บทที่  38 ความตาย

จุดมุ่งหมาย    เพื่อให้ผู้เรียนมองความตายในมิติใหม่ โดยมีการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์เป็นรูปแบบ นั่นก็คือความตายเป็นการปิดชีวิตในโลกนี้ และเปิดประตูสู่สวรรค์นิรันดร

ขั้นที่ 1  กิจกรรม    อุปกรณ์ หนังสือพิมพ์เท่าจำนวนกลุ่มของผู้เรียน (ควรมีหนังสือพิมพ์หลายฉบับแตกต่างกัน)
ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันค้นหาข่าวเกี่ยวกับความตายที่เกิดขึ้น พร้อมรายละเอียด (ผู้ตายเป็นใคร ? ชายหรือหญิง ? อายุเท่าไร ? ตายที่ไหน ? ตายเพราะสาเหตุใด ?) เสร็จแล้วส่งผู้แทนออกมารายงานหน้าชั้น

ขั้นที่ 2  วิเคราะห์
ครูถามผู้เรียนว่า
- ได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับความตายแล้วรู้สึกอย่างไร ?
- ปกติตนเราอยากตายหรือไม่ ? ทำไม ?
- แต่ทำไมคนเราจึงต้องตาย ? มีหนทางทำให้คนเราไม่ต้องตายได้หรือไม่ ?
สรุป คนเราทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย หนีไม่พ้น ไม่ว่าคนแก่ คนหนุ่มสาว เด็ก ความตายไม่เลือกอายุเพศ ฐานะ และไม่มีใครรู้ว่าจะตายเมื่อไร ที่ไหน อย่างไร

ขั้นที่ 3  คำสอน
       
1. พระเยซูตรัสว่า ความตายเหมือนกับขโมย มันจะมาเวลาไหนไม่รู้ “ถ้าเจ้าของบ้านรู้ว่าขโมยจะเข้าบ้านเวลาใด เข้าก็จะตื่นเฝ้าระวังไม่ให้มันแอบเล็ดลอดเข้าไปในบ้านได้ ท่านทั้งหมายก็จงเตรียมไว้ให้พร้อมเถิด เพราะบุตรมนุษย์จะเสด็จมาในเวลาที่ท่นไม่นึกไม่ฝัน” (ลก. 12,39 – 40) เราทั้งหลายก็เห็นอยู่กับตา หลายคนจู่ๆก็ตายไปโดยปัจจุบันทันด่วน ลองนึกดูซิว่าที่เราเคยเห็นมีใครบ้าง เขาตายอย่างไร ที่เราพบในหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ก็ตามโดยกระทันหันมิใช่หรือ ?

       2. พระเยซูคริสต์มิได้ประสงค์ให้เรากลัวความตาย แต่ทรงสอนให้ระมัดระวังตัว ไม่ประมาท และพระองค์เองทรงลับสอนให้เราคริสตชนมองความตายในความหมายใหม่ คือ โดยศีลล้างงบาปเราได้ตายเหมือนพระคริสตเจ้าแล้ว เพื่อจะได้กลับเป็นขึ้นมาในชีวิตใหม่ความตายของร่างกายทำให้การตายเหมือนพระคริสตเจ้าแล้ว เพื่อเราจะได้กลัลเป็นขึ้นมามีชีตใหม่ ความตายของร่างกายทำให้การตายเหมือนพระคริสต์สำเร็จสมบูรณ์ และทำให้เรามีส่วนร่วมกับการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระองค์ นักบุญเปาโลกล่าวว่า “ถ้าเราตายกับพระองค์ เราจะกลับเป็นขึ้นมากับพระองค์” (รม. 6,8) และท่านยังเสริมอีกว่า “สำหับข้าพเจ้าการมีชีวิตอยู่ก็เพื่อพระคริสต์ และการตายก็เป็นกำไร” (ฟป. 1,21)

         ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ “พระเยซูคริสต์ได้พิชิตความตายแล้ว ความตายไม่มีอำนาจเหนือพระองค์แล้ว” (เทียบ รม. 6,9) หมายความว่าความตายซึ่งเป็นโทษของบาปและนำไปสู่หายนะนั้นบัดนี้พระเยซูคริสต์ได้ทรงทำให้ความตายนั้นกลับเป็นประตูนำไปสู่ความรอด โดยอาศัยการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ ดดยวิธีนี้ทุกคสที่ตายในพระหรรษทานของพระองค์ ก็จะกลับเป็นขึ้นมาสู่ความรอดแบบฉบับของพระองค์ด้วย

         เพราะความเชื่อเช่นนี้ทำให้บรรดานักบุญมองความตายเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา และน้อมมรับความตายด้วยความชื่นชมยินดี นักบุญเปาโลกล่าว่า “ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะจากโลกนี้ไปอยู่กับพระคริสต์” (ฟป. 1,23) นักบุญอิกนาซีโอ แห่งเมืองอันทิโอกก็กล่าว่า “ข้าพเจ้าขอตายเพื่อพระคริสต์ดีกว่าที่จะครองสมบัติไปจนสิ้นโลก” (จดหมายถึงชาวโรม ข้อ 6)

        นักบุญเทเรซาแห่งอาวิลลากล่าว่า “ข้าพเจ้าอยากเห็นพระเป็นเจ้า และเพื่อจะเห็นพระองค์ได้ ข้าพเจ้าก็ต้องตานเสียก่อน” และท่านก็คอยความตายเหมือนคอยราชรถมาเกย
        นักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซูกล่าว่า “ข้าพเจ้าไม่อยากตายดอก ข้าพเจ้าเริ่มต้นชีวิตใหม่ต่างหาก”
        นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีร้องสรรเสริญพระเจ้าว่า “ขอถวายพระพรแด่พระองค์ พระเจ้าข้า ที่ได้ประทานน้องสาวที่รัก คือความตายฝ่ายกายที่ไม่มีใครหนีพ้นมาได้ วิบากกรรมแก่ผู้ที่ตายในบาปหนา แต่มหาลาภแก่ผู้ที่เป็นที่โปรดปรานของพระองค์ เพราะความตายประเช่นนี้จะไม่นำเภทภัยมาสู่เขาเลย”

        นักบุญหลุยส์ เดอ คอนซัค กำลังเล่นอยู่ในสนามกับเพื่อนๆมีคนถามท่านว่า “ถ้าพระเป็นเจ้าทรงใช้เทวดามาบอกว่าจะต้องตายในขณะนี้ จะทำอย่างไร ?” ท่านก็ตอบอย่างหนักแน่นว่า “ผมจะเล่นต่อไป” แสดงให้เห็นสองสิ่งที่แฝงอยู่ในคำตอบนี้ คือ ท่านพร้อมแล้วจะตายเวลาไหนก็ได้ และท่านถือว่าการเล่นในขณะนี้ของท่านเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของชีวิต การตายในขณะเล่นจึงเป็นการตายในหน้าที่ซึ่งตรงกับพระวรสารที่กล่าวว่า “เป็นบุญของคนนใช้ที่นายกลับมาพบขณะกำลังทำหน้าที่อยู่ นายจะแต่งตั้งเขาให้ดูแลข้าวของของนาย” (มธ. 24,46 – 47)

        4. พระเยซูคริสต์ทรงเสริมกำลังใจของคริสตชนในการเผชิญความตายว่า “เราเป็นอาหารทรงชีวิตซึ่งลงมาจากสวรรค์ ผู้ใดกินอาหารนี้ผู้นั้นมีชีวิตนิรัน และอาหารที่เราจะให้เพื่อเห็นแก่ชีวิตของโลกนั้นก็คือเลือดเนื้อของเราเอง” (ยน. 6,51) พระองค์ทรงหมายถึงศีลมหาสนิทซึ่งทำให้เรามีชีวิตสนิทแนบแน่นกับพระองค์จนว่าเมื่อพระองค์เสด็จกลับคืนพระชนม์ชีพแล้วไม่สิ้นพระชนม์อีก เราก็จะกลับเป็นขึ้นมาแล้วไม่ตายอีกเช่นกัน

           ศีลศักดิ์สิทธิ์อีกประการหนึ่งที่เป็นพลังช่วยเราในการเผชิญความตายก็คือ ศีลเจิมคนไข้ พระศาสนจักรจึงส่งเสริมและกำชับให้คริสตชนรับศีลนี้เมื่อถึงเวลาอันควร และเอสาใจใส่ให้คริสตชนที่เจ็บป่วยหรือชนาได้รับศีลด้วย
           พิธีกรรมสำหรับผู้ตายยังได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เน้นไปในทางความเชื่อและความหวังในมหากรุณาธิคุณของพระเป็นเจ้ามากกว่าพระพิโรธและพระอาญาของพระองค์ อาทิ ให้มีการประดับดอกไม้ได้ ให้มีการร้อง “อัลเลลูยา” แสดงความยินดีที่ผู้ตายจะได้ไปอยู่กับพระเป็นเจ้าได้ ให้ใช้อาภรณ์สีม่วงแสดงถึงความทุกข์ผสมผสานกับความหวังได้ ให้อวยพรหลังมิสซาได้ ให้ถวายมิสซาประจำวันแทนมิสซาผู้ตายได้

            เราจึงพึงมองความตายด้วยสายตาเป็นมิตรมากกว่าศรัตรู และกระทำตนให้พร้อมที่จะต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือนนี้ด้วยความยินดี

 ขั้นที่ 4  ปฏิบัติ

  • ข้อควรจำ
    1. ความตายเหมือนขโมย จะมาเมื่อไรก็ไม่รู้ จึงพึงเตรียมตัวให้พร้อม อย่าประมาท
    2. พระเยซูคริสต์ทรงพิชิตความตายโดยสิ้นพระชนม์และทรงกลัลคืนพระชนม์ ความตายไม่มีอำนาจเหนือพระองค์เลย
    3. “ถ้าเราตายกับพระคริสต์ เราก็จะกลับเป็นขึ้นมากับพระคริสต์” (รม. 6,8)
    4. “สำหรับข้าพเจ้าการมีชีวิตอยู่เพื่อพระคริสต์ และการตายก็เป็นกำไร” (ฟป. 1,21)
  • กิจกรรม จัดวจนพิธีกรรมอุทิศแก่ผู้ตาย
    - เพลงเริ่มพิธี
    - บทอ่าน (ลก. 12,35 – 40)
    - คำเตือนใจสั้นๆ
    - ภาวนาอุทิศแก่ผู้ตาย (ผู้เรียนนำเสนอตามความประสงค์)
    - เพลงปิดพิธี


    การบ้าน เยี่ยมสุสาน และสวกภาวนาอุทิศแก่ผู้ล่วงลับที่นอนหลับพักผ่อนอยู่ในสุสานนั้น เป็นต้น ญาติพี่น้อง ผู้มีพระคุณ และผู้ที่ไม่มีใครคิดถึง