ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCESE

artcate_06.jpgศิลปะการสอนคำสอน
บทที่ 6 วิธีการสอนเรื่องบทบัญญัติ
1. จุดมุ่งหมายของเรา คือ ต้องการให้เด็กๆ ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของพระเจ้าด้วยจิตตารมณ์ของคริสตชนอย่างแท้จริง เป็นจิตตารมณ์ที่ออกมาจากน้ำใจอิสระแห่งการเป็นบุตรของพระเจ้า พื้นฐานแห่งอิสรภาพนี้ อยู่บนพื้นฐานแห่งความจริงที่ว่า “เราได้เกิดใหม่แล้วเรามีชีวิตใหม่”

คริสตชนสามารถปฏิบัติกฎของพระเจ้า ไม่ใช่ด้วยความกลัว แต่กระทำด้วยความรู้สึกภายในส่วนลึกแห่งจิตใจที่ต้องการตอบสนองความรักของพระที่มีต่อเรามนุษย์ “เพราะว่าความรักของพระเจ้าได้หลั่งเข้าสู่จิตใจของเรา โดยทางพระจิตเจ้า ซึ่งพระองค์ได้ประทานให้แก่เราแล้ว” (รม 5:5) ด้วยความรักภายในเช่นนี้จึงเป็นสิ่งที่ดี เป็นลักษณะสำคัญของการไถ่บาป “เพราะว่าพระวิญญาณของพระเจ้าทรงนำผู้ใด ผู้นั้นก็เป็นบุตรของพระเจ้า” (รม 8:14)

ในความหมายนี้ พระเจ้าได้ทรงสัญญาว่า “เราจะบรรจุพระธรรมไว้ในเขาทั้งหลายและเราจะจารึกมันไว้บนดวงใจของเขาทั้งหลาย” (เยเรมีย์ 31:33) นี่แหละที่หลักศีลธรรมของคริสตชนแตกต่างจากหลักศีลธรรมของพระธรรมเก่าเพราะการปฏิบัติแต่ภายนอกนั้น ยังไม่เป็นการเพียงพอ แต่ต้องเป็นการปฏิบัติที่ออกมาจากจิตใจที่บริสุทธิ์  พระเยซูเจ้าทรงเปรียบเทียบถึงความแตกต่างนี้ “ท่านเคยได้ยินว่า.....แต่เราขอบอกว่า.....”  (มธ 5:17-6:24) และเป็นต้นกับพวกฟาริสี พระองค์ไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมของเขาเป็นอย่างยิ่ง การสอนของเราต้องสอดคล้องกับจิตตารมณ์ของพระคริสตเจ้า

2. มีข้อสังเกตสามประการ ที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเรื่องบัญญัติ

 ก.กฎบัญญัติ มักจะนำมาใช้เพื่อพิจารณาบาป สิ่งนี้ทำให้เราเกิดความโน้มเอียงที่จะมองดูกฎบัญญัติเป็นเพียงข้อกำหนดที่เราทำผิดต่อพระเจ้า

 ข.ถ้าเราใช้บทบัญญัติในลักษณะที่ว่าเป็นข้อกำหนด หรือบัญชีรายการที่เป็นของต้องห้าม ก็จะทำให้การดำเนินชีวิตของเด้กๆ และคริสตชนเป็นเรื่องที่น่าเบื่อไม่มีความสดชื่นเต็มไปด้วยความแวดระวัง อยู่ด้วยความกลัวนี้เป็นอันตราย ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ระบบศีลธรรม ทำให้คุณค่าของการกระทำความดีลดลงไป ทำให้เด็กๆ ขาดการสร้างสรรค์ มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่มีความอายในการทำความดี การทำดีที่อยู่นอกเหนือจากสิ่งต้องห้ามเหล่านั้น เราต้องเสรมิแรงความหมายของคุณธรรมให้เข้มแข็งขึ้น แสดงให้เห็นว่าคุณธรรมเป็นเรื่องของความเข้มแข็ง ความกล้าหาญ ไม่ต้องกลัว ในขณะที่ความเสียหายหรือสิ่งที่ไม่ถูกต้องนั้น มันเป็นความอ่อนแอ ความโง่เขลา ความเห็นแก่ตัว เป็นความขี้ขลาดตาขาว

 ค.ประชานมีความเข้าใจผิดในเรื่อง “เสรีภาพ” พวกเขาคิดว่าคนอิสระคือคนที่สามารถทำอะไรได้ตามใจปรารถนา อิสรภาพที่แท้จริงก็คือ ความสามารถที่จะทำในสิ่งที่ไม่ผิดพลาด สามารถทำในสิ่งที่ถูกต้อง การเลือกที่จะกระทำผิดเป็นการทำลายเสรีภาพ (การเลือกเป็นเครื่องหมายประการหนึ่งของเสรีภาพ) บาปเป็นผลจากการเป็นทาสของราคะตัณหาของการขาดความรู้

3. ข้อแนะนำเรื่องการสอนบทบัญญัติ เพื่อให้เกิดความเร้าใจภายใน ให้เกิดความรักในการกระทำดี

 ก.ก่อนการอธิบายบทบัญญัติแต่ละประการ ให้สอนถึงเรื่องที่ว่าพระเจ้าได้ประทาน
บทบัญญัติให้กับมนุษย์เราอย่างไรก่อน

 1)บทบัญญัติเป็นส่วนหนึ่งของน้ำพระทัยอันหาขอบเขตไม่ได้จากพระซึ่งเราเห็นได้จากงานการสร้างโลกจักรวาล พระเจ้าทรงสร้างเดือนดาวอะตอมต่างๆ ต้นไม้ใบหญ้า พระองค์ปกครองสิงสาราสัตว์ มนุษย์เท่านั้นที่มีสิทธิ์ในการเลือกที่จะดำเนินตามกฎเกณฑ์ของพระองค์หรือ ดำเนินชีวิตขัดแย้งกับพระองค์ แต่มนุษย์เองก็ไม่สามารถหลีกหนีผลที่ตามมาของการเลือกของเขา ไม่ว่าจะยอมรับเป็นมิตรกับพระเจ้า การปรารถนาเมืองสวรรค์ หรือการลงโทษของพระเจ้า มโนธรรมของเราคือความสามารถที่จะระลึกถึงกฎเกณฑ์ของพระเจ้า มันเป็นดังเช่นเข็มทิศซึ่งพระเจ้าได้ใส่ไว้ในจิตใจของเรา

 2)บัญญัติ 10 ประการเป็นข้อยืนยันที่มีค่ามากที่สุด ที่แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าได้ทรงประทานบทบัญญัติตราตรึงลงไว้ในจิตใจของมนุษย์ และเป็นการแสดงว่า พระเยซูคริสต์ได้ยืนยันและได้กระทำตามบทบัญญัติอย่างถี่ถ้วน และทำให้สมบูรณ์ขึ้นด้วย

 3)บทบัญญัติทั้งสอบสามารถสรุปได้เป็นข้อใหญ่ๆ 2 ข้อ คือ “การรักพระกับการรักเพื่อนมนุษย์”
 
 ข.เมื่อสอนเรื่องบัญญัติแต่ละข้อ

 1)ให้เริ่มโดยชี้ให้เห็นความจริงที่ว่า อะไรเป็นพื้นฐานของข้อนั้นๆ
 2)บรรยายพฤติกรรมซึ่งบัญญัตินี้บ่งบอก
 3)ชี้ให้เห็นตัวอย่างของพระเยซูคริสต์
 4)อธิบายเรื่องบาป ที่ขัดต่อบทบัญญัตินั้น

 ตัวอย่าง เช่น เมื่อต้องการอธิบายบทบัญญัติข้อแรก
 
จงนมัสการพระสวามีเจ้าผู้เดียวของเจ้า” ให้เราเตือนสติตนว่า

1.เราต้องขึ้นอย่กับพระเจ้าตลอดเวลา เพราะพระองค์ทรงให้ชีวิตและทุกสิ่งกับเรา
2.เราปรารถนาพระองค์
3.เป็นบุญของมนุษย์ที่มีพระเจ้า เพราะเราไม่สามารถที่จะได้รับความสุขแม้แต่เพียงเล็กน้อยด้วยตัวเอง
4.เพื่อที่จะทำให้บัญญัตินี้สมบูรณ์ หมายความถึง การดำเนินชีวิตตามข้อความจริงนี้
 
ประการที่ห้า “อย่าฆ่าคน
 
ข้อเท็จจริง : พระเจ้าได้ทรงสร้างมนุษย์ให้มีฉายาเหมือนพระองค์ (ปฐก 9:6) ให้เรามีส่วนในชีวิตของพระองค์ การทำร้ายใครก็ตาม ก็คือการทำลายพระฉายาของพระเจ้านั่นเอง

ประการที่หก “อย่าทำอุลามก

 ก.ความซื่อสัตย์ระหว่างสามีและภรรยา (เราสามารถอธิบายความจริงประการนี้ให้ทั้งกับผู้ที่เชื่อพระเจ้าและไม่เชื่อ) พระเจ้าต้องการพ่อและแม่ที่จะกำเนิดบุตร จงแสดงให้เห็นว่า ชายและหญิงมีส่วนในการเสริมสร้างความสมบูรณ์ให้แก่กันและกัน สำหรับเด็กที่โตๆ แล้วเราอาจจะพูดถึงการแต่งงานว่าเป็นการแสดงความสัมพันธ์อย่างสูงสุดระหว่างพระเยซูคริสต์กับพระศาสนจักร

 ข.การเคารพต่อร่างกายและพลังอำนาจอันอัศจรรย์ที่พระเจ้าประทานให้ มันเป็นดังเช่นสวนแห่งหนึ่ง มีรั้วป้องกันและมีคนดูแล เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และสวยอยู่เสมอ การทำให้ร่างกายของเราศักดิ์สิทธิ์ด้วยศีลล้างบาป ทำให้เป็นวิหารของพระจิตเจ้า เป็นส่วนหนึ่งของพระคริสต์ ถูกกำหนดให้มีส่วนร่วมในพระสิริรุ่งโรจน์ของพระคริสต์ผู้กลับคืนชีพ

ประการที่ 7 “อย่าลักขโมย
 เป็นการเน้นให้เคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่น
 สอนให้รู้จักใช้สิ่งของต่างๆ ให้เกิดคุณค่าให้มากที่สุด

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 "บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง"

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์