ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCCESE

บทที่  29 ศีลสมรส

จุดมุ่งหมาย     เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายและความสำคัญของชีวิตสมรส เกิดความเคารพและให้ความร่วมมือในการส่งเสริมชีวิตครอบครัว

ขั้นที่ 1  กิจกรรม       ครูนำภาพสมรสมาแสดงให้ผู้เรียนดู (จากรูปถ่าย หรือ หนังสืพิมพ์)
ถามว่า
- คู่สมรสฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมีชื่อเรียกว่าอะไร ? (เจ้าบ่าว เจ้าสาว)
- พิธีสมรสตามประเพณีนิยมมีอะไรบ้าง ? (การมั่น ขันหมาก สินสอด รดน้ำ กินเลี้ยง)
- พิธีสมรสทางศาสนามีอะไรบ้าง ? (มิสซา แสดงความสมัครใจ สวมแหวน)

ขั้นที่ 2  วิเคราะห์

ครูถามผู้เรียน
- เป้าหมายของการสมรสคืออะไร ? (ความบริบูรณ์ในความรักของชาย – หญิง/การให้กำเนินเลี้ยงดู อบรมบุตร)
- เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวการสมรสต้องเป็นอย่างไร ? (รักเดียวใจเดียว/อยู่ครองกันจนวันตาย/ไม่มีการหย่าร้าง)

สรุป    ธรรมชาติสร้างสรรค์มาให้ชายและหญิงทำการสมรสกันเพราะความรัก และผลของคนรักก็คือบุตรที่เกิดมา เราจึงมักเรียกบุตรว่าเป็นโซ่ทองคล้องใจพ่อและแม่

ขั้นที่ 3  คำสอน

          1. พระเยซูคริสต์ทรงยกฐานะการสมรสของคริสตชนขึ้นสู่ระดับเหนือธรรมชาติ กล่าวคือ ให้คู่สมรสมีศักดิ์ศรีเป็นผู้ร่วมงานกับพระเป็นเจ้าในความรักซึ่งเป็นธรรมชาติของพระองค์เอง และเป็นผู้ให้กำเนินชีวิตซึ่งพระเป็นเจ้าแต่พระองค์เดียวเท่านั้นทรงให้ได้ เพราะพระองค์ทรงเป็นเจ้าชีวิต พระเยซูคริสต์ทรงยกฐานะการสมรสของคริสตชนขึ้นสู่ระดับเหนือธรรมชาติดังกล่าวโดยอาศัย “ศีลสมรส”

          2. ศีลสมรส คือศีลศักดิ์สิทธิ์ที่พระเยซูคริสต์ทรงตั้งขึ้น เพื่อประทานพระหรรษทานแก่ชายและหญิงที่ตกลงปลงใจที่จะมาร่วมชีวิตกันโดยมีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรัก ความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างกันและกัน และเพื่อให้กำเนินบุตร เลี้ยงดูบุตรทั้งฝ่ายกายและวิญญาณ
             ดังนั้นตามปกติ ผู้ที่เป็นคริสตชนจะทำการสมรสกับคริสตชนด้วยกันอย่างถูกต้อง ก็ต้องผ่านศีลสมรสเท่านั้น จะทำเพียงเป็นพิธีฝ่ายบ้านเมือง หรือตามประเพณีนิยมเท่านั้นหาได้ไม่ พระศาสนจักรยังปรารถนาใหเคริสตชนทำการสมรสกับคริสตชนด้วยกัน เพราะจะเป็นผลดีมากกว่าสำหรับความเชื่อของตนเอง และสำหรับการเลี้ยงดูบุตรตามความเชื่อของคริสตชนได้ดีกว่าด้วย

              หากคริสตชนจะทำการสมรสกับคนต่างศาสนาก็ต้องได้รับอนุญาตจากพระสังฆราชเสียก่อน และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วก็ต้องทำพิธีต่อหน้าพระสงฆ์คาทอลิกด้วย แม้ว่าจะไม่เป็นศีลสมรสก็ตาม
            
หัวใจของศีลสมรสอยู่ที่ความสมัครใจโดยเสรีของทั้งสองฝ่าย ซึ่งแสดงออกด้วยเครื่องหมายภายนอกที่สัมผัสได้ และเมื่อได้กระทำอย่างถูกต้องทำพิธีต่อหน้าพระสงฆ์คาทอลิกด้วย แม้ว่าจะไม่เป็นศีลสมรสก็ตาม

          3. หัวใจของศีลสมรสอยู่ที่ความสมัครใจโดยเสรีของทั้งสองฝ่าย ซึ่งแสดงออกด้วยเครื่องหมายภายนอกที่สัมผัสได้ และเมื่อได้กระทำอย่างถูกต้องแล้วก็ก่อให้เกิดพันธะดังต่อไปนี้ คือ
             ก. พันธะของศีลสมรส ที่เกิดขึ้นระหว่างคริสตชนด้วยกัน พันธะของศีลสมรสนี้ผูกมัดคู่สมรสใน 2 ลักษณะ คือ
                  1) ความเป็นเอกภาพ หมายความว่า เป็นการสมรสระหว่างชายหนึ่งกับหญิงหนึ่งที่มาร่วมชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกัน “เขาทั้งสองจะเป็นเนื้อเดียวกัน” (มก. 10,8)
                  2) ความไม่อาจแยกจากกันได้ หมายความว่า คู่สมรสทั้งสองจะต้องร่วมชีวิตกันไปตลอดชีวิต ไม่อาจหย่าร้างกันได้ “สิ่งที่พระเป็นเจ้าทรงผูกมัดกันไว้ มนุษย์อย่าได้ไปแยกจากกัน” (มก.10,9)
             ข. พันธะตามธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในการสมรสระหว่างคริสตชนกันคนต่างศาสนา หรือระหว่างคนต่างศาสนาด้วยกัน ซึ่งก็ผูกมัดคู่สมรสเช่นเดียวกับพันธะทางศีลสมรส ยกเว้นกรณีพิเศษที่พระศาสนจักรอนุญาตให้คู่สมรสที่เป็นต่างศาสนาด้วยกันหย่าร้างกันได้เพราะเห็นแก่ความเชื่อ ซึ่งเป็นสิ่งประเสริฐเหนือธรรมชาติ

            4. เกี่ยวกับการให้กำเนินบุตร ซึ่งเป็นจุดประสงค์สำคัญประการหนึ่งของการสมรส พระศาสนจักรแนะนำและส่งเสริมให้คู่สมรสให้กำเนินบุตรตามความสามารถ โดยการวางแผนครอบครัวตามธรรมชาติ และห้ามการกระทำใดๆที่ผิดธรรมชาติ ผิดศีลธรรม เป็นภัยคุกคามต่อชีวิต เช่น การคุมกำเนินทางวิทยาศาสตร์ การทำแท้ง เป็นต้น

                 การอบรมเลี้ยงดูบุตรก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน และเป็นหน้าที่ที่บิดามารดาหลีกเลี่ยงมิได้ เพราะชีวิตของบุตรย่อมสำคัญกว่าทรัพย์สินเงินทองใดๆและบุตรก็มีความต้องการบิดามารดามากกว่าสิ่งอื่น หรือสิ่งอำนวยความสุขใด ๆ

             5. ศีลสมรสเป็นศีลที่เกี่ยวกับหน้าที่ทางสังคม คือ ครอบครัวคู่กับศีลบรรพชาซึ่งเกี่ยวกับหน้าที่ทางสังคม คือ ศาสนาส่วนใหญ่ผู้คนจะเลือกการสมรสเป็นวิถีชีวิตของตน จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมที่จะเข้ารับฐานะหน้าที่นี้เหมือนผู้ที่รับศีลบรรพชาก็ต้องเตรียมตัว โดยผ่านการอบรมในบ้านเณรเป็นเวลานาน การเตรียมตัวที่สำคัญก็คือ
                ก. สร้างฐานะ โดยการศึกษา และการงานอาชีพที่เป็นปึกแผ่น มั่นคง
                ข. สร้างคุณธรรม โดยยึดมั่นในศาสนา ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของศาสนา โดยเฉพาะในเรื่องความรัก ความซื่อสัตย์ และความขยันหมั่นเพียร

 ขั้นที่ 4  ปฏิบัติ

  • ข้อควรจำ
    1. ศีลสมรสคือศีลศักดิ์สิทธิ์ที่พระเยซูคริสต์ทรงตั้งขึ้น เพื่อประทานพระหรรษทานแก่ชายและหญิง ที่ตกลงปลงใจมาร่วมชีวิตเป็นสามีภรรยากัน
    2. ศีลสมรสผูกมัดคู่สมรสให้เป็นหนึ่งเดียวกันด้วยความรักที่ไม่อาจแบ่งแยกและหย่าร้างได้
    3. พระเป็นเจ้า รงยกย่อองชายและหญิงในศีลสมรสให้มาร่วมงานกับพระองค์ในความรักและการให้กำเนินชีวิต
    4. ควรเตรียมตัวรับศีลสมรสอย่างดี โดยสร้างฐานะ และสร้างคุณธรรม
  • กิจกรรม เกม “พ่อ แม่ ลูก”
    วิธีเล่น ครูบอก “พ่อ” ผู้เรียนต้อง “ยืน”
    ครูบอก “แม่” ผู้เรียนต้อง “นั่ง”
    ครูบอก “ลูก” ผู้เรียนต้อง “คุกเข่า”
    ใครทำผิด หรือ ช้า คัดออก ที่เหลือคือผู้ชนะ

    การบ้าน ประดิษฐ์อักษรคำขวัญต่อไปนี้ “รักบ้านให้ล้อมรั้ว รักครอบครัวให้ล้อมรัก” ติดไว้ที่บ้าน

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์