ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCESE


ความหมายของคำว่า “คำสอน”

หลายคนอาจจะทำงานคำสอนมานาน
แต่ยังไม่รู้ว่า “คำสอน” มีต้นสาย ปลายเหตุอะไร
พ่อต้องของคุณคุณพ่อวีระ  อาภรณ์รัตน์ที่มอบหนังสือ
Catechesis of An Evangelizing Church
(A Study on the Nature of Catechesis)
ซึ่งเป็นงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของศิษย์
ร่วมสถาบัน มหาวิทยาซาเลเซียนกรุงโรม
ในหนังสือเล่มนี้ได้ให้ประโยชน์หลายอย่าง
พ่อจึงแปลจับประเด็นสำคัญแล้วเขียนตามอารมณ์ของพ่อ
ให้สมาชิกได้รับประโยชน์บ้างติดตามเป็นตอนๆ ไป
ก็แล้วกัน

คุณพ่อวัชศิลป์  กฤษเจริญ
 
ตอนที่ 1
คำสอนในความหมายตามศัพท์ ภาษากรีกโบราณ

คำว่า “คำสอน” ในภาษาไทยเรานั้น ใครเป็นผู้นำมาใช้เป็นคนแรกพ่อไม่ทราบเหมือนกัน
(ใครรู้ช่วยเขียนมาแบ่งปันกันก็ได้) แต่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Catechesis” ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า
“Katecheo” หรือ “katekein” หมายถึง “เสียงจากเบื้องบน” (Sound from above)
เป็นคำที่ใช้กันน้อยมาก ชาวกรีกเองใช้เพื่อหมายถึง การอ่านบทประพันธ์ให้ผู้ฟังจากแท่นสูง
แต่ต่อมาได้พัฒนาคำๆ นี้ ให้มีความหมายใน 2 ลักษณะ คือ

1.หมายถึง ความเล่าเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ใครคนใดคนหนึ่งฟัง
หรือการแจ้งเรื่องหนึ่งให้ใครคนใดคนหนึ่งรู้ (เน้นการเล่า การบอก การแจ้ง ชี้แจง)

2.หมายถึง การแนะนำ บุคคลให้รู้บางสิ่งบางอย่าง หรือ การสอนคนให้รู้บางสิ่ง
(เน้นการสอนการแนะนำ การให้ความรู้) ซึ่งตามปรกติมักจะเป็นการแนะนำการสอน
ที่เกี่ยวกับความชำนาญเบื้องต้นในทักษะประเภทใดประเภทหนึ่ง

คำว่า “คำสอน” นี้ยังพบว่า พวก Stoicism (นักปรัชญาสำนักหนึ่ง)
ใช้เพื่อหมายถึงการสอนศิษย์ ต่อมาชาวกรีกเองใช้คำนี้ เพื่อหมายถึง การสั่งสอน
การแนะนำ บางสิ่งบางเรื่องให้กับบางคน หรือ การสอนคนให้รู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ต้องการ

(สารคำสอนฉบับที่ 34 เดือนตุลาคม 2539)
 

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 "บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง"

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์