ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCESE

การจัดบุคลากรประจำค่าย

      ค่ายฯจะดำเนินไปตามจุดประสงค์ได้ โดยความร่วมมือของบุคลากรที่เหมาะสม การคัดเลือกผู้ร่วมงานจึงเป็นหน้าที่ของผู้จัดค่ายที่จะต้องกระทำอย่างรอบคอบ

ผู้บริหารค่าย

  1. 1.ทีมผู้ประสานงาน
  2. 2.ผู้อำนวยการค่ายฯ
  3. 3.จิตตาธิการ
  4. 4.หัวหน้าโครงการ
  5. 5.เลขานุการ
  6. 6.แม่บ้าน
  1. ทีมผู้ประสานงาน
  • ควรประกอบด้วยหัวหน้าของแต่ละฝ่าย หรือสมาชิกที่เคยผ่านการเข้าค่ายมาแล้วประมาณ 6 คนขึ้นไป
  • ทีมผู้ประสานนี้มีหน้าที่
    1) ประชุมวางแผนการจัดค่ายฯ
    2) ดำเนินการอบรมด้วยความอุทิศตน
    3) ประเมินผลเมื่อค่ายฯสิ้นสุดแล้วและวางแผนเพื่อการติดตามสมาชิกที่ผ่านการเข้าค่าย
  • ทีมผู้ประสานงานนี้จะต้องมีหลักการทำงานที่อยู่ในแนวเดียวกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และประสานงานกันอย่างดี นอกจากนั้นทีมงานจะต้องช่วยกันกระตุ้น ให้กำลังใจและร่วมมือกับเพื่อนๆสมาชิกที่ต้องรับผิดชอบในหน้าที่ต่างๆด้วย
  • ในระหว่างการเข้าค่ายฯ ทีมผู้ประสานงานนี้จะต้องพบกันเพื่อการภาวนาเป็นประจำทุกวัน (ประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนนอน) และระหว่างอาหารมื้อค่ำให้ทำการประเมินกิจกรรมต่างๆที่ผ่านมาในวันนี้และวางแผนสำหรับวันต่อไป

ส่วนการประชุมอื่น ๆ นั้นสามารถที่จะกระทำได้ตามความจำเป็น โดยใช้เวลาที่ผู้เข้ารับการอบรมกำลังประชุมกลุ่มย่อย

  1. ผู้อำนวยการค่ายฯ (Camp Director) 

         ผู้อำนวยการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในการจัดค่ายฯเพื่อให้ค่ายฯ ดำเนินการไปอย่างราบรื่น บรรลุตามจุดประสงค์ที่วางไว้  ผู้อำนวยการจะต้องเป็นหัวใจของทีมงานและสมาชิกที่มาเข้าค่ายฯ

  1. จิตตาธิการ
  • เป็นผู้นำทางจิตใจให้กับทีมงานและสมาชิกในการอบรม
  • เป็นผู้ที่ให้ความสนใจกับกิจกรรมเสริมสร้างศรัทธา และสนับสนุนให้กิจกรรมนั้นๆดำเนินไปด้วยดี
  • พร้อมที่จะช่วยเหลือทุกๆคนที่มีความต้องการ
  • เป็นผู้ให้กำลังใจและจัดการภาวนาให้ทีมงาน ในการประชุมทุกครั้งหรือในการประเมินผล
  • ภาวนาเพื่อทุกคนและร่วมภาวนากับทุกคน
  1. หัวหน้าโครงการ (Program Leader)

       เป็นผู้รับผิดชอบในภาคปฏิบัติการร่วมกับของผู้อำนวยการค่ายฯ

  1. เลขานุการ

         เป็นผู้จัดเตรียมการประชุมและรายงานการประชุมและส่งให้กับบรรดาสมาชิก (รายงานนี้ควรเป็นการสรุปย่อผลการประชุมและเรื่องที่สำคัญตามลำดับ ระบุถึงเอกสารหรืออุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ เพื่อให้สมาชิกได้รับข้อมูลที่พอเพียงสำหรับการทำงานต่อไป) โดยมีทีมงานเป็นกองเลขาช่วยเหลือในงานต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น

  • เข้าร่วมการประชุม เตรียมการจัดการอบรม
  • เตรียมป้ายชื่อและแฟ้มสำหรับผู้เข้ารับการอบรม
  • จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับผู้เข้ารับการอบรม (ตามกำหนดการ)
  • รับรายงานการประชุมและผลการประชุมกลุ่มมาจัดพิมพ์ แล้วส่งให้เลขานุการใหญ่ต่อไป
  • จัดเตรียมสิ่งพิมพ์และเนื้อหาสำหรับการประชุม
  • สิ่งพิมพ์ต่างๆควรมี 2 สำเนา เพื่อไว้แจกและเก็บไว้เป็นหลักฐาน
  • ช่วยจัดเตรียมสิ่งของที่ต้องจำหน่ายกับสมาชิก
  • ตีพิมพ์คำประกาศของผู้อำนวยการหรือของผู้ประสานงานบริการต่างๆ
  1. แม่บ้าน (Logistical Leader)

      เป็นผู้อำนวยความสะดวกในทุกสิ่งทุกอย่าง(ในเรื่องของการกินอยู่หลับนอน) ทั้งการเงิน อาหาร ความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตของชาวค่ายทั้งหมด

  • อาหาร
  • การเดินทาง
  • อาคารสถานที่

จัดเตรียมสถานที่ให้เหมาะสมกับงานดังต่อไปนี้

  • วัดสำหรับการภาวนาและพิธีกรรมต่างๆ เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับพิธีนั้น ๆ เตรียมอาภรณ์สำหรับประกอบพิธี ฯลฯ
  • ห้องประชุม บอร์ด เครื่องเจาะกระดาษ กระดาษแบบต่าง ๆ ฯลฯ ให้จัดกล่องรับความคิดเห็น ห้องพยาบาลและเครื่องปฐมพยาบาล กระดิ่งเล็กๆ
  • สถานที่สำหรับแสดงนิทรรศการ หิ้ง บอร์ด และอุปกรณ์ตบแต่งต่างๆที่เหมาะสม
  • สถานที่พักผ่อนพร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก
  • สถานที่ทำงานของกองเลขา ที่สะดวกปลอดภัย ควรมีผู้ทำงานเต็มเวลาที่พร้อมจะต้องทำงานนอกเวลาเพื่อให้งานได้เสร็จสำหรับใช้ในวันต่อไป
  • เตรียมอุปกรณ์สำหรับนันทนาการ เช่น หนังสือเพลง เครื่องดนตรี เครื่องเสียง วีดีโอ ภาพยนตร์ เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ เกมต่างๆ
  • เตรียมสถานที่และเครื่องกีฬา

7.หัวหน้าฝ่ายต่างๆ

เลขานุการและกองเลขา ฝ่ายทะเบียน ธุรการ และการเงิน

ขอบข่ายงาน

  1. หน้าที่ลงทะเบียน รายชื่อ เก็บเงินฝากของเด็ก จัดกลุ่มให้เด็ก
  2. พิมพ์ และถ่ายเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในค่าย เช่น ใบลงทะเบียน ตารางเวลา รายชื่อที่อยู่ของผู้มาร่วมในค่าย ใบประเมินผล และจัดทำหนังสือประเมินผลเป็นเล่มเอกสาร บทเรียน ข้อสอบ
  3. รับผิดชอบเรื่องการเงิน
  4. ทำหน้าเลขานุการ บันทึกการอบรม ประชุมประเมินผล
  5. จัดเตรียมเอกสารเพื่อการติดต่อเจ้าอาวาสวัดและผู้ปกครอง
  6. ประสานงานกับโรงครัว และอื่น ๆ
  7. จัดซื้อข้าวของ เครื่องใช้ อาหาร

ฝ่ายบริการ

ขอบข่ายงาน

  1. ควบคุมกำกับดูแลความเรียบร้อยของสถานที่ต่างๆ ห้องประชุม
  2. ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์การเรียนการสอบและเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องโสต ทัศนูปกรณ์
  3. วางแผนการจัดที่นั่งในการรับประทานอาหาร ในวัด
  4. บริการอาหารและการทำความสะอาด (ล้างจานชาม)
  5. ทำความสะอาดทั่ว ๆ ไป (ห้องอุปกรณ์การเรียนการสอน)
  6. บริการขายของเครื่องใช้
  7. เป็นผู้สนับสนุน ให้กำลังใจบุคคลและกลุ่มที่ต้องรับผิดชอบในหน้าที่ต่างๆด้วยความใจดีและสร้างสรรค์
  8. ดูแลให้กิจกรรมทุกอย่างดำเนินไปตามกำหนดการ และเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
  9. ให้ขอบคุณทีมบริการทุกๆวัน
  10. เป็นผู้ที่เข้ารับหน้าที่แทนเพื่อนๆที่ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ หรือหาทางแก้ไขที่เหมาะสม
  11. ดูแลเรื่องของสุขภาพ เตรียมเครื่องปฐมพยาบาล
  12. เลือกผู้รักษาเวลาประจำวัน
  13. การจัดเตรียมห้องประชุม จัดห้องประชุมและสถานที่สำหรับการประชุมกลุ่มย่อย
  14. แจกอุปกรณ์ต่างๆระหว่างการอบรม

ฝ่ายประชาสัมพันธ์

ขอบข่ายงาน

  1. จัดทำข่าวประจำวัน หรือ “หนังสือพิมพ์กำแพง”
  2. ทำหน้าที่เป็นผู้ประกาศ แจ้งข่าว กำหนดการต่าง ๆ ให้สมาชิกทราบ
  3. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. แข่งขันการตอบปัญหา ชิงรางวัล
  5. จัดเตรียมโปสเตอร์ หรือข้อคิดที่ได้จากดำเนินชีวิตและการร่วมงานกันในค่ายฯ
  6. ข่าวสารที่น่าสนใจในค่ายฯ

ฝ่ายประเมินผล

ขอบข่ายงาน

  1. จัดการประชุมประเมินผลทีมงาน ร่วมกับหัวหน้าโครงการ
  2. ประเมินผลทางด้านเนื้อหาของแต่ละฝ่าย
  3. ประเมินผลทางด้านวิธีการที่นำเสนอ
  4. ประเมินผลทางด้านพิธีกรรม
  5. ประเมินผลทางด้านชีวิตความเป็นอยู่-ความสัมพันธ์
  6. การบันทึกภาพ เหตุการณ์ประจำค่าย

ฝ่ายนันทนาการและกีฬา

ขอบข่ายงาน

  1. พิจารณาวางแผนสร้างบรรยากาศการอบรมให้ตื่นตัวอยู่เสมอ
  2. ร่วมรับผิดชอบกิจกรรมมนุษย์สัมพันธ์และนันทนาการ
  3. จัดหาวีดีโอ
  4. แสวงหาวิธีการสร้างความรักความสามัคคีในระหว่างชาวค่ายฯ
  5. จัดกิจกรรมมนุษย์สัมพันธ์ในวันที่กำหนด
  6. จัดเตรียมงาน Family night เพื่อการแสดงความรักฉันท์พี่น้อง

เตรียมกิจกรรมอุปกรณ์ด้านกีฬา เกมในร่ม ฯลฯ

ฝ่ายพิธีกรรม

ขอบข่ายงาน

  1. จัดเตรียมพิธีบูชามิสซาประจำวัน
    • เตรียมเชิญคุณพ่อที่จะมาเป็นประธานในพิธี
    • จัดเตรียมสถานที่
    • เตรียมบทอ่าน บทพิธีกรพร้อมกับผู้อ่าน
    • ระบุจุดประสงค์ของมิสซาในแต่ละวัน
    • จัดเตรียมเด็กช่วยจารีต
    • ฯลฯ
  2. กิจศรัทธา – การภาวนา
    • เป็นผู้จัดเตรียมและเป็นผู้นำในการภาวนาเช้าและเย็น      
    • นำภาวนาก่อนและหลังอาหาร
    • นำภาวนาก่อนเริ่มกิจกรรมเนื้อหาในตอนเช้า และในตอนสุดท้ายของกิจกรรมเนื้อหาในแต่ละวัน
    • จัดเตรียมและนำการทำ วจนพิธีกรรมศีลแห่งการคืนดี วจนพิธีกรรมสรรเสริญแม่พระ  ฯลฯ
    • จัดหาชีทที่ใช้ประกอบในพิธีมิสซาและวจนพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น มรรคาศักดิ์สิทธิ์ อวยพร ศีลมหาสนิท แก้บาป
    • จัดเตรียมการสวดสายประคำ
    • จัดเตรียมการเฝ้าศีลมหาสนิท กิจศรัทธาต่าง ๆ
    • จัดเตรียมการเดินรูป 14 ภาค

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์