ความหมายของคำว่า “คำสอน”
ตอนที่ 4
ความหมายของ “การสอนคำสอน” ในสมัยปิตาจารย์
หลังจากสมัยของบรรดาอัครสาวกแล้ว บรรดาผู้นำของพระศาสนจักรที่สืบทอดต่อมา
ยังคงสัตย์ซื่อต่องานด้านประกาศพระศาสนาต่อไปอย่างสือบเนื่อง
โดยถือว่างานของการสอนคำสอนเป็นงานส่วนหนึ่งของศาสนบริการ
ด้านการประกาศแบบประกาศก (The prophetic ministry) ที่ได้รับมอบหมายจากพระเยซูคริสต์เอง
ในสมัยนี้เองที่ที่เริ่มพัฒนาระบบการเตรียมตัวผู้สมัครเข้ารับศีลล้างบาป
หรือที่เรียกว่า “คริสตังค์สำรอง” (Cetechumenate) ขึ้นอย่างชัดเจน
กล่าวคือมีการริเริ่มการสอนของพระศาสนจักร เช่น พระสังฆราช สังฆานุกร ครู ฯลฯ
แต่ต่อมาจำนวนของผู้สนใจทวีมากขึ้น ระบบนี้จึงค่อยๆ ลดลงไป
การสอนบรรดาคริสตังค์สำรองเหล่านี้ เรียกว่า การสอนคำสอน ในสมัยของปิตาจารย์นั้น
มีการสอนคำสอนอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1.The Baptismal Catechesis คือการสอนคำสอนให้กับผู้สมัคร
เพี่อเตรียมตัวรับศีลศักดิ์สิทธิ์คือศีลล้างบาป ศีลกำลัง และศีลมหาสนิท
2.The Mystagogical Catechesis คือการสอนคำสอนให้กับผู้ที่รับศีลล้างบาปแล้ว
เพื่อให้เกิดความรู้ที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับชีวิตความเชื่อของคริสตชน
ตลอดจนการดำเนินชีวิตตามวิถีทางของคริสตชน
ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นการเทศน์ในระหว่างมีพิธีกรรมต่างๆ
ในสมัยปิตาจารย์นี้ มีการสอนคำสอนมากมายหลายสำนึก
อย่างเช่นคำสอนของนักบุญเครเมนท์แห่งอเล็กซานเดีย
คำสอนของนักบุญเทโอดอแห่งโมพ์ซูเอสเตีย
คำสอนของนักบุญซีรีลแห่งเยซูซาแลม คำสอนของนักบุญอากุสติน ฯลฯ
หนังสือคำสอนชื่อ De Catechizandis Rubidus (การสอนคำสอนสำหรับผู้แรกเริ่ม)
เป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมของนักบุญอากุสติน
ดังนั้นในสมัยปิตาจารย์ คำว่า การสอนคำสอนจึงหมายถึงการสอนสมาชิกใหม่
เกี่ยวกับความเชื่อศรัทธาของคริสตชน ซึ่งมีอยู่ 2 ระยะด้วยกัน คือ
ก่อนการรับศีลล้างบาป และ หลังการรับศีลล้างบาป
การสอนคำสอนจึงเป็นการให้การอบรมเรื่องความเชื่อศรัทธา ส่วนการเทศน์ (Kerygma)
หรือการประกาศพระวรสาร (Evangelization) มุ่งหวังเพื่อให้เกิดความเชื่อในองคืพระเยซูเจ้า
ในระยะแรกเริ่ม เมื่อผู้สมัครยอมรับว่าพระเยซูคริสต์เป็นพระผู้ไถ่ของเขาแล้ว
จึงนำเขาเข้าสู่การสอนเกี่ยวกับคำสั่งสอนของพระเยซูคริสต์
(ในช่วงนี้แหละที่เรียกว่า การสอนคำสอน)
(สารคำสอนฉบับที่ 37 เดือนมกราคม 1997X