artcate_03.jpgศิลปะการสอนคำสอน
บทที่ 3 วิธีการทางจิตวิทยากับการสอนคำสอน
ต่อไปนี้เราจะพิจารณาในแต่ละบทเรียน จุดประสงค์ของเราก็คือ การค้นหาวิธีการ ที่จะสื่อคำสั่งสอนทางศาสนาให้กับเด็กๆ ในรูปแบบที่เด็กสามารถรับได้และคำสอนนี้จึงจะสามารถเป็นอาหารหล่อเลี้ยงสติปัญญา จิตใจและความเชื่อของพวกเด็กมีสิ่งที่ควรคำนึงต่อการให้คำสอนแก่เด็กๆ ดังต่อไปนี้...

1.คำสอนแต่ละบทเรียนต้องมีจุดมุ่งหมายเฉพาะเจาะจง
ถ้าท่านไม่กำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนแล้ว ท่านจะไม่มีวันประสบผลสำเร็จในการถ่ายทอดเลย แต่ละบทเรียนทางศาสนา ควรจะประกอบด้วยจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้
 -จุดมุ่งหมายเชิงความรู้ คือ เรื่องที่ครูอยากให้เด็กรู้อะไร
 -จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม คำสอนนี้มุ่งให้เด็กเกิดแนวปฏิบัติในชีวิตประการใด
 -จุดมุ่งหมายเชิงอารมณ์ ความพึงพอใจ คำสอนที่มุ่งให้เด็กเกิดความประทับใจ
 ชื่นชอบ เกิดจินตนาการ ติดอกติดใจ

2.การเตรียมจิตใจเด็กเพื่อรับการเรียนรู้คำสอน
ดังเช่นการเตรียมดินเพื่อการเพาะปลูก สิ่งเหล่านี้สามารถทำได้ใน 3 หนทาง
 -หวนระลึกถึงสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้มาก่อนแล้ว
 -หวนระลึกถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับคำสอนนั้น
 -ดึงออกจากประสบการณ์ที่เด็กๆ คุ้นเคย

3.เริ่มด้วยการเล่าเรื่อง เหตุการณ์ หรือรูปภาพ ซึ่งมีความหมายตรงกับคำสอนที่ท่านตั้งใจจะสอน
มนุษย์ถูกสร้างมาในลักษณะที่ว่า ความรู้ความสามารถเข้ามาได้ โดยผ่านทางประสาทสัมผัส ความหมายหรือคำนิยามไม่สามารถสือสารตัวเองได้ เราแต่ละคนได้สร้างความหมายหรือสร้างคำนิยามด้วยตัวเอง เด็กๆ เองก็ต้องสร้างมันขึ้นจากข้อมูลที่จับต้องได้ ดังนั้น คำสอนจึงควรเสนอออกมาในรูปแบบของเรื่องเล่า โดยการอธิบายเรื่องให้เด็กๆ จะช่วยให้เด็กสร้างความเข้าใจถึงความหมายและข้อคำสอนนั้น ยิ่งกว่านั้นเราต้องแสดงให้เห็นข้อคำสอนมีเพื่อชีวิตที่ดีกว่า และเป็นจูงใจต่อการดำเนินชีวิต

 โดยทั่วไปแล้ว บทเรียนประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญคือ
 ก.นำเสนอ ข้อคำสอนในรูปแบบเรื่องเล่า (จากพระคัมภีร์ จากเหตุการณ์ที่โด่งดัง น่าสนใจ อาจใช้สื่ออุปกรณ์เข้าช่วย
 ข.การอธิบาย โดยดึงเอาจากเรื่องเล่านั้น เราใช้วิธีอธิบาย ถามคำถาม ย่อเรื่อง อ้างอิงถึงคำสอนหรือหลักการพระศาสนา
 ค.ประยุกต์ ให้สัมพันธ์กับความจริงกับชีวิตของเด็ก ให้เกิดพฤติกรรมที่ดีสร้างสรรค์ให้เด็กปฏิบัติได้

4.มีกิจกรรม เด็ก ๆ เรียนโดยการกระทำ
ให้เด็กๆ ได้ลงมือกระทำบางสิ่งอย่างที่เขาสามารถประยุกต์ให้เข้ากับความรู้ เสริมกับความรู้ที่ได้รับ ซึ่งอาจจะทำโดยการเขียนด้วยปากเปล่า ด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมศิลปะต่างๆ

โครงสร้างแต่ละบทเรียน เราสามารถวางแผนได้ดังนี้
จุดประสงค์ : เลือกเอาสิ่งที่คิดว่ามีคุณค่าที่สุดสำหรับการสอนการเรียนรู้
ขั้นการเตรียมตัว..............................................2 นาที
นำเสนอและการอธิบาย...................................15 นาที
การประยุกต์...................................................5 นาที
กิจกรรม........................................................8 นาที
 
 เพิ่มกิจกรรมในรูปแบบของการบ้านได้

 ข้อสังเกต :  วิธีการหนึ่งๆ เป็นเพียงอุปกรณ์เพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมาย
                  วิธีการไม่ได้เป็นจุดเป้าหมายด้วยตัวเองต้องมีการเปลี่ยนแปลง หรือให้อยู่ในรูปแบบที่หลากหลายที่สอดคล้องกับข้อเรียกร้องอื่น

5.หลักเพิ่มเติมอีกสองประการเพื่อทำให้วิธีการสมบูรณ์ขึ้น

 ก.หลักแห่งกิจกรรม ควรให้เด็กๆ ได้เกิดความกระตือรือร้น มีชีวิตชีวาเท่าที่เราสามารถจะให้ได้ ข้อคำสอนควรจะให้ออกมาในรูปแบบของกิจกรรม ครูไม่ควรเอาแต่พูด ๆ ตลอดเวลาแบบผูกขาด ปล่อยให้เด็กๆ ได้พูดเสริม ร่วมมีส่วนให้มากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงการเตรียม การอธิบาย และการประยุกต์

 ข.หลักแห่งประสบการณ์ ข้อคำสอนควรจับจิตจับใจ ภายในส่วนลึกของเด็ก ซึ่งมันควรเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ประสบการณ์หนึ่งๆ เกิดขึ้นเมื่อความจริงที่สำคัญไม่ได้เพียงเกี่ยวพันเฉพาะสติปัญญา แต่ต้องเข้าไปเกี่ยวพันกับพลังอำนาจทั้งหมดของจิตใจ จินตนาการ หัวใจ และน้ำใจของเด็กๆ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ เช่น การเล่าเรื่อง บุคคลต่างๆ มีชีวิตชีวา เด็กๆ เข้ามามีส่วนร่วมในความหวังของเขาและความกลัว ความร่าเริงยินดี และความโศกเศร้า การตัดสินใจที่สำคัญ และความล้มเหลวอันน่าเศร้าต่างๆ เหล่านี้ เช่นนั้น ความจริงได้กลับกลายเป็นประสบการณ์ ท่านไม่จำเป็นต้องเป็นห่วงเกี่ยวกับขั้นตอนการอธิบาย และการประยุกต์ ถ้าหากว่าครูคำสอนนั้น
มิได้สัมผัสลึกซึ้งและมีประสบการณ์เกี่ยวกับความงดงามหรือความน่าหดหู่ใจเกี่ยวกับข้อคำสอนในชีวิต ภาวนา และการรำพึงภาวนาแล้ว เมื่อเขาต้องสอนเรื่องนั้นๆ เขาต้องแสดงออกด้วยความเคารพ ความร่าเริงยินดีในการถ่ายทอดสารของพระเจ้า ด้วยน้ำเสียง ด้วยสีหน้าด้วยทุกๆ อากัปกิริยา และจะเห็นได้ว่า บรรยากาศแห่งความสดชื่น แห่งความรัก จะแผ่ซ่านไปในห้องเรียนของท่าน