หลักเกณฑ์ในการสอนคำสอนช่วงวัยที่ 1: วัยทารก – 5 ปี
ช่วงวัยที่
1: วัยทารก – 5 ปี

“การเป็นภาพลักษณ์และการเป็นเหมือนพระเจ้า”

หลักการ
      
กระบวนการสอนคำสอนในวัยเด็กทารกมีค่ายิ่งนักในทางการศึกษา เด็กควรได้รับพัฒนาชีวิตตามลักษณะพื้นฐานทางด้านการเป็นมนุษย์ โดยให้มี ความรู้สึกของความไว้วางใจ อิสรภาพ การเสียสละ การวอนขอ การมีส่วนร่วมด้วยความยินดี ลักษณะที่สำคัญของการฝึกอบรมเด็กๆ ก็คือ การฝึกให้สวดภาวนา และ การอธิบายพระคัมภีร์ (GDC 178)

จุดประสงค์
     
เพื่อปลุกจิตสำนึกและปลูกฝังความเชื่อในช่วงวัยแรกเริ่มชีวิตของเด็ก

วัยทารก – 3 ปี

เป้าหมาย: เป็นการฝึกอบรมเด็กให้เป็นบุคคลที่มีพัฒนาที่มีความสมบูรณ์ตามช่วงวัยและปลูกฝังความเชื่อศรัทธาให้เกิดขึ้นในจิตใจของเด็ก

สภาพทั่วไปตามวัย: ในช่วงอายุนี้ เด็กๆ เริ่มเข้าสู่ชีวิตการเป็นบุคคลและมีชีวิตจิตด้วยการหล่อหลอมจากบรรยากาศในครอบครัวโดยผ่านทางความรักของคุณพ่อคุณแม่ การเอาใจใส่ของบุคคลในครอบครัว การสอนให้การภาวนา การดำเนินชีวิตที่เป็นประจักษ์พยานในชีวิตประจำวัน ความเชื่อและการนมัสการพระเจ้าของชุมชน และการได้ฟังเรื่องราวต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องจากพระคัมภีร์ ความเชื่อศรัทธาในวัยนี้ หมายถึง ความเชื่อถือ การเชื่อมั่น (Believe) ไว้วางใจ (trust) และการรู้จัก (know)

จุดประสงค์: เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ และลูกๆ รู้จัก เฉลิมฉลอง ดำเนินชีวิต และแสดงตนเป็นประจักษ์พยานถึงพระธรรมล้ำลึกของพระตรีเอกภาพในครอบครัว โดยการฝึกอบรมความเป็นมนุษย์ขั้นพื้นฐานและเพื่อชีวิตความเชื่อศรัทธาของเด็กๆ

ครอบครัวคริสตชนจะต้องดำเนินชีวิตเป็นประจักษ์พยาน ที่มีความรู้ มีการรำพึงภาวนา และการเฉลิมฉลองพระธรรมล้ำลึกของพระตรีเอกภาพในฐานะที่เป็นพระศาสนจักรระดับบ้าน

เนื้อหาคำสอนในช่วงนี้ ประกอบด้วย

  1. การเป็นคุณพ่อคุณแม่ (parenting) รู้ดีถึงความหมายของการเป็นคุณพ่อคุณแม่
  2. การดำเนินชีวิตตามหลักศีลธรรมในแต่ละวัน
  3. ความสัมพันธ์ในครอบครัว
  4. ปีพิธีกรรม
  5. ชีวิตศีลศักดิ์สิทธิ์
  6. การใช้ชีวิตในชุมชนและการทำหน้าที่ประกาศข่าวดี

วิธีการอบรมเลี้ยงดูลูก

  1. ป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิด (protecting)
  2. การหล่อเลี้ยง/บำรุง (nourishing/nurturing)
  3. ให้การชี้แนะ (guiding)
  4. ให้ความรัก (loving)

  1. การทำหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ (parenting)

        หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่: การป้องกัน (protecting) อันตรายทั้งร่างกายและจิตใจที่จะเกิดขึ้นกับลูก การหล่อเลี้ยง/บำรุง (nourishing/nurturing) สิ่งที่ดี คุณธรรมความดี คุณลักษณะที่เหมาะสม ให้คำแนะนำ (guiding) สิ่งที่ดี และการให้ความรัก (loving)

ช่วงตั้งครรภ์

ช่วงการเกิด

ช่วงเวลาการเสริมสร้างความเชื่อศรัทธาแรกเริ่ม

การเตรียมบรรยากาศในบ้าน

การตั้งชื่อ

ในช่วงแรกๆของชีวิต


  1.  การดำเนินชีวิตตามหลักศีลธรรมในแต่ละวัน

เพื่อการปกป้อง หล่อเลี้ยง ชี้แนะให้แนวทางและความรักให้แก่ลูกๆ ของตน คุณพ่อคุณแม่ต้อง…..

- ชวนเด็กๆให้สำรวจของขวัญที่พระเจ้าประทานให้ในธรรมชาติรอบตัว ทั้งน้ำ ทราย หิน ดอกไม้และอากาศ

- ให้ของเล่นที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก

- ให้เด็กๆ ได้สำรวจสี รูปร่าง ขนาด ลายเส้นผ้าและรูปแบบ ศีลปะ บทเพลง

- ส่งเสริมให้เด็กๆทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์เช่น การเต้น การวาด การปั้น การแสดง การระบายสี การตัดปะ ฯลฯ

เครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่าชีวิตจิตของเด็กกำลังเจริญเติบโตตามที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยที่เด็กอายุ 0-3 แสดงออกด้วยพฤติกรรม เหล่านี้


  1. ความสัมพันธ์กับครอบครัว

เพื่อการปกป้อง หล่อเลี้ยง ชี้แนะให้แนวทางและความรักแก่ลูกๆ ของตน คุณพ่อคุณแม่ต้อง

กับพี่ๆน้องๆ

คุณปู่คุณย่า-คุณตาคุณยาย

คุณลุง คุณป้าและญาติพี่น้อง

คุณพ่อคุณแม่ทูลหัว

สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนเตรียมอนุบาล

คนเลี้ยงลูก

เครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่าชีวิตจิตของเด็กกำลังเจริญเติบโตตามที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยที่เด็กอายุ 0-3 แสดงออกด้วยพฤติกรรม เหล่านี้


 

  1. ปีพิธีกรรม

โดยการเปิดโอกาสให้เด็กๆได้มีประสบการณ์ต่างๆ ตามความสามารถเท่าที่จะทำได้

1) การไปร่วมพิธีมิสซาในวันอาทิตย์ (เช่น การร้องเพลง การแห่)

2) ระหว่างเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระเยซูเจ้าและคริสตมาส

3) เทศกาลมหาพรตและปัสกา

4) คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปร่วมพิธีในวันฉลองใหญ่ๆ ต่างๆ เพื่อให้ลูกได้มีประสบการณ์และความคุ้นเคย

5) การเล่าเรื่องพระเยซูเจ้าให้ลูกฟัง

6) คุณพ่อคุณแม่แสดงถึงความผูกพันกับวัดและศาสนจักร

เครื่องหมายที่แสดงออกว่าเด็กมีความเจริญเติบโตฝ่ายจิตโดยผ่านทางกิจกรรมต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว

เด็กตั้งแต่เกิดจนถึงสามขวบ

 


  1. ชีวิตกับศีลศักดิ์สิทธิ์

โดยการปกป้อง หล่อเลี้ยง แนะนำ และความรักลูก

1) ส่งเสริมการเฉลอมฉลองพิธีกรรมในบ้าน ชีวิตทุกชีวิตเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะเป็นสถานที่ห่อหุ้มความรัก ความเรียบง่าย การเป็นประจักษ์พยานในชีวิตประจำวัน” (FC, 1981, ข้อ, 53)

2) การรับศีลล้างบาป

3) การทำหน้าที่ถ่ายทอดความเชื่อตามที่ได้สัญญาไว้

4) ช่วงเวลาแห่งความตาย

5) การมีส่วนร่วมกับชีวิตของพระศาสนจักรอย่างเต็มที่

เครื่องหมายที่แสดงถึงความเติบโตฝ่ายจิตโดยผ่านทางกิจกรรมต่างๆที่ได้กล่าวไว้ ก็คือ เด็กอายุแรกเกิดถึงอายุสามขวบ แสดงออกให้เห็นได้ด้วยพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้

 


  1. ชีวิตชุมชนและการประกาศข่าวดี

โดยการปกป้อง หล่อเลี้ยง แนะนำ และการให้ความรักลูก

1) การเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของวัดและชุมชน (เช่น การไปฉลองวัด การร่วมวันฉลองที่วัดจัดขึ้น วันพ่อวันแม่ วันแพร่ธรรมสากล วันยุวธรรมทูต วันครอบครัว ฯลฯ)

2) การพาลูกไปพบกับคนอื่นๆ ทั้งในวัดและชุมชน เพื่อการสร้างความคุ้นเคย และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (เช่น ตำรวจ ครู คนดับเพลิง หมอ พยาบาล ฯลฯ)

3) สร้างจิตสำนึกของการรักษาธรรมชาติ (เช่น การรักษาความสะอาด การประหยัดน้ำ การนำของเก่ามาปรับใช้ใหม่)

4) การช่วยเหลือคนยากจน (เช่น การมอบอาหารให้คนยากจน ให้เสื้อผ้า เวลา ความเป็นเพื่อน และต้อนรับทุกคน)

5) มีส่วนร่วมในวันฉลองของพ่อแม่ (วันเกิด วันครบรอบแต่งงาน วันฉลองนักบุญ ฯลฯ)

6) สร้างจิตสำนึกให้รักขนบธรรมเนียมประเพณี

7) สอนให้ลูกมีชีวิตสังคมและการช่วยเหลือสังคม

8) การเป็นประจักษ์พยานในชุมชน

เครื่องหมายของการเติบโตฝ่ายจิตจากการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆที่กล่าวมาแล้ว โดยเด็กอายุสามขวบลงมาแสดงออกด้วยพฤติกรรมเหล่านี้

 

 


คำสอนพระศาสนจักร

หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

CCC 2204 “ครอบครัวคริสตชน...สมควรอย่างยิ่งที่จะเรียกว่าเป็นพระศาสนจักรระดับบ้าน”

CCC 2205 “ครอบครัวคริสตชนเป็นการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคล เป็นเครื่องหมายและภาพลักษณ์ของการมีชีวิตร่วมกันของพระบิดา พระบุตรในพระจิตเจ้า”

CCC 2207 “ครอบครัวเป็นชุมชนที่บุคคลหนึ่งสามารถเข้าใจคุณค่าทางศีลธรรมตั้งแต่วัยทารก สามารถเริ่มถวายเกียรติพระเจ้าและทำการใช้เสรีภาพอย่างดี ชีวิตครอบครัวเป็นการริเริ่มสู่ชีวิตในสังคม”

CCC 2212 “ความสัมพันธ์อื่นๆในสังคม...ในพี่น้องชายหญิง ในญาติพี่น้อง ผู้สืบเชื้อสายของปู่ย่าตายายของเรา ในเพื่อนร่วมชาติของเรา...ในบรรดาผู้รับศีลล้างบาป ลูกๆของพระศาสนจักร ผู้เป็นมารดาของเรา ในมนุษย์ทุกคนผู้ซึ่งประสงค์ได้รับเรียกว่า พระบิดาของเรา”

CCC 2222 “บิดามารดาต้องถือว่าบุตรของตนเป็นลูกของพระเจ้า และให้ความเคารพในความเป็นบุคคลของบุตร”

CCC 2223 “ครอบครัวเป็นสถานที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการอบรมด้านศีลธรรม”

CCC 2224 “ครอบครัวเป็นสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติเพื่อให้มนุษย์มีความมั่นคงและมีความรับผิดชอบ”

CCC 2226 “การให้การอบรมเรื่องความเชื่อ พ่อแม่ต้องเริ่มให้ตั้งแต่ลูกที่ยังอ่อนวัยวัยที่สุด”

CCC 2228 “ความเคารพและความรักของบิดามารดาแสดงออกมาในการดูแลเอาใจใส่ ก่อนสิ่งอื่นใดหมดโดยการทุ่มเทอุทิศตนในการให้การอบรมลูกของตนและการจัดหาสิ่งของตามความต้องการทางร่างกายและฝ่ายจิตใจ”

 

ครอบครัวคริสตชนในโลกปัจจุบัน

ข้อ 17 “ตามแผนการของพระเจ้าผู้สร้างและผู้ไถ่กู้ คอบครัวนอกจากจะพบเอกลักษณ์ของตนคือสิ่งที่เป็นแล้ว ยังพบภารกิจคือ สิ่งที่ครอบครัวสามารถทำและควรทำ

ข้อ 26 “ภายในครอบครัว..สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องเอาใจใส่ตัวในตัวเด็กๆเป็นพิเศษ ต้องยกย่องเชิดชูศักดิ์ศรีความเป็นคนของเด็ก ทั้งต้องนับถือและปกป้องสิทธิของเขาด้วยใจเร่าร้อน”

ข้อ 39 “โดยศาสนบริการในการอบรมดูแลลูก พ่อแม่จึงเป็นคนแรกที่ประกาศพระวรสารให้ลูกโดยการดำเนินชีวิตของพ่อแม่เอง”

 

คู่มือแนะแนวทั่วไปสำหรับการสอนคำสอน (GDC)

ข้อ 226 “การปลุกความเชื่อทางศาสนาในวัยเด็กเช่นนี้ที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว เป็นสิ่งที่ไม่มีอะไรมาทดแทนได้”