ศูนย์คริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลราชบุรี
CATECHETICAL CENTER OF RATCHABURI DIOCESE

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 "บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง"

 เราจะเล่าเรื่องให้ดีได้อย่างไร ?
เราจะเล่าเรื่องให้ดีได้อย่างไร ?

ก.   หลักการเล่าเรื่องทั่ว ๆ ไป
     1. จงเล่าให้เป็นรูปธรรม
          เรื่องที่ไม่เป็นรูปธรรมเป็นเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ เพราะมันไม่มีคุณสมบัติของเรื่องเล่า ดังนั้น เราจงหลีกเลี่ยงการเล่าแบบสรุป และการเล่าแบบนามธรรมหรือลอย ๆ ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องในอีกประเภทหนึ่ง ดังนั้น เราจึงมีกฎสำหรับการเล่าเรื่องที่ดีดังนี้ คือ การเล่าให้เป็นรูปธรรม และถ้าเราต้องการให้การเล่าเรื่องของเรามีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น เราอาจจะสร้างฉากขึ้นมาประกอบการเล่าเรื่อง หรือให้มีเด็กมาร่วมแสดงเป็นตัวประกอบแทนบุคคลที่อยู่ในเรื่องที่เรา  หรือการใช้อุปกรณ์เข้าช่วย ก็จะช่วยให้เรื่องเล่าของเราน่าสนใจมากยิ่งขึ้น การให้มีอะไรเคลื่อนไหวผ่านสายตาของเด็ก ๆ จะช่วยดึงดูดความสนใจของเด็ก ๆ ได้

         ถ้าเราเล่าเรื่องได้อย่างดี เด็กจะให้ความสนใจบทเรียนของเราตั่งแต่เริ่มแรก เราควรพยายามจูงใจเขาด้วยเรื่องเล่าต่าง ๆ เราต้องให้เด็ก ๆ ของเราได้ใช้จินตนาการติดตามการเล่าของเราไปให้ตลอด และจะเป็นการดีที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้เด็ก ๆ ได้จินตนาการเข้าไปในเรื่องที่เราเล่านั้น โดยสมมติตนเองเป็นคนใดคนหนึ่งในเรื่องที่เราเล่านั้น

      2. ดึงขึ้นไปสู่เรื่องของจิตใจ
             อย่าลืมว่าเรื่องเล่าเป็นเพียงแค่สื่อหรืออุปกรณ์ที่ทำให้เด็กได้คิดถึงเรื่องที่สูง เรื่องที่ลึกไปกว่านั้น เราไม่ได้เล่าเรื่องให้เด็กฟังเพื่อเป็นการฆ่าเวลา หรือเพื่อความเพลิดเพลินเท่านั้น เมื่อเรานำเสนอเรื่องเล่า หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ในการสอนคำสอน เราจะต้องนำความคิดของพวกเด็ก ๆ ให้สูงขึ้นไปกว่าความหมายจากเรื่องธรรมดานั้น เราต้องจูงความคิดของเด็กให้ขึ้นไปสู่ความหมายที่สูงกว่า นั้นคือสู่เรื่องของพระเจ้า สิ่งนี้ต้องการบรรยากาศที่ต้องเอาจริงเอาจัง ต้องใช้ความตั้งใจและต้องใช้สมาธิที่ดี โดยให้เด็กเกิดความรู้สึกที่อยากจะแสดงถึงความรู้สึกภายในที่ได้จากเรื่องนั้น ๆ ซึ่งอาจจะแสดงออกโดยการขอบพระคุณพระเจ้าถ้าเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่ดี หรือขอโทษต่อพระเจ้าถ้าเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากความหลงผิดของมนุษย์ ฯลฯ ซึ่งก็คือ การสวดภาวนาติดต่อกับพระเจ้านั้นเอง

ข. เทคนิคการเล่าเรื่อง
    
1. เล่าจากรายละเอียดไปสู่ความหมายที่ลึกกว่า
         จุดมุ่งหมายในการเล่าเรื่องของเราคือการเชิญชวนเด็ก ๆ ให้เข้าไปอยู่ในเรื่องราวต่าง ๆ ที่เราเล่าด้วย ดังนั้นเราจะต้องเล่าเรื่องโดยพยายามให้ทุกอย่างอยู่ใกล้ตัวเด็ก ให้พวกเขานึกภาพออก อย่าเล่าโดยต้องมีคำอธิบายเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือองค์ประกอบต่าง ๆ ของเรื่อง ต้องเล่าอย่างมีชีวิตชีวา และให้บรรยากาศของเรื่องเป็นบรรยากาศที่เด็ก ๆ คุ้นเคย หรือเข้าใจได้ไม่ยาก

         ถ้าเราต้องการเล่านิทานเปรียบเทียบเรื่อง เงินเหรียญที่หายไป หรือไข่มุกราคาแพง เราจะไม่ต้องเปรียบเทียบพระอาณาจักรของพระเจ้ากับเพชรหรือเงิน หรือต้องการให้เด็กเข้าใจเรื่องไข่มุกหรือเหรียญ แต่เราต้องการที่จะพูดให้เด็ก ๆ เห็นทัศนคติ ความรู้สึกและการกระทำของชายคนนั้นที่ยอมขายทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อที่จะมาซื้อสิ่งที่มีคุณค่ามากในสายตาของเขา หรือหญิงคนนั้นที่กวาดบ้านเพื่อค้นหาเหรียญเงินที่ขาดไปและมื่อพบแล้วก็มีความยินดี

         สำหรับเรื่องอัศจรรย์ เราก็ต้องทำอย่างเดียวกัน ถ้าเราต้องการให้เด็ก ๆ ของเราได้เห็นคุณค่าทางศาสนาหรือคำสอนจากเรื่องของพายุที่ทะเลสาป เราคงไม่เสียเวลาไปกับการอธิบายเรื่องของพายุเอง แต่เราจะนำเด็ก ๆ ให้พิจารณาถึงทัศนคติของเราแต่ละคนที่ต้องตกอยู่ในพายุ

         ดังนั้น เราควรดำเนินการดังนี้ จากวัตถุสิ่งของไปสู่กิจการต่าง ๆ และจากกิจการต่าง ๆ ไปสู่ความตั้งใจ ความนึกคิดและความรู้สึก ถ้าเราเลือกรายละเอียดภายนอกอย่างดี เราก็สามารถที่จะดึงให้เด็ก ๆ ได้เห็นโลกภายในคือโลกแห่งจิตใจได้ดี

         การเล่าเช่นนี้จะนำเด็ก ๆ ได้ค้นพบกับความคิด ความตั้งใจหรือน้ำพระทัย และความปรารถนาของพระเยซูเอง ด้วยวิธีการนี้รหัสธรรมของพระเยซูเจ้าจะค่อย ๆ เปิดเผยออกมาสู่จิตใจของเด็ก ๆ และจะก่อให้เกิดความศรัทธา และเห็นคุณค่าของชีวิตแห่งการเป็นศิษย์ของพระเยซูคริสต์ และเข้าร่วมในแผนการไถ่บาปของพระองค์

      2. อันตรายสองประการที่ควรระมัดระวัง
          2.1   การเล่าเรื่องที่ให้ความสนใจแต่เรื่องภายนอก ไม่ได้นำเด็ก ๆ ให้คิดถึงความหมายที่อยู่ภายใน ซึ่งการเล่าแบนี้ไม่ใช่การเล่าเพื่อการสอนคำสอน ถ้าเราเล่าเรื่องแค่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์เท่านั้น เราก็จะปิดกั้นความคิดของเด็ก ๆ เราอย่าลืมว่าในกิจการหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นมีพระเจ้าอยู่ และพระเจ้าต้องการสอนเราโดยผ่านทางเหตุการณ์เหล่านั้น เช่น การเรียกอับราฮัม เด็กธรรมดา ๆ ก็ยังเข้าใจได้ว่าพระเจ้ามิได้เรียกแค่อับราฮัมเท่านั้น แต่พระเจ้ายังคงเรียกพวกเราทุกคนอยู่จนถึงทุกวันนี้ และตัวเขาเองจะต้องรู้สึกว่าพระเจ้าทรงเรียกตัวเขาเองโดยเฉพาะด้วย

                 การชี้ให้เห็นหลักศีลธรรมที่อยู่ในเรื่องนั้น ๆ ยังไม่เพียงพอสำหรับการสอนคำสอน เราจะต้องจบการเล่าเรื่องของอับราฮัมด้วยบทเรียนในเรื่องของการนบนอบต่อคุณพ่อคุณแม่ โดยที่เราจะต้องค้นหาความหมายที่แท้จริงของเรื่องนี้ให้ได้เสียก่อน แล้วเชื่อมโยงเข้าหาสถานะการณ์จริงของเด็ก ๆ จากตัวอย่างของอับราฮัม พระเจ้าทรงเรียก มนุษย์ได้ตอบรับด้วยความเชื่อ นี้เป็นความหมายที่แท้จริงประการหนึ่งที่เราจับได้เพื่อการสอนคำสอนให้แก่เด็ก เราอาจจะเปลี่ยนการนบนอบนี้ ให้เป็นบทเรียนสำหรับเด็กๆให้พวกเขามีความเชื่อมั่นในพระวาจาของพระเจ้าก็ได้

          2.2   การพยายามเปรียบเทียบที่ไม่ตรงกับเจตนาของเรื่องเล่า เป็นการสรุปที่ไม่ตรงประเด็นหรือสรุปเกินความเป็นจริง หรือเป็นการลากเข้าเรื่องแบบข้าง ๆ คู ๆ ยิ่งเป็นเรื่องที่มาจากพระวรสารแล้ว เราจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะจะก่อให้เกิดความสับสนและการเข้าใจผิดได้ ตัวอย่างเช่น เรื่องการถวายพระกุมารในพระวิหาร เราต้องการที่จะให้เด็ก ๆ ได้พิจารณาถึงความเชื่อของซีเมโอน เราอาจจะพูดว่า “ซีเมโอนเมื่อเห็นพระกุมารก็รู้ว่าพระองค์ทรงเป็นพระผู้ไถ่” และพูดต่อไปว่า “เราเองด้วย เราจะต้องมองดูพระเยซูคริสต์ว่าเป็นพระผู้ไถ่ ในตัวของเด็ก ๆ ทุกคน เป็นต้นในคนที่ยากจนที่สุด”

           ครูคำสอนที่ดีไม่ใช่เป็นคนทีเล่าเรื่องได้เก่งหรือเล่าได้สนุก ไม่ใช่คนที่มีเรื่องเล่าอยู่ในหัวมากมาย ครูคำสอนที่ดีคือคนที่รู้จักเริ่มการเล่าเรื่องหรือเหตุการณ์ที่อยู่ใกล้ตัวอย่างเห็นจริงเห็นจังเพื่อนำเด็ก ๆ ไปสู่ความจริงในเรื่องของจิตใจ ช่วยเขาให้เข้าไปสู่โลกแห่งความเชื่อ มีชีวิตในความเชื่อที่แท้จริงต่อพระเจ้า

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

กิจกรรมสะสมแสตมป์
กิจกรรมสะสมแสตมป์ "ลูเช่และผองเพื่อน ชวนไปวัด" 2025 {gallery}photo/2025/stamp-book-2025{/gallery}
ชุมนุมและฟื้นฟูจิตใจคริสตชนใหม่ สังฆมณฑลราชบุรี ครั้งที่ 3
👟"การจาริกแห่งความหวัง"ชุมนุมและฟื้นฟูจิตใจคริสตชนใหม่ สังฆมณฑลราชบุรี ครั้งที่ 3❤️วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2024 ศูนย์คริสตศาสนธรรม ราชบุรี...
พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์และปิดการอบรมค่ายคำสอนภาคฤดูร้อน ปี 2025
วันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2025 เวลา 09.30 น. พระคุณเจ้าซิสวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี...

Youcat-คำสอนเยาวชน

Youcat 91 ทำไมเราจึงต้องส่งต่อความเชื่อ ?
📍ทำไมเราจึงต้องส่งต่อความเชื่อ ?#YOUCAT 91 บอกเราว่า...📕เราส่งต่อความเชื่อเพราะพระเยซูเจ้าตรัสสั่งเราไว้ “จงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา”(มธ...
Youcat 137 ทำไมจึงเรียกพระศาสนจักรว่าสืบต่อจากอัครสาวก ?
ทำไมจึงเรียกพระศาสนจักรว่าสืบต่อจากอัครสาวก ? #YOUCAT 137 บอกเราว่า....
Youcat 218 วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร ?
วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร ? #YOUCAT 218 บอกเราว่า...

พระวาจานำชีวิต

หนังสือแห่งชีวิต
คงเป็นการดีที่ชื่อของเราถูกจารึกในหนังสือแห่งชีวิต ถูกจารึกไว้ในสวรรค์ ให้พระวาจาพระเจ้าชี้ทางเดินเพื่อนำไปสู่ชีวิตนิรันดร พระยาห์เวห์ตรัสกับโมเสสว่า "คนที่ทำบาปต่อเราต่างหากที่เราจะลบชื่อของเขาออกจากหนังสือของเรา"...
ใจร้อนรน
ขอพระวาจาพระเจ้าช่วยเราให้มีใจร้อนรนในการดำเนินชีวิตคริสตชน ขอท่านนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล เป็นแบบอย่างและเสนอวิงวอนเพื่อเรา พระยาห์เวห์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า “ก่อนที่เราปั้นท่านในครรภ์มารดา...
จงทำดังนี้เพื่อระลึกถึงเรา
พระวาจาพระเจ้าให้แนวทางแก่เรา บอกเราถึงสิ่งที่เราจะต้องทำ เพื่อให้ทุกขณะของชีวิตเราเป็นการระลึกถึงองค์พระผู้เป็นเจ้า วันนี้จะเป็นวันที่ท่านทั้งหลายต้องจดจำไว้ ท่านต้องถือเป็นวันฉลองถวายพระเกียรติแด่พระยาห์เวห์...

คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน ค.ศ.2020

DC228 ชีวิตคู่และชีวิตครอบครัวดำเนินชีวิตตามแผนการของพระเจ้าถือเป็นพระวรสารในตัวเอง
ชีวิตคู่และชีวิตครอบครัวดำเนินชีวิตตามแผนการของพระเจ้าถือเป็นพระวรสารในตัวเอง ซึ่งสามารถอ่านความรักที่พระเจ้าให้เปล่าและอดทนต่อมนุษยชาติโดยอาศัยคุณธรรมของศีลสมรสคู่สมรสคริสตชนมีส่วนร่วมในธรรมล้ำลึกของเอกภาพและความรักที่เกิดผลระหว่างพระคริสตเจ้าและพระศาสนจักรการสอนคำสอนในครอบครัวจึงมีหน้าที่ทำให้สิ่งนี้ปรากฏต่อผู้ที่มีส่วนร่วมในชีวิตครอบครัว เหนือสิ่งอื่นใดต่อคู่สมรสและบิดามารดา ของขวัญที่พระเจ้าประทานให้พวกเขาผ่านทางศีลสมรส *บทที่...
DC227 ครอบครัวคือการประกาศความเชื่อในสถานที่ตามธรรมชาติ
ครอบครัวคือการประกาศความเชื่อในสถานที่ตามธรรมชาติที่ความเชื่อสามารถดำรงอยู่ได้ในลักษณะเรียบง่ายและเป็นธรรมชาติครอบครัว “มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งคือการถ่ายทอดพระวรสารได้รับการพัฒนาขึ้นในสิ่งแวดล้อมอันประกอบด้วยคุณค่าที่ลึกซึ้งของมนุษย์ บนพื้นฐานความเป็นมนุษย์นี้เองที่ทำให้การเริ่มเข้าสู่ชีวิตคริสตชนอันประกอบด้วยเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นคือ...
DC226 อนาคตของบุคคลของชุมชนมนุษย์ และของชุมชนพระศาสนจักรขึ้นอยู่กับครอบครัวซึ่งเป็นเซลล์พื้นฐานของสังคมเป็นส่วนใหญ่
ครอบครัวเป็นชุมชนแห่งความรักและชีวิตซึ่งประกอบด้วย “ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ซับซ้อน... ชีวิตแต่งงาน ความเป็นพ่อและแม่ ความเป็นบุตรและความเป็นพี่น้องกันที่มนุษย์แต่ละคนได้รับการนำให้เข้าสู่...

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025

ปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2025 "บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง"

เนื้อหาและบทเรียน

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก(CCC)

สารคำสอน 182 (ปีการศึกษา2023)

สารคำสอน 182 (ปีการศึกษา2023)

เรียนคำสอนกับพ่อวัชศิลป์

Download พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับเด็กและเยาวชน

Download พิธีโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์

สถิติการเยี่ยมชม

0.png6.png8.png5.png2.png9.png2.png
วันนี้1448
เมื่อวานนี้3001
สัปดาห์นี้7311
เดือนนี้26151
ทั้งหมด685292

ขณะนี้มีผู้เยี่ยมชม

11
Online

วันพุธ, 09 กรกฎาคม 2568 14:58