บทที่  21 พระหรรษทาน

จุดมุ่งหมาย      เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงคุณค่าของพระหรรษทาน เกิดความซาบซึ้งอยากจะได้รับ และหวงแหนจนสุดชีวิต

ขั้นที่ 1  กิจกรรม
ครูนำภาพหลายๆภาพมาให้ผู้เรียนดู ถ้าเป็นภาพเด็กนานาชาติก็ยิ่งดี ถามว่า
- เด็กแต่ละคนมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ?
- มีความน่ารักน่าเอ็นดูที่ตรงไหน ?
- ชอบเด็กคนไหนมากที่สุด

ขั้นที่ 2  วิเคราะห์

ครูถามผู้เรียนต่อว่า
- มีอะไรที่เด็กทำเองได้โดยไม่ต้องมีผู้ใหญ่ช่วย
- มีอะไรที่เด็กทำไม่ได้ ต้องมีผู้ใหญ่ช่วย ?
- ทำไมเด็กจึงต้องมีผู้ใหญ่ช่วย

สรุป     เด็กยังเล็ก มีขีดความสามารถจำกัด ถ้าจะทำอะไรเกิดความสามารถต้องมีผู้ใหญ่ช่วย

ขั้นที่ 3  คำสอน

      1. ต่อหน้าพระเป็นเจ้าเรามนุษย์ก็เปรียบเหมือนเป็นเด็ก เพราะเรามีความสามารถอยู่ในขีดจำกัดเหมือนกัน ทำอะไรได้เฉพาะในแวดวงธรรมชาติเท่านั้น ถ้าจะทำอะไรเหนือธรรมชาติต้องอาศัยพระเป็นเจ้าช่วย เพราะพระเป็นเจ้าอยู่เหนือธรรมชาติ ทรงฤทธิ์ทุกประการ

      2. พระเป็นเจ้าสร้างมนุษย์ตาม “พระฉายา” ของพระองค์ (เทียบ ปฐม. 1,26) หมายความว่าพระองค์ททรงยกมนุษย์ขึ้นระดับเหนือธรรมชาติแล้วตั้งแต่แรกสร้าง สภาพดังกล่าวอยู่เหนือขีดความสามรถของมนุษย์ที่จะไขว่คว้าหามาได้ด้วยตนเอง จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยพระเป็นเจ้าเป็นผู้ช่วย เหมือนกับเด็กต้องพึ่งพาอาศัยผู้ใหญ่นั่นแหละ ความช่วยเหลือนี้มาจากพระเป็นเจ้า บางทีก็เรียกว่า “ของประทาน” หรือ “พระหรรษทาน”

      3. ของปะทาน หรือ พระหรรษทาน เป็นความช่วยเหลือที่พระเป็นเจ้ามอบให้มนุษย์เพราะความรักของของพระองค์ล้วนๆ มนุษย์ไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องประการใด ชื่อ “หรรษทาน” หรือ “ของประทาน” เองก็บอกชัดเจนว่าเป็น “ทาน” คือสิ่งที่ผู้ให้ให้ด้วยใจอิสระ ด้วยใจสมัคร ไม่มีใครมาบีบบังคับได้ ของประทาน หรือ พระหรรษทานนี้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

ก. พระหรรษทานศักดิ์สิทธิกร ได้แก่ของประทาน หรือ ความช่วยเหลือพิเศษของพระเป็นเจ้าที่ทำให้มนุษย์ยกระดับขึ้นสู่สภาพเหนือธรรมชาติ กลายเป็นบุตรของพระเจ้า มีส่วนในชีวิตและสันติสุขกับพระองค์ พระหรรษทานศักดิ์สิทธิกรนี้เราได้รับเมื่อรับศีลล้างบาป สามารถเจริญเติบโตขึ้นได้เมื่อรับศีลศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ เมื่อสวดภาวนาหรือกระทำกิจการดีงามใดๆ อาจจะสูญสลายไปได้เมื่อกระทำบาปหนัก แต่ก็กลับคืนมาได้ด้วยการรับศีลแก้บาป

ข. พระหรรษทานปัจจุบัน ได้แก่ของประทานหรือความช่วยเหลือพิเศษที่พระเป็นเจ้ามอบให้เป็นครั้งคราวตามความจำเป็น เพื่อช่วยเมนุษย์ให้สามารถต่อสู้กับกิเลส ตัญหา และความชั่วช้าต่างๆของโลก สามารถกระทำความดีอันมีผลให้บรรลุความสุขนิรันดรกับพระองค์

       4. นอกจากของประทานที่เรียกว่า “พระหรรษทาน” แล้วพระเป็นเจ้ายังมอบความช่วยเหลือให้แก่มนุษย์ในรูปแบบของ “พระคุณ” ตามที่นักบุญเปาโลได้พรรณนาไว้ว่า “ของประทานมีอยู่ต่างๆกัน แต่มีพระจิตองค์เดียว.......โดยทางพระจิตนั้นพระเป็นเจ้าโปรดให้คนหนึ่งมีถ้อยคำที่ประกอบด้วยสติปัญญา อีกคนหนึ่งมีถ้อยคำที่ประกอบด้วยความรู้.......อีกคนหนึ่งมีความเชื่อ.......อีกคนหนึ่งมีความสามารถรักษาคนป่วยได้.......อีกคนหนึ่งสำแดงอิทธิฤทธิ์ต่างๆ....อีกคนหนึ่งเผยพระวจนะ อีกคนหนึ่งรู้จักสังเกตวิญญาณต่างๆ อีกคนหนึ่งพูดภาษาแปลกๆ อีกคนหนึ่งแปลภาษาแปลกๆ นั้นได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้พระจิตองค์เดียวกันทรงบันดาลและประทานแก่แต่ละคนตามที่ทรงพอพระทัย” (1 คร. 12,11)
สังคายนาวาติกันที่ 2 ได้กล่าวยืนยันเพิ่มเติมว่า “พระจิตมิเพียงบันดาลวามศักดิ์ นำประชากรของพระเจ้า และกระทำให้ปะชากรนั้นมั่งคั่งด้วยคุณธรรม โดยอาศัยศีลศักดิ์และศาสนบรการของพระศาสนจักเท่านั้น พระองค์ยัง “ประทานพระคุณแก่แต่ละคนตามที่พระองค์พอพระทัย” (1 คร. 12,11) นั่นคือพระองค์ทรงแจกจ่ายพระคุณพิเศษแก่ศัตบุรุษทุกวรรณะ โดยอาศัยพระคุณเหล่านี้พระองค์ทรงทำให้เขาเหมาะสมและพร้อมที่จะประกอบภารกิจหรือหน้าที่อันจะก่อประโยชน์ในการฟื้นฟูและเสริมสร้างพระศาสนจักรตามคำของนักบุญเปาโลที่ว่า “พระจิตทรงสำแดงพระองค์ (ประทานคุณ) แก่ทุกคนเพื่อประโยชน์ร่วมกัน” (1 คร. 12,7) พระคุณเหล่านี้ ไม่ว่าจะปรากฏแจ้งและโงดังหนักหนาสักปานใด หรือจะเป็นเพียงพระคุณธรรมดาๆ ที่ใครๆหลายคนมีก็ตาม จำเป็นจะต้องน้อมรับด้วยความขอบพระคุณและด้วยความพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมและเป็นประโยชชน์ตามความต้องการของพระศาสนจักร” (พระธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักร ข้อที่ 12) พระคุณเหล่านี้พระเป็นเจ้าประทานให้แต่ละคนตามฐานะหน้าที่รับผิดชอบแตกต่างกันไป

       5. แม้ว่า “พระหรรษทาน” และ “พระคุณ เป็นของประทานมาจากพระเป็นเจ้าเพราะควารักของพระองค์ล้วนๆ แต่พระเป็นเจ้าก์มิประทานให้โดยปราศจากความร่วมมือของเรามนุษย์ นั่นก็คือเรามนุษย์ต้องพยายามกระทำในสิ่งที่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ เช่น ปฏิบัติซื่อสัตย์สุจริต ประพฤติตนตามทำนองคลองธรรม ฯลฯ หรือขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางมิให้พระหรรษทานและพระคุณหลั่งไหลมาสู่เราได้ อันได้แก่กิเลส ตัญหา บาป และความผูกพันในบาป ดังนี้เราจะมีส่วนในพระหรรษทานและพระคุณนั้นอย่างจริงจัง และสามารถกล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า พระหรรษทานและพระคุณนั้นเป็นของเราด้วย

 

ขั้นที่ 4  ปฏิบัติ

  • ข้อควรจำ
    1. พระเป็นเจ้าประทานพระหรรษทานให้เพราะความรักล้วนๆ ไม่มีมนุษยคนใดมีสิทธิที่จะเรียกร้องแต่ประการใด
    2. “ปราศจากเราท่านทำอะไรไม่ได้เลย” (ยน. 15,5) ปราศจากพระหรรษทานของพระเป็ฯเจ้าเราจะเอาตัวรอดไม่ได้เลย
    3. “พระหรรษทานของเรามีเพียงพอสำหรับท่าน” (2 คร. 12,9)
    4. เพื่อรับพระหรรษทานเราต้องร่วมมือกับพระเป็นเจ้าโดยกระทำสิ่งที่ดี ขจัดสิ่งที่ดี ขจัดสิ่งที่ไม่ดีที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง
  • กิจกรรม ร้องเพลง “พระสัญญา”
    1. ทุกวันใหม่มีพระสัญญา     ทุกเวลามีความหวัง
    ทุกยามเช้ามีแสงสว่าง   ตลอดการเดินทางมีความช่วยเหลือเกื้อกูล
    2. มีพระพรสำหรับปัญหาทุกอย่าง   มีพละกำลังต่างๆไม่สิ้นสูญ
    มีพระหรรษทานในยามอาดูร     มีพระคุณจำรูญในยามทดลอง
    3. แม้ในท่ามกลางความลำบากสับสน    หนทางมืดมนที่ดับอับแสง
    มีความเมตตาที่พระสำแดง    ความรักร้อนแรงพระองค์ประทาน
    4. มีความรักมากมายเหลือล้น     ดังสายชลกว้างใหญ่ไพศาล
    เมื่อเราวางใจในพระภูบาล    มอบวิญญาณในหัตถ์พระองค์

     การบ้าน วาดหัวใจที่อยู่ในฐานะพระหรรษทาน มีพระบิดา พระบุตร พระจิตประทับอยู่ เขียนใต้ภาพว่า “หัวใจของฉัน”