ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCCESE

artcate_04.jpgศิลปะการสอนคำสอน
บทที่ 4 การนำเสนอและการอธิบาย
1.การนำเสนอ
 ก.เรื่องเล่า รูปแบบการสอนด้วยเรื่องเล่านี้ พระเยซูคริสต์เองเป็นผู้วางแบบฉบับ
ให้กับเรา พระองค์จัดรูปแบบคำสอนของพระองค์ด้วยรูปแบบของเรื่องเล่า



พระวรสารเกือบทั้งหมดบรรจุคำสอนให้อยู่ในลักษณะของเรื่องเล่าและต่อมาข้อความเชื่อต่างๆ ก็ได้รับการ
ศึกษาวิเคราะห์ทบทวนจากเรื่องเล่าต่างๆ ในพระคัมภีร์ เช่น คำสอนเรื่องพระตรีเอกานุภาพ การเป็นพระเจ้าของพระคริสต์ การประทับอยู่ของพระเจ้า สิทธิอำนาจของนักบุญเปโตรฯ ยิ่งไปกว่านั้น พระคัมภีร์ยังบรรจุเรื่องราวที่น่าทึ่งในเชิงนี้แนะแนวทางปฏิบัติ ในทุกๆ แง่มุมของชีวิตคริสตชนทั้งทางด้านข้อคำสอนและหลักศีลธรรม เรื่องเล่าเราอาจจะนำมาจากประวัติของท่านนักบุญต่างๆ หรือจากประสบการณ์ของเราเอง การเล่าเรื่องให้ได้ดีนั้นเราต้องเล่าด้วยจินตนาการตัวเองว่าเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์นั้นๆ หรือยู่ในเหตุการณ์นั้นเองเลยทีเดียว จงเล่าเรื่องโดย
 -ด้วยดวงตาและหัวใจ
 -บรรยายสภาพแวดล้อมของเรื่องนี้ด้วย
 -แสดงออกถึงความรู้สึกภายใน
 -ใช้ข้ออ้างอิงให้เกิดประโยชน์

 ข.รูปภาพ รูปภาพมิใช่เป็นเพียงนำมาประกอบเรื่องที่เราเล่าเท่านั้น แต่เรื่องทั้งหมดอาจมาจากภาพเพียงภาพเดียว โดยการที่เราถามเด็กว่า เกิดอะไรขึ้นบ้างจากสภาพที่เราเห็นนี้ภาพต่างๆ เราสามารถหาได้จากแหล่งต่างๆ ทั่วไป

 ค.ภาพวาดและแผนภูมิต่างๆ ก็ช่วยให้เราเพิ่มเติมนำเสนอได้อย่างดีเช่นกัน

2.การอธิบาย
 ก.ในการอธิบายนั้น ต้องชวนให้เด็กๆ ติดตามเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ และกลั่นกรองเอา
ประโยชน์จากเรื่องนั้น ภายใต้การชี้แนะของครู ต้องให้เด็กได้รู้ถึงความหมายและข้อคำสอน
ของเรื่องนั้นๆ เมื่อพระเยซูเจ้าได้ทรงเล่านิทานเปรียบเทียบศิษย์ต่างๆ ประหลาดใจว่าพระองค์
ต้องการหมายถึงอะไรแล้วนั้นพระเยซูเจ้าจึงทรงอธิบายแก่พวกเขา

 การอธิบายมีข้อสังเกตดังต่อไปนี้
 1.ซื่อๆ ง่ายๆ แม้ว่าเด็กวัยรุ่นเรียกร้องการอธิบายอย่างมีเหตุผลต่อเรื่องข้อคำสอนแต่เหตุผลนั้นต้องประยุกต์ให้เข้ากับความสามารถที่จะรับได้ของพวกเขา การเข้าใจเรื่องศัพท์แสลงขีดจำกัดของประสบการณ์

 2.รูปธรรม คำพูดที่ใช้อธิบายต้องให้ภาพที่มีชีวิตชีวาอย่างเช่นที่พระเยซูเจ้ากระทำแทนที่เราจะพูดสอนว่า “จงมีความใจดี” พระองค์ตรัสว่า “ถ้ามีใครขอร้องท่านให้ไปกับเขาหนึ่งไมล์ จงไปกับเขาสองไมล์เถิด”

 3.ซ้ำบ่อยๆ เราต้องซ้ำในจุดสำคัญบ่อยๆ ดูพระเยซูเจ้าทรงพูดซ้ำไม่รู้เท่าไรถึงเรื่องคำภาวนา การเป็นหนึ่งเดียวในพระองค์ จากคำพูดปราศรัยของพระองค์ หลังจากรับประทานอาหารค่ำครั้งสุดท้าย
 
 ข.ตั้งคำถามเป็นวิธีการที่แจ้งชัดที่จะกระตุ้นความคิด
คำถามต้อง 
  ก. สั้น
  ข. มีความหมายชัด
  ค. ไม่เป็นคำเดียวกับที่มีอยู่ในหนังสือคำสอน
  ง. ถามทุกคนในชั้นไม่ใช่ถามเด็กเพียงคนเดียว
  จ. ถามกระจายไปทั่วๆ อย่าละเลยเด็กบางกลุ่ม
      บางคนให้คำถามยากหรือง่ายแล้วแต่ภูมิปัญญาของเด็ก
  ฉ. คำถามที่เด็กถามนั้นเราต้องเอาใจใส่ให้มากที่สุด
  ค.การย่อบนกระดานดำ เป็นวิธีการหนึ่งที่ให้ประโยชน์
     สำหรับเด็กในช่วงการอธิบาย

3. ข้อควรพิจารณาสำหรับสองประการ
 3.1 แม้ว่าเราจะต้องประยุกต์ความจริงให้กับเด็กตามความสามารถของเขาแต่เราต้องเอาใจใส่ไม่ละเลยสิ่งที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

 ก.เราต้องโน้มน้าวจิตใจเด็ก ให้เกิดความเข้าใจว่า พระเจ้าเป็นบิดาที่น่ารัก ไม่ใช่เพียงเป็นคุณปู่แก่ๆ ที่น่ารัก ที่ต้องการความรักความเอาใจใส่ การเอาอกเอาใจ แต่พระเจ้าเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ทรงอำนาจ

 ข.เช่นเดียวกัน อาจจะเกิดการเน้นแต่เพียงด้านความรัก ความอ่อนหวานของพระเยซู โดยมี่ได้พูดถึงพระเยซูในแง่ของการเป็นกษัตริย์ เป็นนักปกครอง ผู้ซึ้งต้องการการจงรักภักดี ผู้ซึ่งทำลายล้างศัตรูของพระองค์

 ค.ในการสอนเกี่ยวกับพระญาณสอดส่องของพระ อาจจะเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ถ้าเราให้เด็กเชื่อว่าพระเป็นเจ้าอยู่ข้างนอกตัวเรา เพื่อช่วยทำสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้นสำหรับเรา

 ง.พระศาสนจักรไม่หลงผิดในการให้ข้อความจริงและชีวิต แต่คนของพระศาสนจัก ผู้ซึ่งพระคริสตืทรงเลือกมานั้นอาจจะทำผิดพลาดได้

 3.2 จุดมุ่งหมายของการสอนศาสนานั้น ไม่ใช่แค่ความรู้ แต่เป็นความเชื่อ

 ก.เราต้องพึงระมัดระวังว่า เด็กๆ จะเห็นข้อคำสอนของคาทอลิกว่า ข้อคำสอนที่ส่งมายังพวกเขาโดยพระเจ้าเอง ดังนั้น ครูต้องสำนึกอยู่เสมอว่า ตนเองเป็นผู้ถ่ายทอดข่าวสารจากพระเจ้า  นั่นคือ “ข่าวสารแห่งความรอด” พระเจ้าทรงตรัสกับพวกเขาว่า พระองค์ปรารถนาจะไถ่กู้พวกเขา การสอนของเราต้องตั้งจุดประสงค์ไปที่กิจการแห่งความเชื่อ ความเชื่อหมายถึงการเปิดใจของตนสู่การช่วยเหลือจากพระหรรษทานของพระเจ้า คำตอบสำหรับข่าวสารของพระต้องเป็นดังนี้ “ขอให้เป็นแก่ข้าพเจ้าตามวาทะของท่าน”

 ข.ภายใต้โครงสร้างที่มีเหตุผลของกิจการแห่งความเชื่อ เด็กต้องได้รับความเข้าใจว่า พระเจ้าตรัสกับพวกเขาทางพระศาสนจักร ซึ่งเราไม่ได้เชื่อแบบตาบอด แต่เพราะว่าเรารู้ว่าคำสอนของพระศาสนจักรก็คือ พระวาจาของพระเจ้า บทพิสูจน์อย่างเป็นทางการสำหรับการเป็นอยู่ของพระเจ้านั้น ก็คือสถาบันพระศาสนจักร มันอาจจะเข้าใจยากสำหรับเด็กๆ ในวันเล็ก ๆ ลำบากที่จะอธิบายให้เด็กๆ เชื่อในวัยนี้ แต่มันจะเกิดประโยชน์ที่ชี้ออกมาให้เห็นว่า พระเจ้าปรากฏองค์ในหลายๆ หนทาง การชี้ให้เห็นถึงความสวยงดงามและความมั่นคงของพระศาสนจักร ความเป็นเอกภาพและความเป็นสากล กิจการดีงามต่างๆ ที่พระศาสนจักรกระทำ และผล
งานของบรรดานักบุญต่างๆ ด้วย

 วิธีการที่ดีที่สุดที่จะบำรุงความเชื่อให้เข้มแข็ง คือ การปฏิบัติ

เนื้อหาและบทเรียน

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์