บทที่ 7 รหัสธรรมปาสกา

จุดมุ่งหมาย     เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของรหัสธรรมปัสกา  และสมัครใจเข้าร่วมรหัสธรรมนี้

ขั้นที่ 1  กิจกรรม

ครูพาผู้เรียนเข้าวัด  อธิบายรูป  14  ภาค  แต่ละภาค  (จะฉวยโอกาสเดินรูป  14  ภาคเลยก็ได้)

            หรือ  ถ้าเป็นไปได้  จัดฉายวีดีโอภาคมหาทรมานของพระเยซูคริสต์

            หรือ  จัดให้มีการอ่านพระทรมานของพระเยซูคริสต์จากพระวรสารนักบุญลูกา  23,1 – 53  โดยผู้แทนของผู้เรียนเป็นผู้อ่าน       แบ่งออกเป็น  3  ฝ่ายเหมือนในสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ดังนี้

ผู้บรรยาย  1  คน

ผู้แทนพระเยซูคริสต์  1  คน

ผู้แทนคนอื่นๆ  และประชาชน  เป็นกลุ่ม  3  คน

ขั้นที่ 2  วิเคราะห์

ครูถามผู้เรียนว่า

  • รู้สึกอย่างไรเมื่อได้เห็นหรือได้ฟังพระทรมานของพระเยซูคริสต์
  • รู้สึกประทับใจตอนไนมากที่สุด
  • ทำไมพระเยซูคริสต์จึงยอมรับทรมานเช่นนี้ ?

สรุป     พระเยซูคริสต์ตรัสว่า  “บุตรมนุษย์จะต้องทนทุกข์ทรมานหลายประการ  พวกผู้ใหญ่  มหาปุโลหิต  และธรรมาจารย์จะไม่ยอมรับพระองค์  ในที่สุดพระองค์จะถูกตัดสินประหารชีวิต  แต่วันที่สามพระองค์จะกลับเป็นขึ้นมา”  (มก. 8,31)  นี่คือรหัสธรรมปัสกาที่พระองค์จะต้องผ่าน

ขั้นที่ 3  คำสอน

  1. รหัสธรรมปัสกาคือการไถ่กู้มนุษย์ให้พ้นบาปโดยอาศัยการทรมาน การสิ้นพระชนม์  และการกลับคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ตามพระสัญญาที่พระเป็นเจ้าได้ทรงให้ไว้เมื่อครั้งบิดามารดาเดิมได้ทำบาป ที่เรียกว่ารหัสธรรมก็เพราะว่าการไถ่กู้มนุษย์โดยให้พระบุตรซึ่งเป็นพระเจ้าลงมาเกิดเป็นมนุษย์มีนามว่าพระเยซูคริสต์  พระเยซูคริสต์จึงทรงมีทั้งธรรมชาติพระเจ้าและธรรมชาติมนุษย์  โดยนัยนี้การที่พรระองค์จะทรงรับทรมาน  สิ้นพระชนม์  และกลับคืนพระชนม์นั้นจะเป็นไปได้อย่างไร  เรามนุษย์ไม่สามารถเข้าใจได้  เป็นสิ่งที่ลึกลับเกินสติปัญญามนุษย์  รหัสธรรมก็คือคำสั่งสอนที่สูงส่งลึกลับเกินสติปัญญาจะหยั่งถึงนั่นเอง  ต้องอาศัยความเชื่อเท่านั้นจึงจะน้อมรับคำสอนนี้ได้  คือความเชื่อว่าพระเป็นเจ้าทรงเผยให้ทราบคำสอนนี้  และพระองค์ไม่รู้จักหลงและไม่รู้จักหลอกลวง

  2. การไถ่กู้มนุษย์แบบพลีพระชนนี้เป็นการยืนยันคำสอนของพระองค์เองว่า “ไม่มีความรักใดจะยิ่งใหญ่กว่าการพลีชีพชีวิตเพื่อมิตรสหาย”  (ยน. 15,13)  เริ่มตั้งแต่ความรักของพระเป็นเจ้าพระบิดาที่ทรงยอมสละพระบุตรสุดที่รักองค์เดียวของพระองค์ให้  พระองค์ไม่ทรงมีสิ่งใดใหญ่กว่านี้ที่จะสละให้อีกแล้ว  และพระบุตรก็  “ได้ทรงสละสภาพพระเจ้ามารับสภาพทาส  คือบังเกิดเป็นมนุษย์  และเท่านั้นยังไม่พอ  ยังทรงถ่อมองค์ลงนอบน้อมเชื่อฟังจนถึงตาย  และตายบนไม้กางเขนด้วย”  (เทียบ ฟบ. 2,6 – 8)  นี่คือบทพิสูจน์ถึงความรักที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์ต่อเรามนุษย์

  3. รหัสธรรมปัสกาได้กลายมาเป็นวิถีชีวิตของเราคริสตชนไปด้วย เพราะคริสตชนก็คือผู้ที่ดำเนินตามรอยพระเยซูคริส์ต์ ฉะนั้นเราจึงต้องผ่านการทรมาน  ความตาย  เพื่อจะได้บรรลุถึงการกลับฟื้นคืนชีพเหมือนพระเยซูคริสต์  ซึ่งเราเรียกว่าความรอด  ทั้งนี้ก็สมจริงตามคำกล่าวที่ว่า  “เดินทางเตียนเวียนลงนรก  เดินทางรกวกขึ้นสวรรค์”  ถ้าใครอยากไปสวรรค์ก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะเดินทางนี้ที่พระเยซูคริสต์ได้ทรงกรุยทางไว้ให้เราแล้ว  และพระองค์ก็ทรงสัญญาจะเป็นเพื่อนร่วมทางของเราตลอดไป  “เราจะอยู่กับท่านจนสิ้นภิพ” (มธ. 28,20)

  4. เรายังมีหน้าทที่ที่จะต้องประกาศรหัสธรรมปัสกานี้แก่เพื่อนมนุษย์เพื่อชี้ทางความรอดแก่พวกเขาด้วย  นักบุญเปาโล กล่าวว่า  “ข้าพเจ้ามิได้มาประกาศยืนยันเรื่องพระเจ้าแก่พวกท่านด้วยถ้อยคำอันไพเราะหรือด้วยสติปัญญาที่ลึกซึ้ง  เพราะข้าพเจ้าตั้งใจจะไม่แสดงความรู้ใดๆ เว้นแต่ความรู้เรื่องพระเยซูคริสต์  และพระเยซูคริสต์ผู้ถูกตรึงกางเขน”  (1  คร. 2,1 – 2)  ท่านจึงนึกเรื่องนี้เป็นศูนย์กลางของการเทศนาของท่าน  “พระเยซูเจ้าทรงช่วยคนให้รอดโดยอาศัยคำเทศน์เรื่องโง่ๆ พวกยิวร้องขอนิมิต  พวกกรีกร้องขอปัญญา  แต่เราเทศน์เรื่องพระเยซูคริสต์ผู้ถูกตรึงกางเขน  ซึ่งพวกยิวถือเป็นเรื่องอัปยศ  และคต่างชาติถือเป็นเรื่องโง่เขลาเบาปัญญา..........แต่ความโง่เขลาของพระเจ้ายังมีปัญญามากยิ่งกว่าปัญญาของมนุษย์  และความอ่อนแอของพระเจ้ายังเข้มแข็งกว่ากำลังของมนุษย์”  (1  คร. 1,21 – 15)  ชาวโลกคงจะหัวเราะเยาะเราเช่นกันที่มาเทศน์เรื่องจิตตรมณ์ของโลกเฃ่นนี้  แทนทที่จะมาเทศน์เรื่องการแสวงหาความสุขความสงบต่างๆ  แต่เราก็เห็นว่าการเทศน์เช่นนี้ของพวกอัครสาวกก็ดี  ของนักบุญเปาโลก็ดี  หรือของพระศาสนจักรก็ดีกลับปลุกเร้าจิตใจของผู้คนและมีคนเลื่อมใสยึดถือปฏิบัติกันเป็นทิวแถวที่เราเรียกว่าคริสตชนอยู่ในขณะนี้  ทั้งนี้ก็เพราะว่าคำเทศน์ก็เพราะว่าคำเทศนานี้มีผลปรากฎออกมาจริงเป็นเครืองพิสูจน์  คือชีวิตของพระเยซูคริสต์และบรรดานักบุญ

ขั้นที่ 4  ปฏิบัติ

  • ข้อควรจำ
  1. พระสัญญาที่จะส่งพระผู้ไถ่มาไถ่กู้มนุษย์เริ่มปรากฏเป็นจริงเป็นจังเมื่อพระเยซูคริสต์บังเกิดมาและสำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในรหัสธรรมปัสกา
  2. รหัสธรรมปัสกาคือการไถ่กู้มนุษย์ให้พ้นบาปโดยอาศัยการทรมาน  การสิ้นพระชนม์  และการกลับคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์
  3. “ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่ได้ทนทุกข์เพื่อท่าน  ดังที่ข้าพเจ้าทนทุกข์อยู่ในขณะนี้  เพื่อกระทำให้ผลของการไถ่กู้ของพระเยซูคริสต์สมบูรณ์ไปในตัวข้าพเจ้า  และในพระกายของพระองค์  คือ  พระศาสนจักร”  (คส. 1,24)
  4. เราทุกคนต้องผ่านการทรมาน  ความตาย  เพื่อจะได้บรรลุถึงการกลับฟื้นคืนชีพเหมือนพระเยซูคริสต์

  • กิจกรรม จัดพิธีกรรมนมัสการไม้กางเขน   นำไม้กางเขนมาตั้งเป็นประธาน

เพลงเริ่มพิธี  “โกละโกธา”

  1. ข้าได้เข้าไปถึงที่โกละโกธา ด้วยข้าแบกบาปผิดแทบวิญญาณพัง

        ที่นั้นข้าสำนึกว่าโลกนี้หมดหวัง          จนได้พบทางแห่งโกละโกธา

  1. ที่โลกโกละโกธาได้ยินเสียงอ้อนวอน พระบิดาพระพักตร์เปี่ยมความเมตตา

        ที่นั้นเป็นที่พ้นภัยของคนชั่วช้า         ข้ากล้าเข้าไปด้วยน้ำตานองหน้า

  1. ที่นั้นข้าได้พบความรักอย่างซาบซึ้ง ทรงถูกตรึงทรมมานววรกาย

        รอยบาดแผลเป็นที่ชำระลูกให้หาย          ทุกข์มลายบาปผิดก็หลุดสิ้นไป

  1. พระองค์ทรงทุกข์ทรมานก็เพื่อข้า ข้าจึงสรร  (ระ)  เสริญพระองค์เป็นนิจ

บทอ่าน  “กท. 6,14 – 16”

โอวาทสั้นๆ

ภาวนาของมวลชน

กราบไม้กางเขนทีละคน

เพลงปิดพิธี  “กางเขนชัย”

รับ กางเขนชัยจะครองราชัย           ช่วยเหลือเรามั่นนิรันดร์ไป

  1. โปรดทอแสงทองฉายส่องมาให้ชาวโลกาซาบซ่านใจ

กางเขนคือธารรักหลั่งไหล          เคียงไปกับธารเสรีธรรม

  1. โปรดเถิดประทานความกล้าหาญ แก่ผู้พิการและยากไร้

กางเขนคือความหวังแห่งใจ          นำเราเข้าใกล้องค์ทรงธรรม

  1. เชิญชวนมวลพี่น้องถ้วนหน้า    พึ่งพาเข้าใกล้องค์ทรงธรรม

กางเขนคือความรอดปลอดภัย       นำไปเมืองแมนพระบิดา