขึ้นอีก เช่น
-ให้ทุกวัดจัดให้มีการเรียนคำสอนสำหรับเด็กๆ ในวันอาทิตย์ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
-ให้จัดการเรียนคำสอนเป็นพิเศษ โดยมีระยะเวลาที่แน่ชัด
สำหรับผู้ที่เตรียมตัวรับศีลอภัยบาป ศีลกำลัง และศีลมหาสนิท
-จัดให้มีกลุ่มผู้สอนคำสอนในทุกวัด
-ให้จัดหลักสูตรพิเศษให้แก่บรรดานักศึกษา
-ให้จัดการเรียนคำสอนพิเศษให้บรรดาผู้ใหญ่ นอกเหนือไปจากการเทศน์
ในมิสซาในวันอาทิตย์
งานต่างๆ ที่พระองค์ทรงกำชับนี้ได้รับการตอบสนองโดยทั่วไป
ทำให้งานคำสอนแพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การสอนคำสอนตามวัดต่างๆ ได้รับความสนใจและเอาใจใส่จากบรรดาพ่อเจ้าวัดเป็นอย่างดี
ข้อมูลจาก 1. วิทยานิพนธ์ของ Jose Puthiyedath. 1994.
2. Going. Teach….., 1980
(สารคำสอนฉบับที่ 40 เดือนพฤษภาคม 1997)