ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCESE

ความหมายของคำว่า “คำสอน” 

ความหมายของ “การสอนคำสอน” ในสมัยของบรรดาอัครสาวก


จากการศึกษาถึงสิ่งที่บรรดาอัครสาวกได้กระทำในยุคสมัยของท่าน
ทำให้เราเข้าใจความหมายของการสอนคำสอนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
นั่นก็คือ การสอนที่เกี่ยวกับคำสอน หรือกฎของพระเยซูคริสต์
รวมไปถึงคำสั่งสอนอื่นๆ ของพระองค์ด้วย แต่ถ้าเป็นการสอนคำสั่งสอน
ของบรรดาอัครสาวกเอง ไม่เรียกว่าเป็นการสอนคำสอน
คำสอนแท้ต้องมาจากองค์พระเยซูคริสต์
คำว่า “การสอนคำสอน” นั้น พบในบทจดหมายของนักบุญเปาโลก 3 แห่งด้วยกัน
คือ ในโรม 2:18 โครินทร์ 14:19 และ กาลาเทีย 6:6
ซึ่งใน 3 แห่งนี้ใช้เพื่อหมายถึง การสอนเรื่องบทบัญญัติของโมเสสหรือกฎหมายของโมเสส

 

หรือเป็นการสอนเกี่ยวกับหลักปฏิบัติในชีวิตคริสตชน หรือสอนเรื่องความเชื่อของคริสตชน
 
เราลองมองดูใน โรม 2:18
“ท่านก็รู้แล้วว่า พระเจ้าทรงต้องการให้ท่านทำอะไร
และท่านก็ทราบจากธรรมบัญญัติด้วยว่า สิ่งไหนถูกต้องควรทำ”
ธรรมบัญญัติที่นักบุญเปาโลกว่าไว้ก็คือ กฎของโมเสสนั้นเอง
กฎที่ทำให้คริสตชนในสมัยนั้น (ก็คือชาวยิว) รู้ว่าตนต้องประพฤติปฏิบัติอย่างไร
ดังนั้นการสอนคำสอนในลักษณะนี้เป็นการสอนเชิงอบรม (Farmative instruction)
เพราะว่าสอนให้รู้กฎบัญญัติ เพื่อให้บุคคลนั้นๆ ปฏิบัติ
ในข้ออ้างอิงที่สองที่พบใน 1คร 14:19
“แต่ในที่ประชุมนมัสการของคริสตชน ข้าพเจ้ามักจะพูดเพียงห้าคำ
ที่ใครๆ เข้าใจได้มากกว่า เพื่อจะได้สอนผู้อื่น ดีเสียกว่าพูดพันคำด้วยภาษาแปลกๆ”
ในที่นี้ การสอนคำสอน ยังหมายถึง การสอนบุคคลอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ชุมชนที่ปรากฏตัวอยู่ต่อหน้า ครูคำสอน (ไม่ได้สอนเฉพาะบุคคลหรือแบบตัวต่อตัวเท่านั้น)
นักบุญเปาโลได้แยกแยะความหมายระหว่าง คำว่า “การเทศน์” (preaching)
หรือ Kerygma กับการสอนคำสอนไว้ในหลายแห่งด้วยกัน ดังที่ท่านสอนว่า
ความเชื่อเกิดขึ้นโดยผ่านทางการเทศน์ ดังนั้นเมื่อท่านใช้คำว่าเทศน์ หรือ Kerygma
ท่านหมายถึง การทำให้ผู้ที่ไม่ใช่คริสตชนเข้ามามีความเชื่อ
ดังที่ท่านเขียนไว้ใน โรม 10:14 และ 17
ข้อ 14 “เขาจะศรัทธาในพระองค์ได้อย่างไร ถ้าเขายังไม่ได้ยินถึงเรื่องพระองค์”
ข้อ 17 “ความศรัทธาก็เกิดขึ้นได้เพราะเราฟังคำประกาศ
 และคำประกาศนั้นมีขึ้นเพราะการเทศนาเรื่องพระเยซูคริสต์”
ส่วนการสอนคำสอน เป็นการสอนคำสั่งสอนของพระเยซูคริสต์
เพื่อนำผู้ที่มีความเชื่อศรัทธาอยู่แล้ว ให้เข้าสู่ชีวิตคริสตชนที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น
ในเรื่องความสัมพันธ์หรือความผูกพันระหว่างครูคำสอนกับผู้เรียนนั้น
นักบุญเปาโลได้พูดไว้ใน กาลาเทีย 6:6 ว่า
“ผู้ที่รับคำสอนทางคริสตศาสนา ควรแบ่งปันสิ่งดีทั้งหมดที่ตนมีกับครูผู้สอนตน”
สรุปได้ว่า การสอนคำสอนในสมัยของอัครสาวกนี้ หมายถึงการสอนที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง
หรือพิเศษไปจากการสอนอื่นๆ ในยุคสมัยนั้น เนื้อหาการสอนนั้น
ต้องมาจากคำสั่งสอนของพระเยซูคริสต์เอง เป็นการสอนหรือถ่ายทอดคำสั่งสอนของพระเยซู
เพื่อให้ผู้ที่มีความเชื่อศรัทธาอยู่แล้ว ได้พัฒนาความเชื่อของตนมากยิ่งขึ้น
หรือเป็นการสอนเพื่อเตรียมผู้เรียนให้เข้ารับศีลล้างบาป โดยผู้สอนนั้น
อาจจะเป็นสาวกเอง หรือผู้ที่ได้รับอำนาจการสอนจากพระศาสนจักร
(ข้อมูลจากวิทยานิพนธ์ของ Jose Puthiyedat 1994)
(สารคำสอนฉบับที่ 36 เดือนธันวาคม 2539)

 

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 "บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง"

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์