ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCCESE

สรุปชีวิตและคำสอนของนักบุญเปาโลจากบทจดหมาย 13 ฉบับสรุปชีวิตและคำสอนของนักบุญเปาโลจากบทจดหมาย 13 ฉบับ
ลักษณะของจดหมาย
         จดหมายของนักบุญเปาโลไม่ได้เป็นตำราสอนเทววิทยา จดหมายส่วนใหญ่เป็นคำตอบที่เปาโลใช้กับปัญหาเฉพาะหน้าบางเรื่องที่เกิดขึ้นในกลุ่มคริสตชนที่ท่านเขียนถึง จดหมายเหล่านี้เป็นคำสั่งสอนของท่านที่มุ่งสอนกลุ่มผู้อ่านกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ยังมุ่งถึงผู้ที่มีความเชื่อทุกคนโดยทั่วไปอีกด้วย


คำสอนหลัก
      คำสอนพื้นฐานไม่ว่าท่านจะเขียนถึงใครหรือเทศน์สอนใครคำสอนพื้นฐานของท่านก็คือ “พระคริสตเจ้าสิ้นพระชนม์และกลับคืนชีพจากบรรดาผู้ตาย”(ถ้าพระคริสตเจ้ามิได้ทรงกลับคืนชีพการเทศน์สอนของข้าพเจ้าก็ไร้ประโยชน์...”(1คร15:14-15) ท่านปรับหลักคำสอนพื้นฐานนี้ให้เข้ากับผู้ฟัง พัฒนาและขยายความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ระยะเวลาการเขียนระหว่างปี ค.ศ. 50-80

สาระสำคัญที่ประมวลจากชีวิตและคำสอนของนักบุญเปาโลมีดังต่อไปนี้

1. ภูมิหลังชีวิต : ท่านเป็นชาวยิวที่เคร่งครัดและมีใจร้อนร้นคนหนึ่ง ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของโมเสสอย่างเคร่งครัด จนทนไม่ได้ที่เห็นคนไปนับถือพระเยซูคริสตเจ้า(คำให้การใน กจ.26:9-11) แต่เมื่อพระเจ้าได้ทรงเรียกเป็นกรณีพิเศษเขาได้เปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง(คำให้การ กจ.26:12-18) จากการที่เป็นคนต่อต้านคนที่เชื่อในพระเยซูคริสตเจ้ากลับกลายมาเป็นผู้ประกาศข่าวดีของพระองค์อย่างมอบกายถวายชีวิต(เปาโลพูดถึงความลำบากของท่าน 2คร11:23-29) สอนให้ทุกคนมีความเชื่อในพระเยซูเจ้าคริสตเจ้าและให้นำเอาคำสั่งสอนของพระองค์มาปฏิบัติในชีวิต(ดูกระแสเรียกของเปาโลใน 1ทธ1:12-17)

2. หลักความเชื่อที่ท่านยึดถือ : การได้พบกับพระเยซูคริสตเจ้าเป็นกรณีพิเศษนั้น คำว่า “เซาโล เซาโล ท่านเบียดเบียนเราทำไม” ทำให้เปาโลได้ใช้เวลาหาคำตอบให้กับตนเองถึงสามปีและที่สุดท่านได้พบคำตอบชีวิตว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้าที่พระองค์ทรงส่งลงมาเพื่อยอมตายบนไม้กางเขนเพื่อไถ่โทษบาปแทนเรา เอาเลือกของพระองค์ชำระล้างบาปของเรา ให้เราเป็นคนใหม่ด้วยพระจิตเจ้า และกลับเป็นบุตรบุญธรรมของพระเจ้า มีสิทธิที่จะได้เข้าสู่เมืองสวรรค์อยู่กับพระเจ้าอีกครั้งหนึ่ง หลักความเชื่อของท่านก็อยู่ “บทข้าพเจ้าเชื่อ” นั้นเอง

3. ท่านเน้น “ความเชื่อ” เพราะจากความเชื่อนี้เองที่ทำให้เราได้รับพระหรรษทานจากพระจิตของพระเจ้า และทำให้เรารู้ว่าเราควรประพฤติตนอย่างไรจึงจะเป็นที่พอพระทัยพระบิดาเจ้า ส่วนการปฏิบัติตามธรรมบัญญัตินั้นต้องเป็นผลมาจากความเชื่อ ให้ “ความเชื่อบงการชีวิต” ของเรา เพราะเรา “เชื่อจึงปฏิบัติ” ตาม แต่ถ้าปฏิบัติโดยไม่เชื่อหรือไม่รู้นั้นไม่มีเป็นบุญกุศลอะไร การจะได้รับชีวิตนิรันดรต้องมาจากความเชื่อและการปฏิบัติตามทุกสิ่งที่เชื่อ บทบัญญัติเป็นดั่งครูพี่เลี้ยงที่คอยดูแลเรา แต่เมื่อเราโตแล้วเราก็สามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเองได้

4. ความรอดพ้นนี้เป็นของทุกคนไม่ใช่เฉพาะชาวยิวเท่านั้น เพราะพระเยซูเจ้าทรงสิ้นพระชนม์เพื่อมนุษย์ทุกคน ดังนั้นท่านจึงพูดเสมอๆว่าพระเจ้าทรงเรียกท่านให้ทำหน้าที่ประกาศข่าวดีแก่คนต่างศาสนา(กท2:8)

5. ข่าวดีเรื่องความรอดพ้นโดยอาศัยความเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้านี้จะต้องนำไปเผยแผ่ โดยท่านได้สอนศิษย์ของท่านเช่น ทิโมธี ทิตัส ฟิเลโมน และแนะนำให้หาคนที่ไว้วางใจได้มาให้การอบรมสั่งสอนเป็นพิเศษเพื่อคนเหล่านี้จะได้นำข่าวดีไปถ่ายทอดต่อ(2ทธ2:2) แต่สิ่งที่ท่านให้ระมัดระวังอย่างมากคือครูผู้สอนผิดๆหรือครูจอมปลอม ท่านกล่าวถึงเรื่องนี้ในบทจดหมายถึงชาวโคโลสีและถึงทิโมธี(คส.2:5-8; 1ทธ.1:3-11)

6. เรื่องการแต่งตั้งผู้ร่วมงาน ผู้อาวุโส หรือผู้นำกลุ่มคริสตชน ท่านได้ให้ข้อแนะนำในการแต่งตั้งและบอกถึงหน้าที่ที่พึงปฏิบัติในจดหมายถึงทิโมธีและทิตัส เช่น หน้าที่ของหัวหน้าผู้รับผิดชอบ สังฆานุกร ฯลฯ

7. ความห่วงกังวลต่อพี่น้องคริสตชนนั้นมีเรื่องที่ท่านพูดบ่อยๆคือให้คริสตชน “เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน” หลายแห่งท่านทราบว่ามีความแตกแยกกันเช่นที่กรุงโรม โครินธ์ เอเฟซัส และที่อื่นๆแม้จะดีอยู่แล้วแต่ท่านก็เน้นเรื่องความรักกันนี้ เช่นที่ ฟิลิปปี เธสะโลนิกา

8.  ความประพฤติผิดในเรื่องเพศ ท่านได้แนะนำไว้ในจดหมายถึงชาวโครินธ์

9. ชีวิตครอบครัว ท่านได้แนะนำถึงบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวในบทจดหมายถึงชาวเอเฟซัสบทที่ 5 ข้อ 21-33ถึงบทที่ 6 ข้อ1-9

10. เรื่องการแต่งงาน อยู่ในบทจดหมายถึงชาวชาวโครินธ์ฉบับที่ 1 โดยท่านได้ตอบปัญหาต่างๆอย่างชัดเจน เช่น ควรแต่งงานไหม แต่งงานกับไม่แต่งงานอย่างไหนดีกว่า แต่งแล้วหย่าร้างได้หรือไม่ แต่งกับคนต่างศาสนาได้หรือไม่ ฯลฯ

11. คำแนะนำทั่วไปสำหรับการปฏิบัติตัวของบุคลต่างๆ เช่น ชายสูงอายุ แม่ม่าย คนหนุ่ม ทาส เจ้านาย ท่านได้แนะนำในจดหมายถึงติตัส

12. ส่วนเรื่องการอภิบาลบุคคลต่างๆ เช่น หญิงม่าย  ผู้อาวุโส ทาส ครู คนร่ำรวย ท่านได้เขียนให้ทิโมธีฉบับที่ 1

13. คำสอนเรื่องการดำเนินชีวิตประจำวันนั้น ท่านได้สอนให้เรารู้ว่าชีวิตของเรามีสองแนวทางในการเลือก คือ การดำเนินชีวิตตามธรรมชาติมนุษย์และการดำเนินโดยการทรงนำของพระจิต โดยท่านเน้นการใช้เสรีภาพและความรักเป็นเกณฑ์ตัดสิน(กท.5:13-25)

14. คำสอนเด่นอีกประการหนึ่งที่ได้รับการอ้างอิงบ่อยๆก็นิยามเรื่องความรัก “ความรักย่อมอดทนนาน มีใจเอื้อเฟื้อ...(1คร 13:4-7 )

15. คำสอนประการหนึ่งที่ทำให้เห็นว่านักบุญเปาโลให้ความเคารพนับถือกับบุคคลทุกๆคน โดยท่านเชื่อมั่นและมองเห็นการทำงานของพระจิตเจ้าในตัวของบุคคลทุกบุคคล ท่านเน้นว่าเราทุกคนต่างมีพระพรของพระจิตที่แตกต่างกัน ทุกคนมีความสามารถในด้านต่างๆ และความสามารถต่างๆที่เราแต่ละคนมีนั้นก็เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม และให้ภาพเปรียบเทียบที่ชัดเจนก็คือภาพของร่างกายของคนเราที่มีอวัยวะส่วนต่างๆประกอบกัน(1คร12:1-30)

16. เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่มีความจำเป็นมากๆก็คือ เรื่องวันพิพากษา เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร สำหรับวันพิพากษาหรือการเสด็จมาของพระคริสเจ้า ท่านเขียนไว้ในจดหมายถึงชาวเธสะโลนิกาฉบับที่ 1 บทที่5-6  และ 2 ทิโมธี 3:1-16

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์