จุดมุ่งหมายของคู่มือ
คู่มือนี้ได้รับการตีพิมพ์ขึ้นเนื่องมาจากผลการประชุมสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2
ทั้งนี้เพื่อประมวลและจัดระบบงานคำสอนต่างๆ ของพระศาสนจักรคาทอลิกให้อยู่ในหมวดหมู่
คู่มือนี้ไม่เน้นภาคทฤษฎีมากนัก คู่มือนี้จึงมีความผสมผสานระหว่างความหมายของงานคำสอน
พร้อมกับรายละเอียดเกี่ยวกับธรรมชาติ จุดมุ่งหมาย ประสิทธิผล เนื้อหา วิธีการ ฯลฯ
นอกจากนี้ คู่มือนี้ยังให้แนวทางเพื่อการสร้างงานคำสอนให้เหมาะกับสภาพการของแต่ละสถานที่ กาลเวลา และความเป็นไปของผู้คน คู่มือนี้ได้ยึดเอาเทวศาสตร์และความหมายของงานคำสอน
ตามคำสอนของสังคายนาวาติกันครั้ง 2 เป็นต้น เมื่อเราได้ศึกษาถึงธรรมชาติ จุดมุ่งหมาย
และบทบาทของงานคำสอนจากคู่มือนี้
การสอนคำสอนเป็นงานหนึ่งในศาสนบริการด้านพระวาจา
คู่มือนี้นำเสนอให้เห็นว่าคำสอนเป็นรูปแบบหนึ่งแห่งงานอภิบาลด้านพระวาจา (GDC 17)
ศาสนบริการของพระศาสนจักมีอยู่ 3 ประการ คือ
ศาสนบริการด้านประกาศก (พระวาจา)
ศาสนบริการด้านสงฆ์ (ถวายบูชา)
และศาสนบริการด้านกษัตริย์ (การรับใช้)
อาศัยศาสนบริการเหล่านี้ พระศาสนจักรได้ถ่ายทอดความเชื่อ (คำสอน)
สู่ชนรุ่นถัดมาอย่างต่อเนื่อง คู่มือนี้ได้ระบุโดยอ้างอิงถึงคำสั่งสอนของสภาพระสังคายนาว่า
“สิ่งที่บรรดาอัครสาวกถ่ายทอดสืบต่อกันมานั้นรวมทุกอย่างซึ่งมีประโยชน์
สำหรับเสริมสร้างชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ และเพิ่มความเชื่อของประชาการของพระเป็นเจ้า
และดังนี้ พระศาสนจักรในการสั่งสอน การดำเนินชีวิตและพิธีกรรม
ก็ทะนุบำรุงและถ่ายทอดทุกอย่างที่ตัวเองเป็น
และที่ตัวเองเชื่อต่อไปให้มนุษย์ทุกชั่วอายุขัย (DV8) (GDC13)
ดังนั้นเราสรุปได้ว่า การสอนคำสอนเป็นส่วนหนึ่งของศาสนบริการ
ด้านพระวาจาในพระศาสนจักร (GDC 17)
การสอนคำสอนเป็นการอบรมคริสตชนให้บรรลุถึงความเชื่อที่สมบูรณ์
เมื่อพูดถึงธรรมชาติและจุดมุ่งหมายของการสอนคำสอน คู่มือระบุว่า
“ศาสนบริการด้านพระวาจาทำได้หลายแบบรวมทั้งการสอนคำสอนด้วย
ทั้งนี้สุดแล้วแต่สถานการณ์ต่างๆ ในเวลากระทำ และสุดแล้วแต่จุดมุ่งหมาย
ซึ่งต้องการจะบรรลุถึง [.....] ยังมีศาสนบริการด้านพระวาจาในแบบการสอนคำสอน
(ซึ่งมุ่งอาศัยการอบรมที่จะทำให้ความเชื่อของมนุษย์กลับมีชีวิตชีวา
กิดความสำนึกและนำไปปฏิบัติ) (CD14)’ ZGDC 17)
จากข้ออธิบายนี้ การสอนคำสอนก็คือ งานหนึ่งในศาสนบริการด้านพระวาจา
ซึ่งมุ่งหวังที่จะทำให้ความเชื่อของคนเรามีชีวิตมากขึ้น มีสำนึก
และนำไปสู่การปฏิบัติมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยการให้การศึกษาอบรม
คู่มือนี้ยังให้คำจำกัดความของการสอนคำสอนอีกว่า
“ในขอบข่ายของงานอภิบาล การสอนคำสอนเป็นศัพท์ที่จะต้องใช้สำหรับ
กิจการของพระศาสนจักรในการนำสมาชิกของพระศาสนจักรทั้งส่วนตัวและส่วนรวม
ให้ลุถึงความเชื่อสมบูรณ์” (GDC 21)
ดังนั้น จุดมุ่งหมายของการสอนคำสอนก็คือ การนำผู้ที่มีความเชื่อ (อยู่แล้ว)
ไปสู่ความเชื่อที่สมบูรณ์ การนำเสนอที่ชัดเจนของคู่มือเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการสอนคำสอนนี้
เป็นกาสนับสนุนเทวศาสตร์ของการสอนคำสอน ซึ่งในเทวศาสตร์นี้การสอนคำสอน
ถูกจัดให้อยู่ในขอบข่ายงานอภิบาลของพระศาสนจักร
(สารคำสอนฉบับที่ 43 เดือนสิงหาคม 1997)