นกนางนวล
วัตถุประสงค์
1. ฝึกทักษะในการรับฟัง การสื่อความหมาย และภาษาท่าทาง
2. ใช้เป็นเกมนำในช่วงเริ่มต้นเกม/กิจกรรม
3. ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้
จำนวนสมาชิก ไม่จำกัดจำนวน
อุปกรณ์ -
สถานที่ ห้องอบรม
ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม 5 - 10 นาที
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
1. ผู้นำเกม หรือวิทยากรแจ้งให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทราบว่า ต่อไปนี้ จะให้ทุกคนออกท่าทางตามภาษาที่จะพูดคือ ถ้าดิฉัน/ผม พูดว่า
“นกนางนวลนอนนิ่ง” ให้ทุกคนกางฝ่ามือกวักมือระดับไหล่ แล้วนำมาประสานกันเหมือนพนมมือตรงบริเวณหูด้านขวา แล้วเอียงคอเหมือนนอน
“เกาะกิ่งอยู่บนยอดมะนาว” ก็ให้เปลี่ยนอิริยาบทเป็นกางฝ่ามือกวักระดับไหล่ แล้วมาทำลักษณะเหมือนกับเกาะหรือจับคานไม้บริเวณหน้าอก
“นกนางนวลนอนหนาว” ก็ให้เปลี่ยนอิริยาบทเป็นกางฝ่ามือกวัก ระดับไหล่ แล้วนำมาประสานเหมือนพนมมือบริเวณหูด้านซ้าย แล้วเอียงคอและให้หลังเอนพิงเก้าอี้นั่งสัก 2 -5 วินาที
2. ผู้นำเกมอาจจะแทรกประโยคคำพูดอื่น แล้วแจ้งว่าถ้าดิฉัน/ผม พูดประโยคอื่น ๆ ให้คงท่าทางหรืออิริยาบทเดิม เช่น แทนที่จะพูดว่า “นกนางนวลนอนหนาว” อาจจะพูดเป็น “นกนางนวลนอนหงาย” หรือแทนที่จะพูดว่า “นกนางนวลนอนนาน” ก็อาจจะพูดเป็น “นกนางนวลนอนนึก” หรือแทนที่จะพูดว่า “เกาะกิ่งอยู่บนยอดมะนาว” ก็อาจพูดเป็น “เกาะกิ่งอยู่บนยอดมะพร้าว” เป็นต้น เราอาจจะสรุปประโยคของเกม/กิจกรรมเป็นดังนี้
“นกนางนวลนอนนิ่ง เกาะอยู่บนยอดมะนาว นกนางนวลนอนหนาว นกนางนวลนอนนาน”
3. เสร็จแล้วผู้นำเกมสรุปกิจกรรมหรือใช้เกมอื่นเล่นต่อไป